หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จุดมุ่งหมายของสังคมวิทยา


วิชาสังคมวิทยา
        วิชาสังคมวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ
·       การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของมนุษย์กับสังคม
·       โดยมีการสนใจพฤติกรรมทางสังคมทุกด้าน

จุดมุ่งหมายของสังคมวิทยา
           -การอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมเพื่อเข้าใจ  “ธรรมชาติของมนุษย์
            -ใช้หลักวิทยาศาสตร์ค้นหาความจริง

ประโยชน์
·       เข้าใจมนุษย์ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม
·       เข้าใจ  สังคม

สังคมวิทยาศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมซึ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยมีสิ่งที่ทำหน้าที่ในการกำหนดความสัมพันธ์ของมนุษย์ ดังนี้   
                1. สถานภาพ  เป็นตำแหน่งที่ได้จากการเป็นสมาชิกของกลุ่ม ประกอบด้วย
                - สิทธิ
                - หน้าที่
                - สิ่งเฉพาะบุคคล
                - กำหนดความแตกต่างของสมาชิกในสังคม    
                                    เช่น  สถานภาพนิสิต , อาจารย์
                                    - สถานภาพอาจจะติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หรือ ได้มาโดยความสามารถ
                            2. บทบาทเป็นการปฏิบัติตามสถานภาพในสังคม
                                     เช่น   สถานภาพนิสิต มีบทบาทเรียนหนังสือ
                                          
                                   โครงสร้างของสังคม
                                โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วย
1. สถานภาพและบทบาทของบุคคลในสังคม
2. สถาบันทางสังคม
                 องค์ประกอบของสถาบันทางสังคม
1. สถานที่ หรือองค์การ
2. บุคคล
3. ระเบียบข้อบังคับ
          สถาบันทางสังคมหลัก 7 สถาบัน ได้แก่
          1. ครอบครัว
          2. การศึกษา
          3. ศาสนา
          4. เศรษฐกิจ
          5. การเมืองการปกครอง
          6. นันทนาการ
          7. สื่อสารมวลชน
          การจัดระเบียบทางสังค
การทำให้คนในสังคมอยู่รวมกัน อย่างมีระเบียบ ภายใต้แบบแผนกฎเกณฑ์เดียวกัน 
               สิ่งที่ใชัในการจัดระเบียบในสังคม ได้แก่
1. ค่านิยม  
- รูปแบบความคิดติดอยู่ในใจ คนส่วนใหญ ่                               
 - เป็นแนวทางปฏิบัติ   ประกอบด้วยค่านิยม
                                     .บุคคล
                                     .สังคม
2. บรรทัดฐาน  
คือ รูปแบบพฤติกรรมที่สังคมวางไว้ เพื่อกำหนดแนวทางให้บุคคลปฏิบัติ 3 ประเภท ได้แก่
          2.1 วิถีประชา ( Folkways ) : วิถีชาวบ้าน
- ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินชีวิต 
          2.2 จารีต ( Mores ): กฎศีลธรรม
สำคัญกว่าวิถีประชา ใครฝ่าฝืนมีความชั่ว และ ได้รับโทษ
          2.3 กฎหมาย ( laws ) :
- บทบัญญัติ ถ้าละเมิดมีบทลงโทษ

                     หน้าที่ของสังคม
1. การรักษาความต่อเนื่องด้านชีวภาพของสมาชิกในสังคม
 2. การขัดเกลา อบรม สั่งสอนสมาชิก (Socialization )
 3. การติดต่อสื่อสาร
          4. ด้านเศรษฐกิจ
          5. จัดระเบียบ + รักษาความสงบ
          6. ผดุงขวัญและให้กำลังใจสมาชิก

