หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปรัชญาไทยสุภาษิต – คำพังเพย



ปรัชญาไทยสุภาษิต คำพังเพย

๑๔.  ปรัชญาไทยสุภาษิต - คำพังเพย
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.  ๒๕๒๕  หน้า  ๘๒๘  สุภาษิต  หมายถึง  คำพูดที่เป็นคติ  เป็นคำกล่าวที่ชวนฟัง  มีลักษณะเป็นคติสอนใจคนให้ประพฤติในสิ่งที่ดีงาม  และเป็นความจริงอยู่ตลอดกาลเป็นคำกล่าวสั้น  ๆ  กะทัดรัดคมคาย  คล้องจองสัมผัส  ไพเราะจับใจ  กินความกว้างและลึกซึ้งกินใจ  สุภาษิตไทยมีรากฐานมาจากศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนา  เช่น  ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  กงกรรมกงเกวียน  เป็นต้น
ส่วนคำพังเพย  พจนานุกรมเล่มเดียวกันหน้า  ๕๘๘  กล่าวว่า  เป็นคำกลาง  ๆ  ที่กล่าวไว้ดีแล้ว  ความเข้ากับเรื่อง  คือเป็นคำที่กล่าวขึ้นมาลอย  ๆ  มีลักษณะเป็นกลาง  ๆ  เพื่อให้ผู้ฟังตีความให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน  หลวงวิจิตร  วาทการชี้แจงไว้ว่า  คำพังเพยมีลักษณะเกือบจะเป็นสุภาษิตเป็นคำ  หรือข้อความที่แสดงความคิดเห็นอยู่ในตัว  หรือมีลักษณะติชม  เช่น  ทำนาบนหลังคน  เป็นต้น  คำพังเพยไม่เป็นสุภาษิต  เพราะไม่มีลักษณะเป็นคำสอนใจเหมือนสุภาษิต  จึงเห็นได้ว่า  จุดมุ่งหมายของสุภาษิต  กับคำพังเพยนั้นต่างกันตรงที่ว่า  สุภาษิตเน้นการสอนให้คนทำดี  แต่คำพังเพยเน้นการแสดงความจริงแห่งชีวิต  คำพังเพยของไทยมีกำเนิดมาจากประสบการณ์ของคนโบราณ  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไทยโดยแท้
สุภาษิตและคำพังเพยได้มีการรวบรวมขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพันเอกพระสารสาสน์พลขันธ์  (เยรินี)  ชาวเยอรมัน  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๗๗  ท่านได้ให้ข้อสังเกตว่า  สุภาษิตของไทยแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยใจคอ
สุภาษิตสมัยต่าง ๆ  ของไทย
ที่มาของภาษิต
๑.  ได้มาจากคำกล่าวธรรมดา  ๆ  เช่น  โตเพราะกินข้าว  เฒ่าเพราะเกิดนาน  ปูนอย่างให้ขาดเต้า  ข้าวอย่างให้ขาดโอ่ง  ด่วนนักมักสะดุด
๒.  ได้มาจากคำอุปมาอุปไมย  เช่น  ขี้ใหม่หมาหอม  จะคล้ายกับภาษิตอังกฤษว่า  A  new  broom  sweeps  clean  นอกจากนั้นยังมี  หมาเห่า  ใบตองแห้ง  แมวนอนหวด  ตีวัวกระทบคาด  รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี  เป่าปี่ให้ควายฟัง
๓.  ได้มาจากนิทาน  เช่น  กระต่ายตื่นตูม  (นิทานอีสป)  เถรตรง  จากนิทานพื้นบ้านภาคกลาง  องุ่นเปรี้ยว  (นิทานจากปรับตัวในวิชาจิตวิทยา)  หมาในรางหญ้า  (นิทานอีสป)  ฤาษีแปลงสาร  (นิทานเรื่องพระรถและนางเมรี)
๔.  ได้มาจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เช่น  ตื่นก่อนไก่  ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น  ไก่แก่แม่ปลาช่อน  น้ำนิ่งไหลลึก  วัวแก่กินหญ้าอ่อน  แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ  ฯลฯ
๕.  ได้มาจากประสบการณ์ในชีวิต  เช่น  ใกล้เกลือกินด่าง  ตีวัวกระทบคราด  วัวหายล้อมคอก  ก้นหม้อไม่ทันดำ  เข้าตาจน  คมในฝัก  ยกตนข่มท่าน  มือไม่พ่ายเอาตีนราน้ำ  ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  คนตายขายคนเป็น  ตกกระไดพลอยโจร  ดับไฟแต่ต้นลม  น้ำเชี่ยวอย่างขวางเรือ  ขว้างงูไม่พ้นคอ  ฯลฯ
๖.  ได้มาจากกระละเล่นต่าง ๆ  เช่น  ไม่ดูตาม้าตาเรือ  กันไม่ปล่อย  (ปลากัน)  สู้จนยิบตา  (สู้จนเย็บตา  มาจากชนไก่  ไก่จิกตากันจนหนังตาตก  ตาบวมต้องดึงตาขึ้นไปเย็บ  แล้วให้ชนกันต่อไป)
๗.  นำภาษิตเก่ามาแปลงใหม่  ลักษณะนี้เป็นลักษณะที่เป็นธรรมชาติของคนที่ชอบเปลี่ยนแปลง  บางครั้งต้องการให้เกิดความขำขันในอารมณ์  บางครั้งต้องการล้อเลียนและทดลองไหวพริบกับจึงมีคำกล่าวที่แปลก  ประหลาด  ๆ  ให้สนุก  ๆ  กัน  เช่น  ตกถังข้าวสารพูดเสียใหม่ว่า  แก้ผ้าเข้าบ้าน  หมายถึงว่า  เจอเนื้อคู่  หรือคู่สมรสที่ร่ำรวย  ไม่ต้องการมีอะไรติดตามตัวก็ได้  ไปแต่ตัวพอแล้ว,  สี่ตีนย่อมพลาด  นักปราชญ์ย่อมพลั้ง  เปลี่ยนใหม่ว่า  สี่ตีนย่อมช้าง  หมายถึงว่า  มั่นคงดี  มีสี่ตีนแล้วตัวยังใหญ่อีก  แต่ก็พลาดได้
ลักษณะของสุภาษิต
มีความคล้องจองและสัมผัสกัน  คำง่าย  สั้น  กะทัดรัด  ความสั้นแต่กระชับจิตใจตัวอย่าง  เช่น
ภาษิตทางภาคเหนือ
กำกึ๊ดบ่ดี                            ขายสะลีนอนาสาด
      กำกื๊ดสลาด                        ขายสาดนอนสะสี
      หมายความว่า
      ความคิดไม่ดี                       ขายสำลีนอนเสือ
      ความคิดฉลาด                     ขายสาดนอนสำลี

ภาษิตทางภาคใต้
      ยิ่งหยุดยิ่งไกล                      ยิ่งไปยิ่งแค่
      หมายความว่า
ในการเดินทางถ้าเดิน  ๆ  หยุด  ๆ  หนทางก็ยังไกล  แต่ถ้ารีบเดินเท่าไร  ก็จะใกล้  (แค่ คือ ใกล้ )  เท่านั้น
ภาษิตภาคกลาง
รักดีห้ามจั่ว                    รักชั่วห้ามเสา
ดูวัวให้ดูหาง                    ดูนางให้ดูแม่
ลักษณะและรูแบบของคำกล่าวมีความเหมือนและคล้าย  ๆ  กันไม่เพียงแต่ขอชาวชาติภาษาเดียวกัน  ต่างชาติต่างภาษาก็มีความเหมือนและคล้ายกัน  เช่น  ภาษิตของอังกฤษ  และของคนไทย  ต่อไปนี้
อังกฤษ                Two  heads  are  better  than  one
ไทย          คนเดียวหัวหาย  สองคนเพื่อนตาย
อังกฤษ                When  in rome  do  as  the  Romeans  do
ไทย          เข้าเมืองตาหลิ่ง  ต้องหลิ่งตาตาม
อังกฤษ                Out  of  sight,  out  of  mind
ไทย          สามวันจากนารีเป็นอื่น
ชนิดของภาษิต
คำกล่าวที่เป็นคำสอนให้แง่คิด  ชี้แนะแนวทางนั้น  ถ้าแบ่งตามลักษณะรูปแบบ  ของคำกล่าวแล้ว  ได้ดังนี้
๑.  สุภาษิตแท้  True  Proverb  มักจะกล่าวเป็นประโยค  จบในตัวสั้น ๆ  ไม่เปลี่ยนรูปจะคล้ายกันในแต่ละภาค  ตัวอย่าง
      รักดีหามจั่ว                        รักชั่วหามเสา
      ดูวัวให้ดูหาง                       ดูนางให้ดูแม่
รักวัวให้ผูก                         รักลูกให้ตี
      ๒.  คำกล่าวชาวบ้าน  Folk  Saying  หรือบางทีใช้ศัพท์ว่า  Proverbial  phrase  เป็นคำกล่าวที่เป็นคติคล้ายคำพังเพย  เช่น
      ตกกระไดพลอยโจน
ไม่ดูตาม้าตาเรือ
จุดไต้ตำตอ
      น้ำร้อนปลาเป็น  น้ำเย็นปลาตาย
๓.  อุปมาอุปไมย  Proverbial  Comparison  คำอุปมาอุปไมย  จะพบในวรรณคดี  เช่น 
