หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จิตวิทยาพุทธศาสนา,แนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยาศาสนา,



จิตวิทยาพุทธศาสนา

ความเป็นมาของวิชาจิตวิทยาศาสนา

          วิชาจิตวิทยาศาสนา เป็นศาสตร์ผสมผสานระหว่างศาสนศึกษากับจิตวิทยา เป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากความก้าวหน้าวิทยาการทางสังคมศาสตร์  ตั้งแต่ปลายคริสตวรรษที่ 19 อันเป็นช่วงที่การศึกษาศาสนาด้วยวิธีการทางสังคมวิทยา  และจิตวิทยาแผนใหม่ของศาสนศึกษามีความตื่นตัวอย่างแพร่หลาย  เช่น ทฤษฎีการกำเนิดศาสนาและศาสนาปฐมบรรพ์ของเอมีล  เดอร์ไคมน์  (Emile  Durkheim  :  1858-1917 นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสบทวิเคราะห์ทางศาสนาของแมกซ์  วีเบอร์ (max  Weber : 1864-1920)   บาทหลวงนักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาชาวเยอรมัน บทวิเคราะห์กำเนิดของศาสนาโดยฟรอยด์ (Sigmund freud : 1856-1939)  นักจิตวิทยาต้นตำรับจิตวอทยาวิเคราะห์ชาวออสเตรีย  การวิเคราะห์จิตสำนึกทางศาสนาของคาร์ล  กุสตาฟ  ยุง (Carl Gustav Jung :1875-1961) และการวิเคราะห์ประสบการณ์ศาสนาแบบต่าง ๆ ของมนุษย์โดยวิลเลี่ยม  เจมส์ (William James : 1842-1910 )  นักจิตวิทยาของสหรัฐอเมริกา
          ความก้าวหน้าทางจิตวิทยาและสังคมวิทยา  มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการศึกษาศาสนาไปสู่วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์  มีการค้นคว้าวิจัย  มีกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่แจ่มชัดขึ้นและทันต่อวิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงทางค่านิยม  ศรัทธาศาสนาในสังคม ทำให้การศึกษาศาสนาน่าสนใจยิ่งขึ้น
          ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า  ศาสนามีอิทธิพลต่อมนุษย์มาก พฤติกรรมทางศาสนาเป็นองค์ประกอบภายในโครงสร้างบุคคลิกภาพที่สามารถกำหนดรูปแบบแนวทางการแสดงออกต่าง ๆ ของมนุษย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่แสดงออกในเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อถือ  ความศรัทธา  ค่านิยมต่าง ๆ อันเป็นวิถีชีวิตที่มนุษย์ยึดถือปฏิบัติอยู่ในสังคม  สิ่งเหล่านี้มีบทบาทต่อการแสดงออกที่เป็นปฏิกิริยาสนองตอบให้เกิดการสร้างสรรค์อื่น ๆ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ  และสังคม อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
          การศึกษาทางจิตวิทยาศาสนามีเป้าหมายที่จะศึกษาถึงสภาวะต่าง ๆ ทางศาสนาที่ปรากฏอยู่ในชีวิตจิตใจของมนุษย์  โดยเจาะลึกเข้าไปในโครงสร้างและองค์ประกอบภายในบุคลิกภาพและพฤติกรรมของมนุษย์  ได้แก่ อารมณ์  ความรู้สึกนึกคิด  สติปัญญา  จิตสำนึก  จิตไร้สำนึก  ประสบการณ์ทางศาสนา  ตลอดจนถึงลักษณะการแสดงออกเชิงปฏิกิริยาของมนุษย์ที่สนองตอบต่อธรรมชาติต่อสิ่งแวดล้อมรอบด้าน  รงมทั้งสภาวะชีวิตที่มนุษย์ต้องมีชีวิตเผชิญอยู่เสมอ  เช่นการเกิดแก่เจ็บตาย ความไม่แน่นอนของโชคชะตา  ซึ่งมักปรากฏออกมาในรูปแบบของความเชื่อทางศาสนาเป็นต้น
                   คำว่าศาสนาหรือ religion  มีความหมายในแนวกว้าง ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1.      การประกอบพิธีกรรม
2.      กลุ่มชนที่มีความเชื่อถือและปฏิบัติอย่างเดียวกัน
3.      แนวคำสอนหรือความเชื่อที่แสดงให้ทราบเป็นระบบหรือลัทธิ

แนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยาศาสนา

          แนวความคิดทางจิตวิทยาพัฒนามาจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องของจิต กับร่างกาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตมนุษย์  ความเชื่อนี้มีรากฐานมาจากปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ในกลุ่มปรัชญาเมธีชาวกรีก เช่น โสเครติส (Socrates : 469-399 ก่อนคริสตกาลเพลโต้ (Plato : 429-347 ก่อนคริสตกาลและอริสโตเติล  (Aristotle : 384-322  ก่อนคริสตกาลซึ่งพยายามศึกษาหาคำอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาแก่นแท้ภายในชีวิตมนุษย์ที่เรียกว่าจิตหรือวิญญาณ  ซึ่งในระยะต่อมาได้มีการศึกษาเกี่ยวกับจิตและกายจำแนกได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ  2 กลุ่ม  คือ
-          กลุ่มเอกนิยม  ได้อธิบายไว้เป็น  2  แนวคือ
          1. จิตกับกายเป็นรูปลักษณะสองอย่างของสิ่ง ๆ  เดียวกัน  ชีวิตของมนุษย์จึงแสดงออกเป็น  2 แบบ คือ เป็นลักษณะทางจิตใจแบบหนึ่ง และเป็นลักษณะทางร่างกายอีกแบบหนึ่ง ทั้งสองลักษณะนั้นเป็นแก่นแท้ของชีวิต ๆ  หนึ่ง  แต่กลุ่มนี้ก็ไม่สามารถ  ชี้ให้ทราบแน่ชัดว่า อะไรคือแก่นแท้ของจิต  ผู้นำแนวความคิดนี้คือ สปินโนซา  (Spinoza : 1632-1677) ปรัชญาเมธีชาวดัชท์เชื้อสายยิว
          2. กระบวนการทางจิตเป็นกระบวนการเดียวกับกระบวนการทางร่างกาย ผู้นำแนวคิดนี้ คือ เจ.ซี สมาร์ท  (J.c. Smart : ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ปรัชญาเมธีชาวอเมริกัน  และเฮอร์เบิร์ต  ไฟเกิล  (Herbert  Feigl : ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่) ปรัชญาเมธีชาวเยอรมัน
                   กลุ่มทวินิยม  อธิบายไว้ในแนวกว้าง ๆ ว่าจิตกับกายเป็นเนื้อแท้ 2 อย่างแยกต่างหากจากกัน  มีแนวความคิดเป็น  3  แนวคือ
          1. แนวที่ 1 จิตกับกายเป็น ๒ สิ่ง ที่มีหน้าที่กิจกรรมแตกต่างกันไป แต่ทั้ง 2 สิ่งนี้ต่างมีอิทธิพลต่อกัน  จิตมีอิทธิพลต่อกาย  เช่น เมื่อจิตตั้งความคิด หรือเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง  ก็จะมีผลดลให้กายมีการปฏิบัติหรือมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับความคิดหรือเจตนาภายในจิตใจด้วย  ในทำนองกลับกัน  สภาพร่างกายก็มีอิทธิพลต่อสภาพทางจิตใจด้วย เช่น เมื่อร่างกายขาดน้ำ  จิตใจก็จะเกิดความรู้สึกอยากและกระหายน้ำด้วย  จนกว่าทั้งร่างกายและจิตใจจะได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ขาดแคลนในทางที่สอดคล้องกัน จึงจะบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ แนวความคิดนี้มีปัญหาหนึ่งที่ตอบไม่ได้คือ บริเวณใดของร่างกายที่เป็นจุดศูนย์กลางประสานงานระหว่างจิตกับร่างกาย ปรัชญาเมธีชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง ชื่อ เรอเน่ เซ์การ์ตส์ (Rene  Descartes : 1596-1650) ได้ให้ข้อคาดคะเนว่า ศูนย์ประสานงานของจิตกับกายอยู่ที่ต่อมไพเนียล[Pineal  gland] บริเวณสมอง  แต่ก็ไม่มีข้อพิสูจน์ที่สามารถยืนยันได้แน่นอนมาจนปัจจุบันนี้
2. แนวที่ 2 อธิบายไว้ว่า จิตกับกายเป็น 2 สิ่งที่แตกต่างกัน และไม่มีอิทธิพลต่อกันกิจกรรมของจิตและกายมีลักษณะเป็นเส้นขนานที่ต่างฝ่ายต่างก็กำเนินงานไปตามหน้าที่  กายไม่มีอิทธิพลต่อจิตและจิตไม่มีอิทธิพลต่อกาย  ผูนำในแนวความคิดนี้ คือ ไลบ์นิตส์ [Gottfried  W.Leibniz : 1646-1716] ซึ่งอธิบายว่า สิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ต่างมีสารัตถะเฉพาะตัว  เรียกว่า  โมนาด  จิตและกาย เป็นโมนาดต่างชนิด โมนาดของสิ่งเดียวกันจะดำเนินไปตามวิถีทางเดียวกันไม่ปะปนกัน  ดังเช่นที่ความเป็นไปของร่างกายดำเนินไปโดยไม่เกี่ยวข้องก้าวก่ายกับความเป็นไปของจิต