            ปัจจัยที่ทำให้สังคมแตกต่างกัน
          1. ภูมิศาสตร์
          2. ชีวภาพ
          3. สังคมและวัฒนธรรม
             วัฒนธรรม
          -เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ในอาณาบริเวณหนึ่ง
          -เป็นพฤติกรรมไม่ใช่พันธุกรรม
                    *จะต้องมีการเรียนรู้
          -สืบทอดกันต่อไป
                     *โดยอาศัยมนุษย์
                     *ใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อ
           ลักษณะร่วมของวัฒนธรรม
                1. จะต้องเรียนรู้
                2. มรดกทางสังคม
                3. เปลี่ยนแปลงได้
                4. มีจุดจบ / ตาย เช่น อาณาจักรต่างๆ
          องค์ประกอบของวัฒนธรรม
          1. องค์มติ                  ซึ่งเป็นแนวความคิดร่วม
          2. องค์พิธีการ
          3. องค์การ           
          4. องค์วัตถุ
           หน้าที่ของวัฒนธรรม
          1. สร้างมนุษย์  โดยทำหน้าที่กำหนดเป้าหมาย
          2. ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์          
           สถาบันสังคมไทย
          1. สถาบันครอบครัว
          2. สถาบันการศึกษา
          3. ศาสนา
          4. การเมืองและการปกครอง
          . นิติบัญญัติ                    . บริหาร                 . ตุลาการ , ศาล
          5. นันทนาการ
          6. เศรษฐกิจ
          การแบ่งชั้นในสังคมไทย
        การแบ่งชั้นในสังคมไทย จำแนกโดยใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้
          1.วงศ์ตระกูล
          2. ทรัพย์สมบัติ / รายได้
                 3. อาชีพ
                 4. การศึกษา
                 5. ภูมิลำเนาที่พัก



พัฒนาการของสังคมวิทยา
·       สังคมวิทยาพัฒนาขึ้นมาเป็นสาขาหนึ่งแยกจากปรัชญาสังคมกลางศตวรรษที่19
        โดยเกิดขึ้นในยุโรป       เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงมากมายจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

นักสังคมวิทยาที่สำคัญ

·                     ออกุสต์  คองต์ ( Auguste Comte )  1798-1857
-          ตั้งชื่อสังคมวิทยา ( Sociology )

·                     เฮอร์เบิร์ต  สเปนเซอร์ ( Herbert Spencer )  1820-1903
-          นำวิธีการทางชีววิทยาอธิบายสังคม

·                     คาร์ล  มาร์กซ์ ( Karl Marx )  1818-1883
-          พื้นฐานทางเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
-          สังคมมีความขัดแย้ง  ต้องเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ

·                     อีมิล  เดอร์กไฮม์  ( Emile  Durkheim )  1858-1917
-          สมาชิกในสังคมอยู่เป็นระเบียบได้  :  ความเชื่อ+ค่านิยมร่วมกัน  เป็นระเบียบของสังคม
-          ส่วนต่างๆของสังคม  มีหน้าที่ ( function ) ต่อการดำรงอยู่ของสังคมโดยส่วนรวม
        -      การฆ่าตัวตายของคนกลุ่มต่างๆขึ้นกับพลังทางสังคม

·                     แมกซ์  เวเบอร์ ( Max  Weber )  1864-1920
-          ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของบุคคล
-          ความคิด ( Idea )  เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง


ทฤษฏีหลักของสังคมวิทยา

1.      ทฤษฏีหน้าที่ ( Functionalism )
                    การพิจารณาส่วนต่างๆของสังคมแต่ละส่วน  เช่น  ครอบครัว  ศาสนา  การเมือง  โดยศึกษาถึงหน้าที่ของส่วนต่างๆมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเป็นสังคมทั้งหมดอย่างไร
2.      ทฤษฏีความขัดแย้ง (Conflict  Theory )
-          สังคมประกอบด้วยสมาชิกที่แบ่งแยกออกเป็นชนชั้นต่างๆ
-       มีความสัมพันธ์ในลักษณะการถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยมีผู้ที่เอารัดเอาเปรียบและผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
-          สังคมเป็นระบบที่มีความขัดแย้งตลอดเวลา
3.      ทฤษฏีการกระทำตอบโต้ ( Interactionism )
-          ความสัมพันธ์ต่อกันของคนในสังคมเป็นกระบวนการตอบโต้ซึ่งกันและกัน
-          มีความผันแปรอยู่เสมอตามสถานการณ์
-          บุคคลเป็นผู้สร้าง  หรือ  กำหนดการกระทำ  ไม่ใช่ถูกกำหนดโดยโครงสร้างทางสังคม


สังคมวิทยาในศตวรรษที่  19  :  ยุโรป
-          สนใจศึกษาสังคมใหญ่ทั้งสังคม
-          เพื่อเข้าใจระเบียบกฎเกณฑ์ + การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
-          เสนอทฤษฏีกว้างๆ
สังคมวิทยาในศตวรรษที่  20  :  สหรัฐอเมริกา
-          สนใจศึกษาปัญหาสังคมเฉพาะด้าน
-          สนปัญหาในทางปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า


ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมวิทยา                           สังคมไทย