      ดำเหมือนตอตะโก
      ขาวเหมือนสำลี
      ขาวเหมือนหิมะ  (ผรั่ง)
      ขาวเหมือนน้ำนม  (แขกอินเดีย)
      โง่เหมือนควาย
      เร็วเหมือนฟ้าแลบ  (ฝรั่ง)
๔.  คำอ้าง  Wellerism  ลักษณะของคำอ้างมักแสดงอาการประเภทเร่งรีบ  เช่น
      ช้า  ๆ  ได้พร้าสองเล่มงาม  ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง
      ขวานผ่าซาก
      ตกกะไดพลอยโจน
      พูดอะไรกลับตาละปัตรเสีย
      โยนหัวโยนก้อย
      หามรุ่งหามค่ำ
การจัดประเภทของภาษิต
      เมื่อเก็บข้อมูลมาได้แล้ว  มักนิยมจัดกันดังนี้
จัดตามลำดับพยัญชนะ
จัดตามประเภท
ในการปฏิบัติจริงอาจจะใช้อย่างหนึ่งอย่างใดไม่เหมาะสมดังนี้  ควรจะนำทั้ง  ๒  ประเภท  มารวมกัน  เช่น  แยกประเภทเรื่อง  แมว  เรื่องปลา  (ตามประเภท)  แล้วนำมาแยกตามพยัญชนะอีกครั้งก็ได้หรืออาจจะแบ่งภาษิตตามเนื้อหา  ตามมูลเหตุ  ทั้งนั้นแต่ละข้อมูลที่เก็บมาได้
เจือ  สตะเวทิน  ได้จัดแบ่งสุภาษิตตามเนื้อหาไว้  ๑๕  ประเภท  สรุปเฉพาะการแบ่งหมวด  และตัวอย่างในแต่ละหวด  ดังต่อไปนี้
หมวดที่  ๑  ว่าด้วยครอบครัว  เช่น
               พ่อแม่คือพระพรหมของลูก
               ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น
               เป็นผู้หญิงต้องมีความอาย
               อย่าเห็นขี้ดีกว่าไส้
               ช้างสารงูเห่า  ข้าเก่าเมียรัก
               ชายข้าวเปลือก  หญิงข้าวสาร
หมวดที่  ๒  ว่าด้วยศึกษาอารม  เช่น
               เมื่อน้อยให้เรียนวิชา
               รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี
               ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
               อย่าชิงสุกก่อนห่าม
               ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
               สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ
               ไม้อ่อนดัดง่าย  ไม้แก่ดัดยาก
               เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด
               สำเนียงบอกภาษากิริยาบอกตระกูล
หมวดที่  ๓ ว่าด้วยความรักและการครองเรือน  เช่น
               เลือกคู่สู่สม               คู่แล้วไม่แคล้วกันเลย
               ผัวเป็นช้างเท้าหน้า     เมียเป็นช้างเท้าหลัง
หมวดที่  ๔ ว่าด้วยการทำมาหากิน  เช่น
               เกิดเป็นคนต้องพึ่งตนเอง
               ปัญญาเป็นทรัพย์
               น้ำขึ้นให้รีบตัก
               อย่าเอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
               อย่าจับปลาสองมือ
               อย่าหมายน้ำบ่อหน้า
               จงขายผ้าเอาหน้ารอด
หมวดที่  ๕ ว่าด้วยเศรษฐกิจ  และการครองชีพ  เช่น
               เสียกำเอากอบ
               เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย
               มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
               ไม่เห็นน้ำอย่างพึงตัดกระบอก  ไม่เห็นกระรอกอย่าเพิ่งโก่งหน้าไม้
               นุ่งเจียมห่มเจียง
               อย่าเอาเนื้อหมูไปใส่เนื้อช้าง
หมวดที่  ๖  ว่าด้วยตน  เช่น
               ไก่งามพระขน  คนงามเพราะแต่ง
               อย่าลืมตัว  เหมือนวัวลืมตีน
               หมาขี้ไม่มีใครยกหาง
               อย่าเอาพิมแสนไปแลกกับเกลือ
               อย่าขี้ขลาดตาขาว
               เตี้ยอย่างอุ้มค่อม
หมวดที่  ๗ ว่าด้วย  สังคม  สมาคม  เช่น
               คนเดียวหัวหาย  สองคนเพื่อนตาย
               คนรักเท่าผืนผนัง  คนชังเท่าผืนเสือ
               น้ำขุ่นไว้ใน  น้ำใสไว้นอก
               จงเอาใจเขามาใส่ใจเรา
               ใกล้เกลือกินด่าง
               แพ้เป็นพระ  ชนะเป็นมาร
หมวดที่  ๘ ว่าด้วยวาจา  เช่น 
               พูดดีเป็นศรีแก่ตัว
               พูดชั่วอัปราชัย
               พูดไปสองไพเบี้ย  นิ่งเสียตำลึงทอง
หมวดที่  ๙           ว่าด้วย  เกียรติยศชื่อเสียง  เช่น
               เสียชีพอย่าเสียสัตย์
               ชายเสือต้องไว้ลาย  ชาติชายต้องไว้ชื่อ
หมวดที่ ๑๐ ว่าด้วยการปกครอง  เช่น
               สมภารไม่ดีหลวงชีสกปรก
               อย่ายื่นแก้วให้วานร
               จับให้มั่นคั้นให้ตาย
               น้ำเชี่ยวอย่างขวางเรือ
               อย่าสอนหนังสือสังฆราช
               น้ำร้อนปลาเป็น  น้ำเย็นปลาตาย
หมวดที่  ๑๑         ว่าด้วยศีลธรรม  วัฒนธรรม  เช่น
               สันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
               ความตายเป็นของไม่เที่ยง
หมวดที่ ๑๒ ว่าด้วยบ้านเกิดเมืองนอน  เช่น
               จงรักบ้านเกิดเมืองนอน
               อย่าฉ้อราษฎร์บังหลวง
               อย่าสาวไส้ให้กากิน
หมวดที่  ๑๓         ว่าด้วยกรรม  เช่น
               หวานพืชเช่นใด  ได้รับผลเช่นนั้น
               จงทำดีอย่างทำชั่ว
               ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว
หมวดที่  ๑๔         ว่าด้วยความไม่ประมาท  เช่น
               กันดีกว่าแก้
               อย่าจับงาข้างหาง
               อย่าหักด้ามพร้าด้วยเข่า
               ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
               น้ำนิ่งไหลลึก
หมวดที่  ๑๕         ว่าด้วยสุภาษิตส่วนรวม  เช่น
               หมากัดอย่ากัดตอบหมา
               ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้
               หมาเห่าหมาไม่กัด
               ตาบอดสอดตาเห็น
               จระเข้ขวางคลอง
               แมวไม่อยู่หนูร่าเริง
               เกลือจิ้มเกลือ
               มากหมอมากความ
               วัวแก่ชอบกินหญ้าอ่อน
               ลางเนื้อชอบลางยา
               ตกกระไดพลอยโจน
               ขอหายตะพายบาป
               หนามยอกเอาหนามบ่ง
               วัวหายล้อมคอก
               หวานเป็นลมขมเป็นยา
การแบ่งประเภทของสุภาษิตหรือภาษิต  จำแนกกันหลายลักษณะแล้ว  แต่เหตุผลและการจัดข้าพเจ้าได้ศึกษา  วิชาคติชาวบ้าน  จากอาจารย์  เทือก  กุสุม  ณ  อยุธยา  ท่านได้แยกประเภท  ได้ดังนี้
๑.  เกี่ยวกับข้อห้าม และธรรมเนียม  ต่าง ๆ  เช่น  หญิงสามผัว  ชายสามโบสถ์
๒.  เกี่ยวกับประวัติพงศาวดาร  เช่น  กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี
๓.  เกี่ยวกับรูปร่างและลักษณะ  เช่น  ลาวใหญ่  ไทยเล็ก  ผิกหยิก คิ้วต่อ  คอปล้อง
๔.  เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ  เช่น  ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง  ฝนตกขี้หมูไหล ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
๕.  เกี่ยวกับการทำนายทายทัก  เช่น  คนเดียวหัวหาย  สองคนเพื่อนตาย
๖.  เกี่ยวกับการรักษาตัว  เช่น  สามวันดี  สี่วันไข้

การวางรูปแบบของภาษิตหรือสุภาษิต

การที่รูปร่างสุภาษิตจะออกมางดงามในเชิงถ้อยคำที่ฟังดูแล้วน่าเชื่อเถือได้  ก็เพราะ
สุภาษิตของเรานั้นมีการวางรูปแบบได้สัมผัสกัน เช่น
๑.  การสัมผัสสระ  เช่น
รักยาวให้บั่น                       รักสั้นให้ต่อ
คบคนให้ดูหน้า                    ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
๒.  ประเภทสัมผัสพยัญชนะ  เช่น
ยิ่งจนก็ยิ่งจัน                       ยิ่งสั้นก็ยิ่งลึก
รักสนุก                             ทุกข์ถนัด
๓.  ประเภทข้อความขนานกัน  หรือตรงกันข้ามกัน  เช่น
รักวัวให้ผูก                         รักลูกให้ตี
เขียวด้วยมือ                       ลบด้วยเท้า
๔.  ประเภทเล่นสัมผัสจังหวะ  คล้ายร้อยกรอง  เช่น
น้ำร้อนปลาเป็น                             น้ำเย็นปลาตาย
น้ำมาปลากินมด                  น้ำลดมดกินปลา
๕.  ประเภทบุคลาธิษฐาน  เช่น
แพ้เป็นพระ                        ชนะเป็นมาร
บ้านเมืองไม่มีขื่อไม่มีแป
ปากคนยาวกว่าปากกา
ศรัทธาหัวเต่า

ประโยชน์จากสุภาษิต
สุภาษิต  คือ  คำพูดที่กล่าวแล้วจะดีงาม  ฉะนั้นบางครั้งจึงใช้ว่า  สุภาษิต  ภาษิตให้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต  ดังนี้
-  สุภาษิต  ช่วยอบรมสั่งสอนลูกหลาน  หรือเยาวชนให้เป็นคนดี  จากคำพูด  คำกล่าวที่พูดต่อกันมา  เช่น  ตกน้ำไม่ไหล  ตกไฟไม่ไหม้  ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  ฯลฯ
-  สุภาษิตช่วยให้สติแก่ชีวิต  เช่น  ดับไฟแต่ต้นลม  กบเลือกนาย  น้ำเชี่ยวอย่างขอบเรือ ฯลฯ
-  สุภาษิตให้ความรู้ทางด้านภาษาเพราะภาษาใช้เป็นภาษิต  เป็นคำที่กล่าวอย่างไพเราะ  สละสลวย  ความกระชับ  แต่กินใจความกว้าง  เช่น  แพ้เป็นพระ  ชนะเป็นมาร  อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก  แต่ลมปากหวานหูมิรู้หาย  ฯลฯ
สุภาษิตหรือ  ภาษิต  คือคำกล่าวที่ดีงามเป็นจริงทุกกาลเวลาหรือเป็นอมตวาจา  ใช้ในการอบรมสั่งสอน  ชี้แนะแนวทางแห่งชีวิต  ให้ข้อคิดเตือนใจแก่ผู้ฟังและผู้ที่นำไปใช้ในชีวิต

สุภาษิตพระร่วง  (สุภาษิตภาคกลาง)
เป็นสุภาษิตที่เก่าแก่ที่สุดของชาติไทย  เรียกว่า ปฐมสุภาษิตแห่งชาติ  ใครเป็นคนแต่งนั้น  นักปราชญ์มีความเห็นต่างกันเป็น  ๒  ฝ่าย
๑.  ฝ่ายหนึ่งว่า  พระร่วงคือพ่อขุนรามคำแห่งเป็นผู้ทรงพระราชนิพนธ์  ฝ่ายนี้ให้เหตุผลว่า  พ่อขุนราม ฯ  เคยเสด็จประทับแท่นมนังคศิลา  สอนประชาชนในวันที่มิใช่วันพระ  ฉะนั้น  ท่านอาจสอนด้วยสุภาษิตที่เรียกว่า  สุภาษิตพระร่วง
๒.  อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า  ผู้แต่งสุภาษิตพระร่วง  คือพระเจ้าลิไท  ผู้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ  ไตรภูมิพระร่วง  ฝ่ายนี้อ้างว่า  พระเจ้าลิไททรงเป็นนักปราชญ์  อาจทรงรวบรวมสุภาษิตพระร่วงนี้ขึ้น
ตามประวัติว่า  สุภาษิตพระร่วงเพิ่งรวบรวมหลักฐาน  ในรัชกาลที่  ๓  คราวโปรดให้มีการจารึกวิทยาการที่วัดพระเชตุพน
ปรากฏว่า  ได้มีการแก้ไขถ้อยคำเป็นภาษาครั้งรัชกาลที่  ๓  เสียบ้าง  แต่ความคิดคงเป็นความคิดครั้งพระร่วงสุโขทัย
๑.  เมื่อน้อยเรียนวิชา ...  เมื่อยังอยู่ในวัยอ่อน  ย่อมยังทำงานไม่ได้ผล  เพระกำลังยังน้อยจึงเป็นเวลาที่เหมาะที่จะเรียนวิชาหาความรู้ก่อน  วิชาเหล่านี้จะเป็นเครื่องที่สำคัญในการทำงานเมื่อเป็นผู้ใหญ่
๒.  ให้หาสินเมื่อใหญ่ ...  ครั้นเป็นผู้ใหญ่แล้วจะต้องมีความรับผิดชอบ  เพราะตอนนี้จะต้องมีครอบครัวจึงจำเป็นต้องรู้จักทำมาหากิน  คือหาทรัพย์มาใช้สอนให้เพียงพอแก่อัตตภาพของตน 
๓.  อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน ...  หมายถึงว่าให้ทำงานโดสุจริต  คือหากินตามสติปัญญาของตนไม่บังควรที่จะไปคิดลักทรัพย์ของคนอื่นเขา  เพราะการทำเช่นนี้เป็นการผิดศีลจะไม่มีความสุข
๔.  อย่าริร่านแก่ความ ...  ท่านห้ามมิให้รนหาเรื่องเดือนร้อนมาสู่ตนและครอบครัวคือให้รู้จักหลีกเลี่ยงการที่จะต้องทะเลาะวิวาทกับคนอื่นเสีย
๕.  ประพฤติตามบูรพระบอบ ...  ท่านสอนให้ประพฤติตนตามแบบแผนที่บรรพบุรุษท่านเคยปฏิบัติกันมาด้วยดี  เช่น  มั่นคงอยู่ในศีลธรรม  ไม่ประพฤติตนนอกรีดนอกรอย  มีสุภาษิตว่า  เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด
๖.  เอาแต่ชอบเสียผิด  ...  เลือกทำแต่คุณความดี  ละเว้นการทำชั่วอันเป็นโทษเสีย  คำว่า  เสีย  แปลว่า  ทิ้ง  ข้อนี้ตรงกับหลักพุทธศาสนาที่ว่า  ทำดี  เว้นชั่ว
๗.  อย่าประกอบกิจเป็นพาล ...  หมายความว่าอย่าทำอะไรที่ผิดศิลธรรม  เช่น  อย่าประทุษร้ายเขา  อย่าถือเอาของที่เจ้าของมิให้  อย่าใช้วาจาระรานผู้อื่น  การทำดังนั้นแสดงว่าเป็นพาล  หลักธรรมนี้คือให้เว้นทุจริตในไตรทวาร  คือทางกาย  วาจา  และใจ
๘.  อย่าอวดหายแก่เพื่อน ...  ธรรมดาคนที่เคยคบเป็นเพื่อน  ย่อมหมายถึงว่ามีความเสมอกันจึงคบกันได้  ถ้าเราแสดงตัวว่าเก่งกว่า  ดีกว่า  หรือกล้ากว่าเพื่อนแล้ว  แสดงว่าเราเด่นกว่าเขา  เรื่องเช่นนี้เป็นช่องทางให้แตกความสามัคคี  เพื่อนฝูงย่อมไม่ชอบ  ผลคือไม่มีคนคบ  หลักธรรมข้อนี้  สมานัตตตา
๙.  เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า ...  เข้าไปอย่าลืมมีด  หมายความว่ามีดเป็นเครื่องมือสำคัญเมื่อไปป่าเพราะต้องใช้ถางทางเดิน  ใช้ตัดฟืนตัดไม้มาใช้ประโยชน์  และใช้ป้องกันภัยอันอาจมาจากสัตว์ป่า  หรือคนร้ายก็ได้  มีดจึงเป็นของสำคัญในการเดินทางป่า  ข้อนี้หนังพระเวชสันดรชาดกก็นำมาใช้  คือตอนที่พระเวชสันดรต่อว่าพระมัทรีว่า  เข้าเถื่อนเจ้าลืมพร้า  ได้หน้าเจ้าลืมหลังไม่เหลียวกลับ
๑๐.  หน้าศึกอย่านอกใจ  ...  เมื่อผจญภัยกับฝ่ายปรปักษ์  หรือข้าศึก  ท่านสอนให้ระมัดระวัง  อย่านอกใจ  คืออย่าทำใจเย็น  จนไม่คิดถึงภัย