1.โครงสร้างทางสังคม
-          ธรรมชาติมนุษย์  รวมกลุ่ม + ความสัมพันธ์
        สังคมไทยมีการรวมกลุ่มกันของหลายชนชั้นในอดีต มีความสัมพันธ์แบบเป็นกันเอง มีความเป็นอยู่ที่มีการเกื้อกูลกัน
2.เศรษฐกิจ
       -      วัตถุ           เกิดชนชั้น
            ระบบเศรษฐกิจของไทย ก่อให้เกิดความต้องการทางด้านวัตถุและชนชั้นมาเป็นเวลานาน ดังจะเห็นได้จากระบบขุนมูลนาย ระบบไพร่ทาส ในอดีต และระบบทุนนิยมในปัจจุบันที่ก่อให้ค่านิยมในด้านวัตถุ การให้ความสำคัญและเคารพนับถือผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
3.ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ
           สังคมไทยในอดีตมีความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ สังคมไทยในอดีตจึงมีการใช้ชีวิตที่กลมกลืนกับธรรมชาติมากกว่าการเอาชนะธรรมชาติ
              -  ซึ่งความเชื่อของคนไทยได้แสดงออกในด้านศาสนาและไสยศาสตร์หรือพิธีกรรมควบคู่กันไป
                                 เป็นสิ่งที่ควบคุมมนุษย์ให้อยู่ร่วมกัน และเป็นที่มาของอำนาจ   โดยมีการกำหนดเป็นบรรทัดฐานร่วมกันจากความเชื่อในธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้  อาทิ
                        ครอบครัว                          :               ผีเรือน
                                -  ชุมชน,หมู่บ้าน                 :               เสื้อบ้าน,หลักบ้าน
                                -  รัฐ                                       :               กษัตริย์ ( เทวราช,สมมติราช )

ลักษณะสังคมไทยในอดีต
1.      เชื่อในสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ  ความผูกพันในชีวิตและวัฒนธรรมคนไทย
-  ดินฟ้าอากาศควบคุมไม่ได้
-  ธรรมชาติมีจิตวิญญาณให้คุณให้โทษ
-  ประชากรหลายเผ่าพันธุ์         นำไปสู่การบูรณาการทางวัฒนธรรม
           
    2.  การปกครอง หรือ ประชาธิปไตย
                        -  ผู้นำ  ผู้ปกครอง         มีบุญ
                                                                  ยอมรับข้อขัดแย้ง  ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
                                                                    นอกจากนี้ยังนำไปสู่  ระบบอุปถัมภ์ ในปัจจุบัน
   ลักษณะสำคัญของสังคมและวัฒนธรรมไทย
                  เอกลักษณ์ไทย
                 1. ยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์
                 2. สังคมพุทธ           โดยแฝงความเชื่อวิญญาณ
                                           +   ลัทธิพราหมณ์     
                 3.  ยึดครอบครัว + เครือญาติ
                 4. สังคมเสรี          มีน้ำใจ            สนุกสบาย
                          คนไทย  = ผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่      เสรี
                                    + ไม่เป็นรองใคร
                 5. พื้นฐานเศรษฐกิจ เกษตรกรรม
                 6. ยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถ
                 7. ความงดงามอ่อนช้อยของศิลปะไทย
                 8. เมืองหลวง    เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม ความรุ่งเรือง  นำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ
                        
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
                         สาเหตุ                     . ในระบบ               .นอกระบบ
                  การเปลี่ยนแปลงสังคมวัฒนธรรมไทย
                              การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมไทย ประกอบด้วย
                                         . ขนาดกลุ่มคน             
                                        . โครงสร้างสังคม           
                                        .  วัฒนธรรม  +  พฤติกรรม
 
         การเปรียบเทียบค่านิยมไทย และ ตะวันตก
                        ดั้งเดิมไทย                         ตะวันตก
                1.นับถือบุคคล                      1.นับถือหลักการ
                2. นิยมความสนุกสนาน               2.นิยมทำงานหนัก
                3.ใช้จ่ายทรัพย์ปัจจุบัน                 3. ออมทรัพย์เพื่อลงทุน
                4. ทำบุญให้ทาน                      4.ไม่นิยมให้ + ขอ
                5.นิยมทางสายกลาง                    5.ความรุนแรง + เข้มงวด
                6.ถือตนเองเป็นสำคัญ                   6.ถือกฎหมาย +ระเบียบ


การยอมรับแนวคิดของตะวันตก  (.. 2505 )
-          การเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ทันสมัย (แผนพัฒนาเศรษฐกิจ  สมัยจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชน์)
       กระตุ้นให้เกิดความต้องการด้านวัตถุ
-          อิทธิพลของการศึกษามีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์
                                  ควบคุมสภาพแวดล้อม + จักรวาลด้วยเทคโนโลยี
                                  เกิดความขัดแย้งความเชื่อทางศาสนา + การทำตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติ +                  
                                  จักรวาลหายไป

วิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีครอบงำประเทศ
1.       ช่องว่างการแย่งทรัพยากรระหว่างกลุ่มบุคคล
2.       การทำลายสภาพแวดล้อม + ระบบนิเวศน์
3.       การโยกย้ายถิ่นฐาน
4.       การฆ่าตัวเองทางวัฒนธรรม

เดิม
โครงสร้างสังคม
ใหม่
โครงสร้างทางสังคม
-          ความสัมพันธ์พี่น้อง  เครือญาติ  มิตร
-          เคารพผู้อาวุโส
-          เป็นกันเองอย่างเสมอภาค
-          ความสัมพันธ์ความแตกต่าง ชนชั้นสูง-ต่ำ
พิจารณาจากฐานะทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
-          ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่มั่งคั่ง และมีอำนาจกับผู้ที่ต้องพึ่งพาอาศัย


                        5.  เกิดกลุ่มผลประโยชน์ที่ขัดแย้ง ซึ่งยุติโดยวิถีทางการเมือง
                        6.       การบิดเบือนกฎหมายบ้านเมืองขาดความเป็นธรรม
            สังคมที่ละเมิด  ท้าทายกฏหมาย
7.       ปัจเจกบุคคลสุดโต่ง  ค่านิยมทางวัตถุ
8.       คุณค่าในความเป็นมนุษย์น้อยลง
9.       ความเชื่อในทางศาสนา คุณธรรม  ศีลธรรมหมดไป หรือลดน้อยลง
                  พฤติกรรมเบี่ยงเบน + อาชญากรรมมากขึ้น
                  ขัดแย้ง  คนรวย  อำนาจมาก มีทัศนคติที่จะต้องเป็นผู้ที่ได้เสมอ
                                       ในขณะที่คนจน  ไม่ยอมรับความจน  ต่ำต้อยอีกต่อไป โดยอาจหันไปกระทำผิดเพื่อเป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น ตามค่านิยมของสังคมที่ให้ความสำคัญต่อวัตถุนิยม
10.    คนในสังคมถูกหล่อหลอมจากลัทธิความเชื่อทุนนิยมเสรี
               
                                 ปัญหาสังคมไทย
จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมไทย อาทิ การเน้นการพัฒนาประเทศโดยดังได้กล่าวข้างต้น  โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม และการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ตลอดจนการรับแนวคิด ค่านิยมของตะวันตก โดยไม่ได้มีการปรับให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยอย่างแท้จริง ก่อให้ประเทศไทยต้องประสบปัญหาสังคมมากมาย ดังนี้
                        1.การเปลี่ยนแลงทางเทคโนโลยี +  สังคม ก่อให้เกิดปัญหาการปรับตัว
                        ภาวะความแปลกแยก         
                        . สิ้นหวัง         
                         .  สังคมที่เต็มไปด้วยคนที่มีกิเลส และความต้องการด้านวัตถุ
                         . ความเหลื่อมล้ำที่ไม่เท่าเทียมกันและความยากจน
                        . ปัญหาคุณภาพชีวิต
                        . การอพยพย้ายถิ่นของคน จากชนบทมาสู่สังคมเมือง
                        . ปัญหาการว่างงาน
                        . ปัญหาการเพิ่มของประชากร
                        . สภาวะแวดล้อมเสื่อมโทรม
                        . อุบัติเหตุ อุบัติภัย
                        . ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง
                        . ชุมชนแออัด
                        . ความไม่เป็นระเบียบของสังคม
                        . ปัญหาโสเภณี
                        . ปัญหายาเสพติด
                        . วิกฤตนักโทษล้นคุก
                        .  ปัญหาการขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ
                        .  ปัญหาศีลธรรม
                        .  ปัญหาเศรษฐกิจ
                        .  ปัญหาสุขภาพอนามัย
                             เช่น เอดส์
                        . ปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบน และปัญหาอาชญากรรม
              ปัญหาดังกล่าวข้างต้นล้วนแล้วแต่ทำให้สังคมขาดความเป็นระเบียบ คนในสังคมขาดความสุขในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง
             สรุปได้ว่า สังคมวิทยา พฤติกรรมเบี่ยงเบนและอาชญากรรม จึงมีความสัมพันธ์กัน
.     สังคมวิทยา ศึกษาสังคม และพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมที่อยู่ร่วมกัน โดยมีบรรทัดฐานในการกำหนดการปฏิบัติ หรือพฤติกรรมของคนในสังคม ซึ่งหากมีสมาชิกในสังคมมีการละเมิดบรรทัดฐาน พฤติกรรมดังกล่าว เรียกว่า พฤติกรรมเบี่ยงเบน ซึ่งจะมีลักษณะของการละเมิดบรรทัดฐานเพียงเล็กน้อยไม่มีความรุนแรง ไปจนกระทั่งการละเมิดกฎหมาย ซึ่งเรียกว่า อาชญากรรม ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะทำให้สังคมขาดความเป็นระเบียบนำไปสู่ปัญหาต่างๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของสังคม
        เอกสารอ้างอิง
    จำนงค์  อดิวัฒนสิทธิ์และคณะ. สังคมวิทยา.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์           ราชวิทยาลัย,            2532.
นิธิ เอียวศรีวงศ์ และคณะ. มองอนาคตบทวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางสังคมไทย. กรุงเพมหานคร:บริษัทอัมรินทร์        พรินติ้งกรุ๊ปจำกัด,2536.
สุพัตรา สุภาพ.  สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด,2540