๑๑.  ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน ...  ท่านสอนให้รู้คุณของเวลา  ให้เห็นว่าเวลานั้นมีคุณค่าการไปมาหาคนอื่นแล้วอยู่นาน  ๆ  นั้นเสียหายแก่ตนเองและเจ้าของบ้านซึ่งอาจมีธุระสำคัญอยู่  เราไปนั่งนาน  ทำให้เขาไม่อาจทำธุระของเขาได้  ตัวเขาเองก็เสียประโยชน์เพราะควรใช้ประโยชน์เวลานั้นไปทำงาน
๑๒.  การเรือนตนเร่งคิด  ...  หมายถึงการงานของเรานั้น  ควรจะคิดทำให้ได้ผลขึ้นมาให้ใฝ่ใจว่าทำอย่างไรการอาชีพของตนจะรุ่งเรืองกว่าเดิม
๑๓.  อย่างนั่งชิดผู้ใหญ่  ...  เป็นการสอนให้มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่  การนั่งชิดผู้ใหญ่เป็นการตีเสมอ  การกระทำเช่นนั้นเป็นผลร้ายต่อตนเอง  อย่างน้อยก็ขาดความรักใครจากผู้ใหญ่  เรื่องนี้เป็นวัฒนธรรมไทยที่ดีมาก  คือสอนให้ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่  ท่านสอนว่าเด็กจะต้องนอนต่ำกว่าผู้ใหญ่  นี่เป็นการเคารพ
๑๔.  อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์  ...  ข้อนี้หมายความว่าท่านสอนให้รู้จักความสันโดษ  คือ ความพอใจในภาวะปัจจุบันของตน  การทำอะไรเกินฐานะย่อมจะนำมาซึ่งความเดือดร้อน  เช่น  เห็นเขามีรถยนต์  เราอยากมีอย่างเขาบ้าง  ไปกู้เงินเขามาซื้อ  ย่อมเป็นผลร้ายว่าจะต้องเดือดร้อนภายหลัง  ท่านจึงสอนว่าให้เป็นผู้ที่มีความสันโดษ  ให้รู้จักประมาณดังคำพระท่านว่า  มัตตัญญุตา
๑๕.  ที่รักอย่าดูถูก  ...  คำว่าดูถูกในที่นี้ไม่หวายความว่าดูหมิ่น  แต่หมายความว่า  เห็นไม่สำคัญ  ที่รักอย่างดูถูก  หมายความว่า  คนที่รักกันอยู่แล้วนั้นไม่สำคัญ  ไม่ต้องเอาใจใส่ไม่ต้องสนใจ  ข้อนี้ผิด  เพราะคนเรายิ่งรักกันต้องยิ่งถนอมน้ำใจกัน  มิฉะนั้นจะแตกร้าวกันมีสุภาษิตข้อหนึ่งว่า  รักยาวให้บั่น  รักสั้นให้ต่อ  ซึ่งมีความหมายว่า  ถ้ารักกันต้องคบกันยืดต้องตัดความสนิทสนมลงเสียบ้าง  ถ้ารักจะให้แตกกันเร็ว  ก็ให้ทวีความสนิทสนมมากขึ้น
๑๖.  ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง  ...  ให้ผูกมิตรอย่ารู้หมด  การรักษาน้ำใจเพื่อนไว้เสมอเป็นความมั่นคงอย่างหนึ่งคือมิตรที่มีอยู่แล้วก็ต้องถนอมความรักไว้ให้ได้  คนใหม่ก็ควรคบหาไว้อีก  ถ้าทำได้ย่อมเป็นความดีอย่างหนึ่ง๑๗  สร้างกุศลอย่างรู้โรย  ...  หมายถึงทำคุณความดีไว้อย่างสม่ำเสมอ  อย่าให้ลดน้อยถอยลงคำว่า  โรย  หมายถึงร่วงโรย  ไม่อยู่คงที่  หรือลดลง
๑๘.  อย่าโดยคำคนพลอด  ...  อย่าเห็นดีตามคนช่างพูด  โดยคำคนพลอด  คนช่างพูดหว่านล้อม  เพื่อประโยชน์ของตนเอง
๑๙.  (อย่า)  เข็นเรือทอดกลาง  (ทาง) ถนน  ...  หมายถึงว่า  อย่าทำอะไรให้ผิดที่หรือเทศะเรือนั้นต้องอยู่ในน้ำ  ถ้าเข็นขึ้นทางบก  ก็นับว่าไม่ถูกเทศะ
๒๐.  เป็นคนอย่าทำใหญ่  ...  ทำใหญ่นั้นเท่ากับคนสำคัญในปัจจุบันว่า  เบ่ง  หรือ  แสดงปมเด่นในลักษณะข่มคนอื่น  การทำใหญ่ย่อมทำให้เกิดความเกลียดชัง
๒๑.  ข้าคนไพร่อย่างไฟฟุน  ...  ไฟฟุน  หมายถึงการโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ  ท่านห้ามไม่ให้แสดความโกรธจัดแก่คนรับใช้ของเรา  เพราะคนเหล่านั้นอาจเป็นภัยต่อเราได้  ดังที่เคยมีเรื่องลูกน้องทำร้ายผู้บังคับบัญชา  เพราะไปแสดงความโกรธเขา  เขาได้รับการศึกษาอบรมมาน้อย  ย่อมหักห้ามอารมณ์ตนได้ยาก
๒๒.  คบขุนนางอย่าโหด  ...  คำว่า  โหด  พจนานุกรมว่า  ไร้  และชั่ง  มีคำพูดว่า  นกไร้ไม้โหด  แต่ความหมายของสุภาษิตพระร่วงบทนี้  โหด  หมายถึง  โฉด  คือโง่เขลาเบาปัญญา  ท่านสอนให้รู้เท่าขุนนางคือรู้ว่าเขามีอำนาจวาสนาอย่างไร  เราควรประพฤติตนต่อเขาอย่างไร  จึงจะไม่เป็นภัยตนเอง
๒๓.  โทษตนผิดรำพึง  อย่าคนึงโทษท่าน  ...  สอนให้พิจารณาตัวของเราเองให้
มากคิดถือว่าตัวเราเองผิดก็ได้  ส่วนโทษของคนอื่นนั้น  ท่านสอนไม่ให้ไปคอยจับผิดเขา  เพราะไม่ได้ประโยชน์อะไรแก่เราเลย  มีแต่จะก่อให้เกิดศัตรู  ความคิดข้อนี้โคลงโลกนิติก็เอามาแต่งว่า
      โทษท่านอื่นเพี้ยง                           เมล็ดงา
      ปองติฉินนินทา                              ห่อนเว้น
      โทษตนเท่าภูผา                                      หนักยิ่ง
      ป้องปิดคิดซ่อนเร้น                         เรื่องร้ายหายสูญ
      สุภาษิตนี้มุ่งจะสอนว่า  คนเรานั้นถ้าเที่ยวคุ้ยเขี่ยหาความผิดคนอื่น  ความผิดของตนเองนั้นแหละจะถูกเขามองเห็น
๒๔.  หว่านพืชจักเอาผล  เลี้ยงคนจักกินแรง  ...  ธรรมดาเรานั้นเมื่อทำอะไรลงไปอย่างหนึ่งย่อมประสงค์จะได้สิ่งตอบแทนเห็นได้จากพวกประกอบกสิกรรมทั้งหลาย  เช่น  ชาวนา  ปลูกข้าวก็หวังจะได้ข้าว  ชาวสวนชาวไร้ปลูกพืชพันธุ์อะไร  ก็หวังจะได้ผลจากพืชพันธ์นั้นเช่นเดียวกันตามบ้านใหญ่  ๆ  เขาก็หวังจะใช้คนเหล่านั้นช่วยเขาทำงาน  เขามิได้เลี้ยงไว้ดูเล่นอย่างนกขุนทองหรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ
๒๕.  อย่าขัดแข็งผู้ใหญ่  ...  ผู้ใหญ่ย่อมมีอำนาจมาก  ผู้น้อยที่ขัดแข็งเขา  ก็เท่ากับไปทำการกระด้างกระเดื่องต่อผู้ใหญ่  มิใช่คุณสมบัติอันดี  มีแต่ทางที่จะตัดประโยชน์ของเขา
๒๖.  อย่าใฝ่ตนให้เกิน  ...  ข้อนี้ท่านสอนให้รู้จักตนเอง  คือ  อัตตัญญุตา  ตามธรรมที่ชื่อว่า  สัปปุริสธรรม  การรู้จักตนเองจะไม่เดือนร้อน
๒๗.  เดินทางอย่างเดินเปลี่ยว  ...  เดินเปลี่ยวหมายถึงเดินคนเดียว  จะมีอันตรายท่านสอนให้ว่า  คนเดียวหัวหาย  สองคนเพื่อนตาย
๒๘.  “น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ  ...  เพราะกระแสน้ำจะทำให้เรือล่ม  มีความหมายว่า  อย่าขัดขวางผู้มีอำนาจในขณะที่ท่านมีอารมณ์เสีย
๒๙.  ที่ซุ่มเสือจงประหยัด  ...  ที่ซุ่มเสือ  คือป่าที่เสือซ่อนตัวอยู่ย่อมมีอันตราย  จงระวัง...  ประหยัด  ในความหมายเดิมแปลว่า  ระวัง  คนโหดมักคิดว่าตนเองเก่งเหมือนเสือไม่รีบหนี  ท่านสอนว่าหมู่คนชั่วอยู่ที่ไหน  จงรีบหนี  หรือหาทางป้องกัน
๓๐.  “จงเร่งระมัดฟืนไฟ ...  ระมัด  คือระวัง  เพราะไฟนั้นมีโทษมหันต์  เผลอนิดเดียวไหม้บ้านหมดใครที่ทำความชั่วก็เหมือนกับก่อไฟ  ย่อมจะลุกขึ้นและรับไม่ไหว  ฟืนไฟเป็นของคู่กันโบราณใช้คำกันมาก  เช่น  หมาก พลู  ข้าว ปลา  น้ำ ท่า
๓๑.  “ตนเป็นไทยอย่าคบทาส  ...  คบทาสจะทำให้เสียเกียรติ  เพราะทาสเป็นคำต่ำต้อยไม่มีอิสระ  ในเรื่องขุนช้างขุนแผน  แก้วกิริยา  พูดกับขุนแผนด้วยความเจียมตัวว่า  เป็นไทยอย่าเอาใจมาคบทาส  ฉันไม่อาจนั่งเอื้อมเสนอหน้า