*********************

                     
 พฤติกรรมเบี่ยงเบน
ความหมายของพฤติกรรมเบี่ยงเบน
สำหรับความหมายของพฤติกรรมเบี่ยงเบน อาจมีการให้ความหมายที่แตกต่างกัน อาทิ
·         พฤติกรรมที่แตกต่างไปจากพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ในสังคม
·         พฤติกรรมที่แตกต่าง หรือเป็นพฤติกรรมที่ละเมิดบรรทัดฐานของสังคมที่ได้กำหนดไว้
·         พฤติกรรมที่คนในสังคมเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

  1 ). Bicsanz and bicsanz
พฤติกรรม หรือความประพฤติที่ขัดแย้งกับบรรทัดฐานของกลุ่ม
หรือสังคมส่วนรวมซึ่งหากมีการฝ่าฝืนบรรทัดฐานดังกล่าวจะได้รับการลงโทษ
         
         2 ). ดร.เสริน ปุณณะหิตานนท์

1. การไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐาน / กฏเกณฑ์ที่ถือปฏิบัติ
   2. ความประพฤติที่คนในกลุ่มหนึ่ง พิจารณาว่าน่าอาย/บาดหูบาดตา ต้องการจัดการผู้กระทำผิดมาลงโทษ
   3. พฤติกรรมที่คนบางพวกในสังคมหนึ่ง ๆ เห็นว่าเป็นการกระทำที่ผิด น่ารังเกียจ หรือบาดหูบาดตา/ และเป็นการกระตุ้นหรือเร้า (หรือจะกระตุ้นถ้ามีคนพบเห็นเข้า) ให้คนเหล่านั้นแสดงความไม่พอใจ โกรธ เกลียด ประนาม หรือ ต้องการลงโทษผู้กระทำ
     อย่างไรก็ตาม สำหรับความหมายของพฤติกรรมเบี่ยงเบนตามความหมายของทฤษฎีหลักทางสังคมวิทยา สามารถอธิบายได้ 3 ความหมายคือ

1. ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ Structural-Functional  Analysis
 พฤติกรรมเบี่ยงเบน คือ พฤติกรรมที่เป็นการละเมิดบรรทัดฐานของสังคม อันทำให้สังคมเสียระเบียบ โครงสร้างหน้าที่ต่าง ๆ ในสังคมไม่สามารถกระทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ อันอาจนำไปสู่ปัญหาในสังคมต่อไป

โดยมีนักสังคมวิทยาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีนี้ ได้แก่

Emile Durkheim
     เห็นว่าพฤติกรรมเบี่ยงเบนไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเพียงด้านเดียว หากแต่ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมด้วย ดังนี้
1.      เกี่ยวข้องกับค่านิยม  วัฒนธรรม  และบรรทัดฐาน  ทำให้คนในสังคมเห็นคุณค่าบรรทัดฐาน
2.       กำหนดด้วยศีลธรรม
3.       ทำให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวของสังคม
4.       นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในสังคม

Kai  Erikson  : 
-          พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่เปลี่ยนแปลง  =  สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
-          คนในสังคมเป็นคนกำหนดพฤติกรรมเบี่ยงเบน

Merton’ Strain  Theory
-          พฤติกรรมเบี่ยงเบน  เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความกดดันในการดำเนินชีวิต  ไปสู่เป้าหมายในชีวิตที่สังคมกำหนดค่านิยมไว้
-          ความขัดแย้งระหว่าง


เป้าหมาย    +    วิถีทาง




          Anomie
 
                                           
                                                                         
                                                              

                                                             พฤติกรรมเบี่ยงเบน

-          พฤติกรรมเบี่ยงเบนจำนวนเท่าใดเกิดจากความกดดัน
-          คนป่วยทางจิต , เพศ อธิบายไม่ได้
-          ความกดดันเกิดจากเหตุผลมากมาย
-          ค่านิยม  ความสำเร็จแต่ละสังคมต่างกัน

Deviant  Subcultures  :  Richard  Cloward, Lloy  Ohlin
-          พฤติกรรมเบี่ยงเบนไม่ได้เกิดจากการขาดโอกาส
-          เกิดจากวัฒนธรรมรองที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม

Albert  Cohen
-          วัฒนธรรมรองก่อให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนมักจะเกิดในชนชั้นล่าง

Walter Miller
-          ค่านิยมที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนไม่ได้เกิดจากการต่อต้านวิถีชีวิตของชนชั้นกลาง
-          แต่เกิดจากประสบการณ์ที่ด้อยโอกาสในสังคม
-          วัฒนธรรมรองที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเบี่ยงเบน ได้แก่
touble, toughness,smartness,excitement,fate,autonomy
ข้อจำกัดของ Structural-Functional Analysis
1.      การกำหนดขอบเขตของพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากบรรทัดฐานสังคม(Norms)เท่านั้น โดยการกำหนดว่าสังคมมีเพียงบรรทัดฐานเดียวในการกำหนดความประพฤติ
2.      สมมติฐานที่ว่าพฤติกรรมเบี่ยงเบนเกิดขึ้นใน กลุ่มคนยากจนเป็นจุดอ่อนของทฤษฎีวัฒนธรรมรอง
3.      ผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นผู้ละเมิดบรรทัดฐานของสังคมอาจไม่ครอบคลุมพฤติกรรมเบี่ยงเบนทั้งหมด

2. ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ Symbolic-Interaction  Analysis
     พฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นกระบวนการทางสังคม กล่าวคือ เป็นพฤติกรรมที่คนในสังคมร่วมกันกำหนดว่าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน โดยมีการตีตราคนในสังคมที่มีพฤติกรรมดังกล่าว  และสังคมมีกระบวนการตอบโต้ต่อผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าว
-          พฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นกระบวนการทางสังคม  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ
ทฤษฏีตีตรา Labeling Theory
-          เป็นพฤติกรรมจากการกระทำ + สังคมมีปฏิกริยาโต้ตอบ,กำหนด

นักสังคมวิทยาที่มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีนี้ ได้แก่

Edwin  Lemert :
-          primary  deviant
พฤติกรรมที่แสดงออกขั้นต้น  (ไม่ตั้งใจ)
-          secondary  deviant
พฤติกรรมเบี่ยงเบนขั้นสูง  โดยมีการยอมรับพฤติกรรมเบี่ยงเบนดังกล่าว ตลอดจนการคบหาสมาคมกับคนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน

Erving  Goffman  :  stigma
-  secondary  deviant      จะมีการพัฒนาเป็น    deviant  career
ขึ้นอยู่กับความถี่ในการได้รับ ตราบาป”  ตีตรา
-  เปลี่ยนทัศนะคติ

จุดอ่อนของ Symbolic-Interaction Analysis
1.      ทำไมสังคมจึงกำหนดพฤติกรรมบางอย่างเบี่ยงเบน และบางอย่างไม่เบี่ยงเบน
2.      ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการมองพฤติกรรมการกระทำ เป็นหลัก แต่มองพฤติกรรมที่คนในสังคมกำหนดใน การรับรู้ต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบน
3.      สมมติฐานที่ว่าทุกคนในสังคมต่อต้านพฤติกรรมเบี่ยงเบน
4.      การขาดผลการวิจัยพฤติกรรมการตอบโต้ของคนในสังคม ต่อผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน


3.ทฤษฎีความขัดแย้งทางสังคม Social  Conflict  Analysis
     พฤติกรรมเบี่ยงเบน คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมอันเนื่องมาจากความขัดแย้งในสังคม โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างชนชั้นทางสังคม  พฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นพฤติกรรมที่ถูกกำหนดจากผู้ที่มีอำนาจ หรือมีสถานภาพทางสังคมสูง
Deviant + Power
คนมีอำนาจน้อย     คือ           ผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน
1.  บรรทัดฐานกำหนดจากผู้มีอำนาจในสังคม  มีผลต่อผู้มีสถานภาพต่ำ
2.  ถ้าผู้มีอำนาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  จะใช้อำนาจตีตราผู้อื่น
3.   กฎหมาย + บรรทัดฐานไม่เคยยุติธรรม
-  การกำหนดพฤติกรรมเบี่ยงเบนโดย
-  เจ้าของทุน                                         -  ผู้ว่าจ้างแรงงาน
-  ผู้มีอำนาจ                                           -  ชนชั้นสูง

จุดอ่อนของ Social-Conflict Analysis
1.      ให้ความสำคัญกับอำนาจและความไม่เท่าเทียมกันในสังคมเท่านั้น
            -ไม่สามารถอธิบายได้ว่าพฤติกรรมเบี่ยงเบนกำหนดขึ้นมาได้อย่างไรและมีการควบคุมอย่างไร
2. สมมติฐานที่ว่าคนรวยและมีอำนาจเป็นผู้สร้างและควบคุมบรรทัดฐาน
            นำไปสู่ความสงสัยต่อกระบวนการทางการเมือง เพราะในความเป็นจริงการเมืองของหลายประเทศมาจากระบอบประชาธิปไตย ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นผู้มีส่วนร่วมทางการเมือง
3. สรุปความเสียหายระหว่างอาชญากรรมคอปกขาว มีความเสียหายมากกว่าอาชญากรรมทั่วไปมาก
4. ความไม่เท่าเทียมเท่านั้นที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน
    หากแต่ในสังคมพฤติกรรมเบี่ยงเบนมีหลายประเภทแตกต่างกันไป



พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคมศาสตร์
        พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางด้านสังคมศาสตร์ สามารถสรุปได้ตามทฤษฎีหลักทางด้านสังคมศาสตร์ ดังนี้
1.      พฤติกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการละเมิดบรรทัดฐาน(Norms)
            :Structural-Functional Analysis
2.      พฤติกรรมที่ขึ้นอยู่กับบุคคลในสังคมเป็นผู้กำหนด เป็นการตีตราการกระทำของคนในสังคม
            : Symbolic-Interaction Analysis
3.  บรรทัดฐานและพฤติกรรมที่สังคมกำหนด     มีความสำคัญกับอำนาจทางสังคม(Social power)
            :Social-Conflict Analysis


           สรุป : พฤติกรรมเบี่ยงเบน คือ

·                     พฤติกรรมที่มีความขัดแย้ง หรือ แตกต่างไปจากบรรทัดฐานในสังคม
·                     โดยกลุ่มคนในสังคมเห็นว่าผิด หรือแตกต่างจากคนทั่วไป
·                     โดยมีรูปแบบของพฤติกรรมที่แตกต่างจากกลุ่มคนส่วนใหญ่
*เพียงเล็กน้อยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม
*จนกระทั่งพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมส่วนรวมอย่างรุนแรง
·                     ผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนได้รับโทษ
-ไม่เป็นทางการ โดยได้รับโทษเล็กน้อย
-เป็นทางการ   โดยได้รับโทษทางกฎหมาย

             
ประเภทของพฤติกรรมเบี่ยงเบน
                                                       - Bicsanz and Bicsanz
                            ได้แบ่งพฤติกรรมเบี่ยงเบนไว้ดังนี้
1.    ความประพฤติไม่เหมาะสม ( Improper )
2.    การเป็นปรปักษ์ต่อผู้อื่น ( amtisocial behavior )
3.    ทำลายตัวเอง (Self destructive )
4.    ละเมิดกฎศีลธรรม ( Immoral )
5.    ทำลายสังคม ( Destructive to the society )
6.    ความผิดปกติของร่างกาย

- ดร.จำนง  อภิวัฒนสิทธิ์ และคณะ      
                         ได้แบ่งพฤติกรรมเบี่ยงเบนไว้ดังนี้                            
1.การกระทำเบี่ยงเบน ( deviant acts ) เช่น การฆ่าตัวตาย การก่ออาชญากรรม 
2.นิสัยเบี่ยงเบน ( deviant habits ) เช่น เหล้า การพนัน
3.จิตเบี่ยงเบน ( deviant psychology )
4.วัฒนธรรมเบี่ยงเบน ( deviant culture ) เช่น ฮิปปี้

                               - Clinard       
ได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมเบี่ยงเบนไว้ดังนี้    
1.    อาชญากรรมและการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน
2.    พฤติกรรมรักร่วมเพศ
3.    โสเภณี . เด็ก .ผู้ชาย
4.    การติดยาเสพติด
5.    การติดสุราเรื้อรัง
6.    ความผิดปกติทางจิต
7.    การฆ่าตัวตาย
8.    ความขัดแย้งในบทบาทของภาวะครอบครัว
9.    ความขัดแย้งในบทบาทและฐานะวัยชรา
10. ความมีอคติต่อชนกลุ่มน้อย

             ลักษณะบางประการของพฤติกรรมเบี่ยงเบน
             1. พฤติกรรมธรรมดาและ มีทุกสังคม
             2. เกณฑ์การตัดสินพฤติกรรมเบี่ยงเบน
o    ขึ้นกับบรรทัดฐาน ค่านิยม แต่ละสังคม
o    ขึ้นกับกาลเวลา
o    ขึ้นกับสถานการณ์
            3.บางสังคมมองว่าเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน บางสังคมมองว่าเป็นพฤติกรรมปกติ
            4.พฤติกรรมเบี่ยงเบนแต่ละประเภท
                รุนแรงไม่เท่ากัน + โทษไม่เท่ากัน
            5.พฤติกรรมเบี่ยงเบนบางอย่างเป็นปัญหาสังคม
            6.การเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน
                ไม่ตั้งใจ : เจตนา
            7.พฤติกรรมเบี่ยงเบนถ้าไม่มีใครรู้เห็นไม่รู้สึกว่ากำลังมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน
                        Ex. ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร
            8.ทุกคนเคยมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน
            9.พฤติกรรมเบี่ยงเบนบางอย่างอาจได้รับการยอมรับ/ปฏิบัติแพร่หลายในเวลาต่อมา
            10.พฤติกรรมเบี่ยงเบนก่อให้เกิด
                    โทษ , ผลเสีย : ประโยชน์ , ผลดี
            11.มักมีการรวมกลุ่มของผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนเดียวกัน
            12.ความเปลี่ยนแปลงบางประการซึ่งนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคม
                    Ex. การปฎิวัติ



ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเบี่ยงเบนและพฤติกรรมอาชญากร
                       
                        * พฤติกรรมเบี่ยงเบน
                           - คนในสังคมกำหนด  มีบทลงโทษ
                          - ไม่เป็นทางการ และ เป็นทางการ

                         * พฤติกรรมอาชญากร 
                         - คนในสังคมกำหนด โดยมีบทลงโทษ
                                      * ที่บัญญัติไว้ใน เป็นทางการ
                                      * กฎหมายอาญาบ้านเมือง
                                      * เป็นลายลักษณ์อักษร
                          - ไม่เป็นทางการ และ เป็นทางการ


****
                 




                                                                        
                                        
                 
ความหมายของทฤษฎีสังคมวิทยา
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2536 : 2) อธิบายว่า ทฤษฎีสังคมวิทยา คือ ทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคม กล่าวคือ เป็นคำอธิบาย การเกิดขึ้น การดำรงอยู่ ลักษณะการเปลี่ยนแปลง และการเสื่อมสลายไปของความสัมพันธ์ทางสังคม ตลอดจนการอธิบายปรากฎการณ์ทางสังคม เช่น ครอบครัวแตกแยก การแข่งขันระหว่างกลุ่มสังคม พฤติกรรมทางสังคม ปัญหาสังคม ด้วยความสัมพันธ์ทางสังคม
นักสังคมวิทยาส่วนใหญ่จะมีกรอบแนวคิดพื้นฐานที่ใช้ในการอธิบายสังคม หรือมองสังคม (Image of society) 3ทฤษฎีหลัก ดังนี้
1. ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-functional theory)
2. ทฤษฎีการขัดแย้ง (Conflict theory)
3. ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic interaction theory)



                         
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น