๓๒.  “อย่าประมาทท่านผู้ดี  ...  ท่านผู้ดีย่อมมีอิทธิพล  ถ้าประมาณจะเดือดร้อน เพราะท่านไม่ได้รู้ได้ทุกอย่าง
๓๓.  “มีสินอย่าอวดมั่ง  ...  การอวดมั่งมีไม่ดี  เพราะเพื่อนย่อมอิจฉา  อาจเป็นข้อขัดเคืองกัน  เมื่อหยิบยืม  อาจทำให้คนเกลียดเพราะอวดมี  ถ้ามีก็ควรทำไม่มี
๓๔.  “ผู้เฒ่าสั่งจงจำความ  ...  สอนให้เชื่อผู้เฒ่า  เพราะท่านมีประสบการณ์มากกว่าอย่างที่เรียกว่า  อาบน้ำร้อนมาก่อน  หรือท่านเป็นผู้สูงวัยในวัยวุฒิเป็นสำคัญ
๓๕.  “ขวากหนามอย่าเสียเกือก  ...  มีความหมายว่าในที่  ๆ  มีภัย  ไม่ควรขาดเครื่องป้องกัน  ความนี้เป็นคำสอนให้มีความระมัดระวังภัยอันจะมีจะเกิดขึ้นแก่ตนเองได้ทุกกาละเทศตามความหมายในสุภาษิตนี้  คือที่ ๆ  มีขวากหนามอย่าทิ้งรองเท้านั้นเอง
๓๖.  “ทำรั่วเรือกไว้กับตน  ...  หมายถึงว่า  ทำความดีไว้ป้องกันตน  เช่น  ความสุจริตเป็นดังพระราชนิพนธ์รัชกาลที่  ๕  ว่า  สุจริต  คือ  เกราะบัง  สาตรพ้อง
สุภาษิตที่ได้ยกขึ้นมานี้พบเป็นสำหรับตัวอย่างในการแนะนำเพื่อเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือนำไปสั่งสอนแก่มวลชนมวลหมู่มิตรพวกพ้องเป็นต้น  สุภาษิตพระร่วงเป็นสุภาษิตของคนภาคกลางตามที่สันนิษฐานกันไว้  เพราะฉะนั้นสุภาษิตทั้งสี่ภาคที่ยกมาเป็นตัวประกอบในการแนะนำปรัชญาชาวบ้านที่เราสืบสานจนมาถึงทุกวันก็เพราะประเทศเรานั้นมีครูที่ดีเป็นเบื้องต้นในการสั่งสอนให้คนไทยมีปรัชญาเป็นของตัวเอง  โดยที่ไม่ต้องเสาะหาของอื่น ๆ  มาใช้เลย  ถึงนำปรัชญาของคนอื่น  ๆ  ประเทศอื่น  มใช้ก็นำมาประยุกต์ให้เขากับความเป็นคนไทยประเทศไทยในภูมิภาคพื้นที่มีศาสนาเป็นพื้นฐานในชีวิตจิตใจของคนไทย
สุภาษิตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สุภาษิตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เรา  ๆ ท่าน  ๆ  เรียกกันว่าเป็นภูมิภาคที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทยและถิ่นฐานนี้มีการละเล่นแตกต่างจากพื้นที่อื่น  ๆ  แม้กระทั่งวัฒนธรรมของพื้นที่ก็มีความแตกต่างกันพอดูฉะนั้นรูปสุภาษิตจึงออกมาในรูปแบบสอนให้ชาวบ้านรู้ซึ้งถึงคุณธรรม  เป็นต้นว่า
เป็นขุนให้มีใจกว้าง
-  เป็นขุนนาง  หรือเป็นผู้ใหญ่  ผู้บริหาร  จะต้องมีทัศนะกว้าง  รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น  แม้คนใต้ปกครอง
อย่าอวดอ้าความฮู้ยบ่ถาม
-  ไม่มีที่จะฉลาดเกินไป  จนไม่ต้องถามคนอื่น  ดังนั้นเมื่อไม่รู้จะต้องถามท่านผู้รู้
ความได๋งามถามขุนผู้ฮู้
เรื่องใดดีมีคุณประโยชน์  เมื่อได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้แล้ว  จดจำใส่ใจไว้
ไม้ลำเดียวล้อมฮั่วบ่อไขว่  ไพร่บ่อพร้อม  แปลงบ้านบ่อเป็น
-  เกิดเป็นมนุษย์ต้องรู้จักสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน  เมื่อมีภาระธุระเกิดขึ้นจะได้ช่วยแก้ไข
เพิ่นเห็นโต  อย่าอำเชิงไว้  บาตโทษต้องมันปิ้นใส่โต
-  เรื่องอะไรก็ตาม  เมื่อคนอื่นเห็นเสียแล้ว  ถึงเป็นความลับก็ไม่เป็นความลับอีกต่อไป  อย่าทำเป็นลับ ๆ ล่อ  ๆ  อีกต่อไป
คนใจเบื่อนอย่าเอาเป็นพี่น้อง  มักจักเป็นล่องค่องคือเกี่ยวสองคม
-  คนที่กลับกลอก  หรือประเภทหน้าไหว้หลังหลอก  อย่าได้นำมาเป็นเครือญาติหรือมิตรสหาย  เพราะคนประเภทนี้เป็นเสมือนเคียว  ๒  คม  ย่อมเกี่ยวได้ทุกท่า
เพิ่นนั่งให้  โตอย่านั่งหัว
-  ยกตัวอย่างเช่นในกรณีที่ไม่ร่วมงานสวดหน้าศพ  ทุกคนที่ไปร่วมควรจะมีกิริยาการสำรวม  ไม่ควรที่จะไปแสดงกิริยาร่าเริง  หัวเราะต่อกระซิก  แม้จะไม่ได้เจตนาแต่เป็นกิริยาที่ไม่ควรกระทำ
ผัวเมียกันอย่าทำใจเชื่อ  บาดลางเทื่อมันเบื่อใจซัง  ความโมหังมันมาแล่นต้อง  พี่และน้องบ่แม่นใจเดียว
-  แม้เป็นสามีภรรยากันก็อย่าวางใจกันจนเกินไป  เพราะทุกคนยังมีกิเลส  และพี่น้องที่คลานตามกันมาก็อย่าคิดว่าจะมีความเห็นตรงกันตลอด
คันฟันขวานให้เหลียวเบิ่งฟ้า  คันยิงหน้าให้เหลียวเบิ่งปลายปืน
-  จะทำอะไรต้องมีความรอบคอบ  เพราะการที่จะยกขวานขึ้นฟันไม้นั้นมีกิ่งไม้มีเครือเถาวัลย์หรือเปล่าหรือจะยิงธนู  หน้าไม้  หรือยิงปืนก็ต้องดูเป้าให้ถี่ถ้วน  เพราะคนที่มันตายไปเพราะกรณีนี้มากต่อมากแล้ว
ความฮู้น้อยอย่าผ่านครองเมือง.  ผัวเพิ่นยังอย่าขันเป็นชู้
-  มีความรู้หรือประสบการณ์น้อย  ๆ  อย่างได้รับหน้าที่บริหาร  และสามีเขายังอยู่อย่าได้แอบเป็นชู้กับภรรยาของเขาเป็นอันขาด
เพิ่นเคียดแล้วอย่าได้กล่าวใย  ไฟลามลุกอย่าเอาฝอยมาอ่อย
-  เพื่อนกำลังมีเรื่องไม่สบายใจอยู่  อย่าได้ไปเยาะเย้ยเป็นอันขาด  และไฟที่กำลังจะลุกไหม้อย่าเอาเชื้อฝอยไปเติมเข้าอีก
ความมัวหมองอย่าถาดความเคียด
-  คนกำลังมีเรื่องไม่สบายใจอยู่  อย่านำเรื่องที่คอขาดบาดตายไปปรึกษา
ความไกลตาฟังให้ถี่  คิดฟุ้งพี้บ่อแม่นความเดียว
-  เรื่องที่คนเล่าลือกันแบบปากต่อปากนั้น  จะต้องฟังดูให้ละเอียด  อย่าด่วนเชื่อง่าย ๆ
ฮักเมียโต  ให้ฮักลุกตา  ฮักนาโต  ให้ฮักพ่อบ้าน
-  รักลูกสาวเขา  ต้องรักษาคณาญาติของฝ่ายหญิงด้วย
เพิ่นหุมโต  อย่าโงทางต่าง
-  ผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชาเอ็นดูแล้ว  ควรจะเสงี่ยมตัว  อย่าได้ลืมตัวตีตนเสมอท่านเข้าจะเดือดร้อน
ย่างกลางบ้านอย่าคาดเคืองหลาย
-  พวกที่อวดมั่งอวดมี  มักจะตายเพราะความมักอวดนี้อยู่บ่อย  ๆ  ไม่เว้นแต่ละวัน
ได้เมียผู้ดีปานแก้วคูณล่าง  ได้เมียผู้ช่างปานแก้วคูณเฮือน  ได้เมียผู้บิดเบือนปานกุมหมูในคอก  ได้เมียผู้ฝอก  ปานแก่ไม้ทางปลาย
-  ลักษณะภรรยาที่ดี  เหมือนแก้วมณีที่มีค่า  ภรรยาที่มีหัวในทางช่าง  เหมือนได้แก้วสารพัดนึก  ภรรยาที่ขาดความซื่อสัตย์  เหมือนกับไล่จับหมูในคอก  ภรรยาที่ไม่ลงรอยกันเป็นเสมือนดึงไม้ไผ่ด้านปลาย
เถิงยามค่ำ  อย่านั่งหนทาง  เดินกลางคืน  อย่าสู่เที่ยวบ้าน
-  เวลาค่ำคืนอย่าได้ไปเที่ยวนั่งด้อม  ๆ  มอง  ๆ  ที่ถนนหนทาง  เพราะจะเป็นที่ระแวงของเพื่อนบ้าน  และตกค่ำคืน  ไม่ควรจะออกไปเที่ยวพูดเที่ยวคุยบ้านโน้นบ้านนี้  เพราะเสียทั้งเวลาตนเองและทำให้เพื่อนบ้านเสียเวลาด้วย
เข่าเถื่อนกว้างเลี้ยงหมูเลี้ยงหมา 
-  เข้าป่าเขาลำเนาไพร  ควรจะมีเพื่อน  อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะเลี้ยงสุนัขไว้เป็นเพื่อนให้ความอบอุ่น  เพราะสุนัขเป็นเพื่อนมนุษย์ประเภทแรก  ในบรรดาสัตว์เลี้ยงของมนุษย์
ตกหมู่ขุนซอยขุนเกือม้า  ตกหมู่ข่าซอยข่าพายโซน  ตกหมู่โจรซอยโจรหามเหล่า
-  ถือปรัชญาแห่งการเอาตัวรอด  แซว ๆ  เสียงบ่อมีโตฮ้อง  แซว ๆ  ฮ้องโตเดียวหมดหมู่
นกเอี้ยงกินหมากโพธิ์ไฮ  แซว  ๆ  เสียงบ่อมีโตฮ้วง  มีความหมายว่า  มีเสียงลือเสียงเล่าอ้าง  สืบหามูลความจริงไม่ได้ประโยคที่ว่า  แซว  ๆ  ฮ้องโตเดียงหมดหมู่  เป็นระบบของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่คัดเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนเข้าไปเป็นปากเสียงของคนหมู่มาก
หานกินหมากขามป้อม  ไปคาดอมั่ง  มั่งบ่ขี่  สามมื้อกระต่ายตาย  กระต่าย  ตายแล้วเห็นอ้มผัดเน่านำ
-  คนที่ทำอะไรแบบคิดสั้น  ๆ  ไม่มองกาลไกล  ย่อมจะสร้างความวุ่นวายหรือความยากลำบากใจให้แก่คนที่อยู่ข้างหลัง  อย่างที่ภาษาการเมืองเรียนว่า  วางระเบิดเวลาเอาไว้  อะไรทำนองนั้น
สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น  สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ  สิบมือคลำไม่เท่าทำเอง 
-  เรื่องที่เล่ากันมาแบบปากต่อปากนั้น  สู้ประจักษ์ด้วยสายตาไม่ได้  แม้วประจักษ์ด้วยสายตาแต่ก็สู้สัมผัสด้วยมือไม่ได้  แต่กระนั้นปราชญ์ท่านก็ยังสู้ด้วยการใช้วิจารณญาณอย่างที่เรียกว่า  “lnsight”  ไม่ได้
นุ่งผ้าสลายหมาเห่า  เว้วความเก่าผิดกัน
-  คนที่แต่งตัวประหลาด  ๆ  สุนัขมักจะตามเห่า  และฟื้นเรื่องราวในอดีตของเพื่อนอยู่เรื่อย ๆ  ก็เท่ากับหาเรื่องไม่มีที่สิ้นสุดนั้นเอง
ขอนดอกเกิดเป็นหิน  ฝนตกรินน้ำท่วม
-  ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้  อาศัยกาลเวลาเป็นเครื่องตัดสินอย่าได้คิดว่าเรื่องทุกอย่างจะอยู่คงเส้นคงวาตลอดไป
ห่างท้องไส้ไข่แลน  บ่คองว่าจักได้กิน
-  ตั้งความหวังไว้  บางทีก็สมหวัง  บางครั้งก็ผิดหวัง
ฆ้องกลองดังเอง  จังไฮ้แท้นา
-  ฆ้องกลองที่ดังขึ้นมาเองโดยไม่มีคนตี  มักจะเกิดจัญไร  หมายถึงบุคคลที่อวดตนเอง  ว่าดีว่าเก่ง  โบราณว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยดี  เหมือนกับฆ้องและกลองที่อยู่  ๆ  ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีใครตี  ถือว่าเกิดอาเพทประหลาด  ในทำนองตรงกันข้าม  ถ้าตีฆ้องกลองแล้วไม่ดังอีกก็เป็นจัญไรอีก
หวงควมกิน  งูเขียวสิเกี้ยว
-  คติของคนโบราณสอนลูกหลานเล็ก  ๆ  ให้รู้เรื่องปรมัตถธรรม  โดยบอกว่า  หวงของกินต่าง ๆ  เช่น  ขนม  ทอฟฟี่  เป็นต้น  งูเขียว  (งูประเภทที่อยู่ตามบ้าน)  จะรัดเอา  ๆ  อันเป็นอุบายสอนลูกสอนหลานให้รู้หลักการอยู่ร่วมกันในสังคม  จะต้องมีการเฉลี่ยจานของ  ๆ  ตนแก่ผู้อื่น
มักเล่นเสียความฮู้  มักเล่นชู้เสียหลัก
-  นักเรียน  นักศึกษา  เมื่อชอบเล่นเกี่ยวกับอบายมุข  ก็จะทำให้การเรียนเสียไป  คนที่เจ้าชู้กรุ้มกลิ่มก็มักจะเสียหลักคือเสียความเป็นผู้ใหญ่  ขาดความเคารพนับถือจากเด็ก  ๆ
เที่ยวยามท่านมักเสียของ  คั้นปากหลายมักเสียความ
-  เที่ยวเยี่ยมคนอื่นบ่อย  ๆ  จะต้องจ่ายของกำนัลอยู่เรื่อย ๆ  ยิ่งคราวที่ฐานะเศรษฐกิจยอบแยบก็ยิ่งเป็นการไม่ควรที่จะเที่ยวไปเยี่ยมคนนั้นนี้บ่อย  ๆ  และพูดมากมักจะเสียคน
อย่าฆ่าควายเพื่อแฮ้ง  อย่ากินซิ่นเผื่อเสือ  อย่าเสียคมดาบ
-  (๒  ประโยคแรก  ก็คือให้รู้จักสร้างนิสัยประหยัด  ส่วนท่อนสุดท้ายนั้น  คืออย่าได้กระทำสิ่งที่เป็นอันตราย)
ของกินบ่อกินมันเน่า  ขอเห่าบ่เล่ามันลืม
-  อาหารมีไว้กิน  ก็ต้องกินชืนเอาไว้ก็เน่าเปล่า  ๆ  สุภาษิตต่าง ๆ  ถ้าไม่หมั่นท่องบ่อสาธยาย  ให้คล่องปากก็สามารถจะลืมได้
มีเงินเต็มภาชน์  บ่ท่อมีผญาเต็มพุง
-  เที่ยบได้กับสุภาษิตที่ว่า  มีอะไรไม่สู้รู้วิชา  หรือ  แต่วิชาช่วยกายจนวานปราณ
นั่งให้เบิ่งที่  หนีให้เบิ่งบ่อน
-  จะลูกจะนั่งต้องมีสติสัมปรัญญะ  ดูให้ได้รอบคอบเสียก่อน  เพราะบางทีอาจจะนั่งเศษแก้ว  หรือของมีคมหรือตะปูติดไม้ที่หงายได้  คราวจะลุกจากไปต้องดูให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่งว่า  หลงลืมอะไรไว้บ้า
ไวปากเสียศีล  ไวตีนตกต้นไม้
-  คนที่พูดพล่ามหรือพูดมาก  มักจะเสียมรรยาท  หรือเสียศีลได้  คนที่คะนองมือ - ตีนก็จะมักจะเจ็บตัวเพราะตกต้นไม้
เพิ่นบ่อเอิ้นอย่าขาน  เพิ่งบ่อวานอย่าซ่อย  อยากซ่อยแท้ให้พิจารณา
-  โบราณท่านเป็นรอบคอย  คือท่าไม่เรียกอย่าขาน  ท่านไม่วาน  อย่าซ่วยถ้าจะซ่อยจริง  ๆ  ให้คิดให้รอบคอบ
โง่ไม่เป็น  เป็นใหญ่ยาก  (คติพจน์ของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีรวงศ์ติสโส  อ้วน) 
-  คนที่อวดอ้างตัวเป็นคนฉลาด  เหนือผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา  เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นบริหารหรือผู้ใหญ่ย่อมยากที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้  เพราะวิสัยของผู้ใหญ่ที่ดีนั้น  ไม่ใช่นั่งบัญชางานอยู่ในห้องแอร์หรือยู่บนหอคอยงาช้าง  เท่านั้น  บางครั้ง  หรือหลาย ๆ  ครั้งผู้ใหญ่จะต้องทำเป็นคนโง่  ลงมาคลุกคลีกับผู้ใต้ปกครองในทำนองที่ว่า  ผู้นำที่ดีนั้น  เป็นได้ดีทั้งผู้นำและผู้ตาม

สุภาษิตภาคใต้
สุภาษิตภาคใต้นั้นก็เกิดจากบรรพบุรุษของคนท้องถิ่นใต้เช่นกันเพราะประเทศของเรานั้นมีพื้นที่แต่ละภาคมีสำนวนของการพุดการเจรจานั้นแตกต่างมากมายเพราะเป็นถิ่นฐานของแต่ละภาค  และภูมิภาคพื้นดินที่มีบรรยากาศแตกต่างกันด้วย  เพราะฉะนั้นภูมิภาคใต้สุภาษิตก็เกิดจากการละเล่นต่างทั้งในด้านต่างไม่ว่าจะรูปแบบมโหรสพ  การละเล่นของพื้นบ้านเป็นต้น  เช่น
ไก่ตัวไหนต๊าก  ตัวนั้นแหละไข่
มีความหมายว่า  คนที่ทำความผิดย่อมมีพิรุธ
หน้าด้านเหมือนวานรลิง
มีความหมายว่า  เปรียบคนที่หน้าด้านเหมือนกับวานร
เกลี้ยงผิว  เหมือแมวเลีย
มีความหมายว่า  ข้อความชัดอยู่แล้ว  คือมีหลักฐานมัดชัดเจน
ยิ่งหยุดยิ่งไกล  ยิ่งไปยิ่งแค่
มีความหมายว่า  ไม่ว่าการศึกษาหรือการเดินทาง  ถ้าเราทำอย่างต่อเนื่องมักก็จะใกล้  (ความสำเร็จ)  ได้โดยเร็ว
อย่านอนบ้านคนมี  ตามหลังโหมหนี  นอนหลับโรงปอ
มีความหมายว่า  อย่าไปทำสิ่งที่ไม่ดีเข้า  เช่น  ไปนอนที่บ้านคนมั่งคัง  ตามหลังพวกโจรที่กำลังหลบหนีเจ้าหน้าที่ตำรวจ  และกินอยู่หลับนอนในโรงปอ (คนมี-คนร่ำรวย  มั่งคั่ง,  โหมพวกโจรที่หนีเจ้าหน้าที่,  โรงปอ บ่อนการพนัน
กินข้าวบดมาก่อน
มีความหมายว่า  คนที่มีอายุ  มีประสบการณ์ในโลกและชีวิตมาก่อน  ย่อมสามารถจะเป็นผู้ชี้แนวทางให้อนุชนได้
กินขี้หมา  ดีกว่า  ค้าความ
มีความหมายว่า  อย่าพยายามให้มีเรื่องทะเลาะกับใคร ๆ  เพราะมีถ้อยมีคำฟ้องร้องกันถึงโรงถึงศาล  ก็มักจะฉิบหายกันทุกฝ่าย  จึงได้พูดว่า  กินขี้หมาดีกว่าค้าความ 
กินข้าวเย็นเป็นพระยา  กินข้าวร้อนนอนกับหมา
มีความหมายว่า  ในการแข่งขันหรือโต้วาทีนั้น  ผู้ที่มีประสบการณ์มักจะใช้ดุลพินิจ  ปล่อยให้คู่ต่อสู้แสดงลวดลาย  และศึกษาเชิงชั้นคู่ต่อสู้ไปเรื่อย ๆ  พอรู้ว่า  คู่ต่อสู้หมดลวดลายแล้วจึงเข้าเผด็จศึกเสียเลย
เกลียดขี้  ๆ ตาม  เกลียดความ ๆ  ติด
มีความหมายว่า  เกลียดสิ่งใดมักจะประสบสิ่งนั้น ๆ  ตรงกันข้ามกับสุภาษิตสำนวนอีสานว่า  เหม็นอย่าได้ขี้เดียด  เคียดอย่างได้ชัง
แก่หมากแก่พร้าว  เฒ่าลอกอ
มีความหมายว่า  คนแก่แต่วัย  หรืออายุมาก  ๆ  แต่ไร้คุณธรรม  เป็นแก่ที่ไร้ประโยชน์  แก่ที่ดีคือแก่ที่มีคุณธรรม  แก่ที่มีประสบการณ์ที่เรียกว่า รัตตัญญู  นั้น  เป็นคนแก่ที่ประเสริฐ
กวางเข้าไร  ไปทำรั้วที่นา
มีความหมายว่า  เป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด  ไม่มีประโยชน์
กลัวโรงพัก  มักโถกความ
หมายความว่า  กลัวสิ่งใดมักจะพานพบกับสิ่งนั้น
การนาค  ซากชี  สิบเท่า  การบ่าวสาวได้บุญหวา
มีความหมายว่า  การไปช่วยงานแต่งงาน  ประเสริฐว่าการไปร่วงงานาค  งานศพ  และงานบวชแม่ชีตั้งสิบเท่า
ข้างในไฟครอบ  ข้างนอกวันทา
มีความหมายว่า  เป็นการตี  ๒  หน้า ของคนในสังคม  หรือมารยาททางสังคมแม้จะมีความรู้เก็บอารมณ์อะไรไว้ก็ตามเมื่อแขกมาบ้าน  ต้องพยายามแสดงสีหน้า  ทำทีว่ามีความสุขใจที่พบ
ขี้เก้ง  วานให้เพื่อนล้าง
มีความหมายว่า  สร้างปัญหาไว้ให้คนรอบข้างหลังตามแก้ไม่สิ้นสุด
คนผิดเสียหน้า  คนบ้าเสียจริต
มีความหมายว่า  คนที่มีความผิด  มักทำอะไรมีพิรุธเสมอ
ตีหมาต้องแลเจ้าของ
มีความหมายว่า  เมื่อปฏิบัติต่อของ  ๆ  คนอื่นให้นึกถึงเจ้าของเขาด้วยว่าเขาจะคิดอย่างไร
ตื่นสายให้สร้างสวนพร้าว  ตื้นเช้าให้สร้างสวนยาง
มีความหมายว่า  ทุกคนจะเจริญได้  ก็เพราะทำงานเหมาะกับนิสัย
อย่าไถนาดอน  อย่าสอนคนใหญ่
มีความหมายว่า  อย่าทำสิ่งที่เป็นอจินไตย  เพราะไม่เป็นมงคลแก่ตนเองและไร้ประโยชน์
นอนสูงให้นอนค่ำ  นอนต่ำให้นอนหงาย
มีความหมายว่า  เป็นการสอนที่รอบคอบของคนโบราณ  สังคมต้องมีการพึ่งพาอาสัยกัน
ไปควนอย่าไปเปล่า  เอาผักหลบมาบ้าง
มีความหมายว่า  ไปธุระแล้ว  เมื่อจะกลับมาบ้านไม่ควรมามือเปล่า  ควรจะมีของติดมือฝากบุตรภริยาที่อยู่เบื้องหลังบ้าง
แมวหน้า  หมาเจ็ด  ข้าสิบเอ็ด  เมียสอง  ต้องห้าม
มีความหมายว่า  ข้อความชัดแจนอยู่แล้ว  ต้องห้าม อัปมงคล

สุภาษิตภาคเหนือ
สุภาษิตในแต่ละภาคนั้นก็เกิดขึ้นจากบรรพบุรุษของเราที่ได้สืบเนื่องมาจากอดีตในช่วงเวลาที่ผ่านมาแล้วชั่วอายุคน  แต่ละชั่วอายุของคนนั้นมีเหตุมากมายเกิดขึ้นให้บรรพบุรุษของเราเก็บมาเป็นสุภาษิตสั่งสอนเราให้รู้ถึงสถานการณ์เหล่านั้น  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการครองเรือนของคนการสงครามที่เกิดขึ้นในสมัย  สุโขทัย  แม้แต่ในสมัยอยุธยานั้นก็เกิดเหตุการณ์ต่างที่ทำให้บรรพบุรุษได้เอาเหตุการณ์เหล่านั้นมาสอนในทำนองเป็นสุภาษิตเพื่อให้เกิดสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์
เพื่อเอาไปใช้ในชีวิตและสืบทอดไปยังลูกหลานต่อไป  เหมือนดังสุภาษิตภาคเหนือ  ก็เช่นกันดังที่เราได้รู้ได้ศึกษาว่าเมื่อสุภาษิตเป็นไปในรูปแบบไหนในแต่ละภาคของประเทศไทยนี้ที่เติบโตมาได้จนปัจจุบันก็เพราะบรรพบุรุษของเราทั้งนั้นเป็นครูสอนให้เราสู้เพื่อความอยู่รอดของประเทศไทยและเหล่าชนในประเทศ  สุภาษิตภาคเหนือนั้นก็มีสำเนียงออกมาในรูปแบบของภาคเหนือ  เช่น
ของกิ๋นบ่กิ๋นฮู้เน่า  ของเก่าบ่เล่าฮู้ลืม
-  มีความหมายเท่ากับสำนวนอีสานที่ว่า  ของกินบ่กินมันเน่าของเก่าบ่เล่ามันลืม
ข้าวจะเลี้ยงกินหวาน  คนจะผานเพราะนอนอุ่น
-  เป็นลางบอกเหตุให้รู้ล่วงหน้า  (เลี้ยง หมด  ผาน ฉิบหาย  ล่มจม)
เงินอยู่ใต้น้ำ  คำอยู่ใต้ดิ๋น
-  เท่ากับสุภาษิตภาคกลางที่ว่า  ทรัพย์อยู่ในดิน  สินมีอยู่ในน้ำ  หรือหนึ่งว่า เงินอยู่ที่สมองทองอยู่ที่ปัญญา
อู้กับคนใบ้  เหมือนผ่าไม้ต๋ำต๋า  อู้กับคนผญา  เหมือนผ่าไม้โล่งข้อ
-  พูดกับคนโง่  เหมือนผ่าไม้ติดตา  พูดกับคนมีปัญญา  (ปฏิภาณโวรมาก  ๆ  เหมือนผ่าไม้ไผ่ที่ไม่มีข้อหรือตา)
ลูกแม่หญิงหมาเห่าบ้านเฮา  ลูกป้อจาย  หมาเห่าบ้านเปิ้น
-  ลูกผู้หญิงย่อมจะเป็นที่ดึงดูดพวกหนุ่ม  ๆ  ให้มาเยี่ยมบ้าน  ที่เรียกว่า  บันไดบ้านไม่มีวันแห้งเลย  ส่วนลูกผู้ชายมักจะไปเทียวสาว  หรือไปเที่ยวบ้านที่มีลูกสาว  ดังนั้นเมื่อลูกผู้ชายไปเที่ยวบ้านสาวเสียแล้ว  จึงไม่มีหมาเห่า
สุภาษิตภาคเหนือที่บ่งบอกเกี่ยวกับประเพณีของบาวสาวนั้น  ประเพณีชาวเหนือโบราณ  เขาจะมีพิธี  ฮู้สาว  หรือ  แอ๋วสาว”  โดยใช้คำ  ผญา  (ปรัชญา)  โต้ตอบกันดังต่อไปนี้
ชาย  ขอนั่งหน่อยเตอะ
หญิง  นั่งเตอะ  นั่งเตอะ  นั่งเมอะอิงกั๋น  ไผหันจ้างมัน  หลางได้  (ยินดีต้อนรับ)  คือมีความหมาว่า  นั่งเถอะ  นั่งเถอะ  นั่งเอาหลังพิงกัน  ใครเห็นช่างมันประไร
ในกรณีที่ฝ่ายหญิงสาวไม่ยินดีต้อนรับ  อาจจะเป็นเพราะว่า มีคู่หมั้นแล้วก็จะพูดออกมาว่า  นั่งเตอะ  นั่งเตอะ  บ่ใจ้ตี้ไผ  ตี้หัวขั้นได  ตี้อยู่หมาโก้ง  มีความหมายว่า  นั่งเถอะ  นั่งเถอะ  ไม่ใช่ที่ของใคร  ที่หัวบันได  ที่อยู่ไอ้อ่างมัน
ในกรณีที่ชะชมเชยบ้านและคนในบ้านหนึ่งว่าเป้นคนดีมีเมตตาอารี  ก็จะใช้คำว่า  บ้าน..นี้  บ้านจุ่มบ้านเย็น  บ้านเห็นบะกิ๋นไก๋  มีความหมายว่า  บ้านหลังนี้  บ้านชุ่ม  บ้านเย็น  แม่แต่อีเก็น  (ชะมด)  เคยเป็นอริกันกับไก่แท้ ๆ  ก็ไม่กินไก่  (บ้านจุ่ม บ้านที่ชุ่มชื่น  เห็น ชะมด  บะกิ๋นไก่ ไม่กินไก่)  แต่สำนวนอีกอีสานบอกไว้ว่า
บ้าน...  นี้  ดินดำน้ำชุ่ม  ปากุ่มบ้อนคือแข่แก่วงหาง  ปานางบ้อนคือขางฟ้าลั่น  จักจั่นฮ้องคือฆ้องลั่นยาม ...  มีความหมายว่า  ดินดำ ดำที่มีปุ๋ยดี  ปานาง ปลาเนื้อนาง  น้ำชุ่ม น้ำชุ่มชื่น,  ขางฟ้าลั่น ฟ้าคำราม  ปากุ่ม ปลาเทโพ  จักจั่น จักกะจั่น  แข่ จระเข้า  ฆ้องลั่นยาม ฆ้องที่พระสงฆ์ตีสัญญาณเวลาทำวัตร เช้า เย็น
ในกรณีที่เจ้าของบ้านถูกชม  แต่ไม่ยอมรับคำชมนั้น  เพราะว่าถ่อมตนตามนิสัยชนบทก็จะตอบว่า  บะใจ้  บ้านนี้บ้านฮ้อน  บ้านไหม้  บ้านใกล้ตำวัน  มีความหมายว่า  ไม่ใช่ ...  บ้านนี้บ้านร้อนบ้านไหม้  บ้านใกล้ดวงอาทิตย์
มีสำนวนหนึ่งสำหรับการแบ่งวัยของคนเหนือและชาวอีสาน  จะมีแบ่งสำนวนคล้าย ๆ  กัน  ดังสำนวนชาวทั้ง  ๒  ภาค  มีความดังต่อไปนี้
               ภาคเหนือ                          ภาคอีสาน
      สิบบี๋อาบน้ำบ่หนาว                        สิบปีอาบน้ำบ่อหนาว
      ซาวปี๋หยอกสาวบ่ก้อย                     ซาวปี้เล่นสาวบ่เบื่อ
      สามสิบปี๋บ่หน่ายสงสาร                             สามสิบปีฮู้เมื่อก่อนไก
      สี่สิบปีเยี้ยะการเหมือนฟ้าผ่า             สี่สิบปีสองแขนไขว่ฮำเพิง
      ห้าสิบปี๋สาวน้อยด่าบ่ผิดใจ๋                ห้าสิบปีไปบ่เหิงทอดหุ่ย
      หกสิบปี๋ไอเหมือนฟานโขก                หกสิบปีเป่าขุยบ่ดัง
      เจ็บสิบปี๋มะโหกเต็มตัว                    เจ็บสิบปีเนื้อหนังเป็นลำฮวก
      แปดสิบปี๋ไค่หัวเหมือนไห้                  แปดสิบปีหนักหนวกมาหู
      เก้าสิบปี๋ไข้ก็ตายบ่ไข้ก็ตาย                เก้าสิบปีลูกหลานดูนั่งให้
                                                               ร้อยปีไข่บ่ไข่ก็ตาย
และที่กล่าวมานี้เป็นสุภาษิตภาคเหนือซึ่งบางสุภาษิตบางหัวข้อมีความคล้ายกับสุภาษิตของภาคอีสานเหมือนกัน  อาจจะเป็นเพราะว่ามาจากบรรพบุรุษที่เดียวกันก็ได้

สุภาษิตและคำพังเพยภาคกลาง
คำสุภาษิต  พังเพยและคติสอนใจภาคกลาง
กรวดน้ำคว่ำขัน               ความหมาย  ไม่เกี่ยวข้องด้วย  ตัดขาดจากกัน
เข็นครกขึ้นภูเขา              ความหมาย  ทำงานที่ยากเกินความสามารถของตน
กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง        ความหมาย  รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทำไม่รู้
เกลือเป็นหนอน                         ความหมาย  พวกเดียวกันคิดคดทรยศ
ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่                 ความหมาย  ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน
ข่มเขาโคขืนให้กลืนหญ้า     ความหมาย  บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ
ขายผ้าเอาหน้ารอด           ความหมาย  ยอมเสียสละแม้แต่ของจำเป็นที่ตนมีอยู่เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้
เข้าตามตรอกออกตามประตู         ความหมาย  ทำตามธรรมเนียมประเพณี
เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม  ความหมาย  ประพฤติตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
คนในข้องอในกระดูก         ความหมาย  มีสันดานคดโกง
ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก    ความหมาย  ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่
งมเข็มในมหาสมุทร          ความหมาย  ทำกิจที่สำเร็จได้ยาก
โง่แล้วอยากนอนเตียง        ความหมาย  ไปทำในสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เข้าใจ
จับปลาสองมือ                 ความหมาย  ใจรวนเรไม่แน่นอน  ในที่สุดพลาดหมด
จอดรอให้ดูฝั่ง จะนั่งให้ดูพื้น ความหมาย  ทำกิจใดๆ  ควรไตร่ตรองให้รอบคอบก่อน
ฉลาดแกมโกง        ความหมาย  ทำเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทน
ชักแม่น้ำทั้งห้า       ความหมาย  พูดจาหว่านล้อมด้วยคำยกยอ  เพื่อขอรับสิ่งที่ประสงค์
ชี้โพรงให้กระรอก   ความหมาย  การชี้ช่องให้คนทำผิด
ซื้อวัวหน้านา  ซื้อผ้าหน้าหนาว  ความหมาย  ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา  ย่อมได้รับความเดือดร้อน
เด็ดบัวไม่เหลือใย    ความหมาย  ตัดญาติขาดมิตรโดยเด็ดขาด
ได้ทีขี่แพะไล่         ความหมาย  เห็นผู้อื่นพลาดท่ามักซ้ำเติมทันที
ได้แกงลืมน้ำพริก    ความหมาย  ได้ใหม่ลืมเก่า
ตกกระไดพลอยโจน           ความหมาย  จำเป็นที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลือก
ตำข้าวสารกรอกหม้อ        ความหมาย  ทำเพื่อให้เสร็จไปชั่วครั้งหนึ่ง
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ      ความหมาย  เสียทรัพย์ไปโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร
ตีงูให้กากิน           ความหมาย  ทำสิ่งที่ตนควรจะได้รับประโยชน์แต่กลับไม่ได้
ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น                   ความหมาย  ประหยัดในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด
ไถนาดอน  สอนคนแก่       ความหมาย  กระทำในสิ่งซึ่งหวังผลจะให้สมบูรณ์ได้ยาก
ทำนาบนหลังคน     ความหาย  หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น
นอนสูงให้นอนค่ำ    ความหมาย  รู้จักที่ต่ำที่สูง,  ดูแลผู้ด้วยโอกาส,
นอนต่ำให้นอนหงาย                   รู้การทำที่พอเหมาะพอควร
น้ำมาปลากินมด  น้ำลดมดกินปลา  ความหมาย  ทีใครทีมัน
บัวไม่ให้ช้ำ  น้ำไม่ให้ขุ่น     ความหมาย  รู้จักถนอมน้ำใจ, รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน
ไปตายเอาดาบหน้า ความหมาย  ยอมไปเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากข้างหน้า
ผีบ้านไม่ดี  ผีป่าก็พลอย                   ความหมาย  คนในบ้านเป็นใจให้คนนอกมาทำความเสียหายได้
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม     ความหมาย  เพียรพยายามจนกว่าจะสำเร็จผล
ไม้ซีกงัดไม้ซุง         ความหมาย  ผู้น้อยไม่ควรขัดแย้งกับผู้ใหญ่,  กำลังน้อยไม่ควรทำการใหญ่
รักดีหามจั่ว  รักชั่วหามเสา  ความหมาย  ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ  ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก
รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง       ความหมาย  ทำผิดแล้วไม่ยอมรับผิดกลับยกโทษให้ผู้อื่น
ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก    ความหมาย  ดีแต่พูด
ลางเนื้อชอบลางยา           ความหมาย  ของสิ่งเดียวกันคนหนึ่งชอบอีกคนหนึ่งไม่ชอบ
วัวใครก็เข้าคอกคนนั้น       ความหมาย  กรรมที่ผู้ใดทำไว้ย่อมส่งผลให้แก่ผู้นั้น
เศรษฐียังขาดไฟ     ความหมาย  ทุกคนย่อมมีความผิดพลาดได้เสมอเสียน้อย
เสียน้อยเสียยาก  เสียมากเสียง่าย  ความหมาย  ถึงคาวก็ควรเสียอย่างลังเลใจ
หน้าสิ่งหน้าขวาน    ความหมาย  อยู่ในระยะอันตรายเพราะอีกฝ่ายหนึ่งกำลังโกรธ
เห็นช้างขี้  ขี้ตามช้าง                   ความหมาย  ทำเลียนแบบคนมั่งมี  ทั้ง  ๆ ที่ตนไม่มีทรัพย์และความสามารถพอ
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน  ความหมาย  อดใจไว้ก่อน  เพราะหวังสิ่งที่ดีกว่า  ข้างหน้า
เอาพิมเสนไปแลกเกลือ ความหมาย  ลดตัวลงไปแลกกับคนที่มีฐานะต่ำกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น