3. แนวที่ 3 อธิบายว่า จิตกับกายเป็น  2 สิ่งที่มีความแตกต่างกันไปแม้ว่าจิตจะไม่มี อิทธิพลต่อกายแต่กายก็มีอิทธิพลต่อจิต  กายเปรียบเสมือนตัวคนและจิตเปรียบเสมือนเงา  เมื่อตัวคนเคลื่อนไหวเงาก็เคลื่อนไหวด้วย  สภาพทางจิตจึงเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการทางกายภาพ  แต่กลุ่มนี้ไม่สามารถอธิบายให้ชัดเจนว่า กระบวนการทางกายภาพมีผลให้เกิดกระบวนการทางจิตอย่างไร  ผู้ให้แนวคิดนี้  คือปรัชญาเมธีและนักชีววิทยาชาวอังกฤษ  ชื่อ ฮักเลย์ (Huxley : 1825-1895) แนวความคิดนี้สอดคล้องกับความเชื่อของนักชีววิทยาในสมัยนั้นว่า เมื่อหน่วยเล็ก ๆ ของสิ่งมีชีวิตรวมตัวเป็นโครงสร้างซับซ้อนมากถึงขีดหนึ่งก็จะมีสิ่งใหม่และกระบวนการใหม่เกิดขึ้น  เช่นระบบประสาทที่สลับซับซ้อนทำให้เกิดจิตขึ้น     
          นักจิตวิทยาที่พยายามหันมาศึกษาวิเคราะห์ศาสนาในระยะต่อมา คือ  การอธิบายศาสนาแบบจิตวิเคราะห์  ซึ่งเป็นการศึกษาปรากฏการณ์ศาสนาในปัจเจกบุคคล  อันเชื่อว่าศาสนาเป็นผลของการแสดงออกของปัจจัยทางจิตวิทยาและชีววิทยา ซึ่งอยู่นอกเหนือกลไกการควบคุมของระบบแห่งเหตุผลของมนุษย์ซึ่งเป็นแนวการวิเคราะห์ศาสนาของฟรอยด์และยุง
          ฟรอยด์ได้พยายามศึกษารากฐานศาสนาในมนุษย์โดยการวิเคราะห์เข้าไปใน จิตไร้สำนึกและอธิบายว่า การที่มนุษย์เรามีศาสนานั้นอาจเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะตอบสนองความปรารถนาหรือความต้องการในส่วนลึกของจิตไร้สำนึกที่ถูกเก็บกดหรือจำกัดไว้จึงเกิดการแสดงออกในรูปของอาการทางจิตใจ  ศาสนายังเป็นผลที่เกิดขึ้นจากความต้องการระดับดั้งเดิม และปมชีวิตด้วย เช่นปมเกี่ยวกับบิดา (Oedipus  complax)  ฟรอยด์เห็นว่ารากฐานของทุกศาสนาเกิดมาจากปมเกี่ยวกับบิดา  จะเห็นได้จากความเชื่อเรื่องพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดที่มีลักษณะจินตนาการเป็นภาพพจน์ของพ่อ
          ทฤษฎีทางศาสนาต่อมาคือทฤษฎีว่าด้วยความขัดแย้งภายในจิต  อธิบายโดย  Flugel  (1945)  นักจิตวิทยาศาสนาชาวอังกฤษ  เป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากฟรอยด์และจิตวิเคราะห์  โดยอธิบายว่า ความขัดแย้งภายในระหว่างซูเปอร์อีโก้ (super-ego) ซึ่งเป็นจิตสำนึกทางมโนธรรมกับอิด (id) ซึ่งเป็นความต้องการระดับดั้งเดิมที่เกิดขึ้นภายในบุคคล  ทำให้บุคคลต้องหากระบวนการลดความขัดแย้งในรูปแบบทางศาสนา  ด้วยเหตุนี้เองทำให้เกิดความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าแห่งความดี  อสูรแห่งความชั่วขึ้น  พระเจ้า(god) เป็นผลผลิตของซูเปอร์อีโก้  และอสูรหรือซาตาน(the Devil) เป็นผลผลิตจากความรู้สึกภายในอิด  ความเชื่อทางศาสนาเป็นสิ่งที่ช่วยลดหรือบรรเทาความผิดบาป พิธีกรรมทางศาสนาเช่น พิธีสารภาพบาป  การล้างบาป การบูชายัญ และพิธีปฏิบัติเพื่อทำให้เกิดความบริสุทธิ์ของชีวิตภายใน  เป็นการชำระล้างความขัดแย้งภายในจิตใจอย่างสิ้นเชิง 
          การอธิบายศาสนาเชิงจิตวิทยอีกแนวหนึ่งที่น่าสนใจ  คือการศึกษาวิเคราะห์ประสบการณ์ทางศาสนาของวิลเลี่ยม  เจมส์  เจมส์ให้คำอธิบายไว้ว่า ศาสนา หมายถึงความรู้สึก (feelings) การกระทำ (acts) และประสบการณ์ (experiences)  ของแต่ละบุคคลที่เกิดขึ้นได้เมื่อมีความวิเวก และเกิดความรู้แจ้งหรือเข้าถึงภาวะพิเศษหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (the  divine) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับนั้นหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นอาจจะปรากฏให้เห็นทางศีลธรรม  ทางสรีรวิสัย และทางพิธีกรรม  แนวทางนี้มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการวิจัยศาสนา  โดยนำกระบวนการวิจัยทางจิตวิทยามาใช้เป็นเครื่องมือศึกษาวิเคราะห์ศาสนาในระยะต่อมา
          ปัจจัยทางจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลังทัศนคติ  ความศรัทธา  เชื่อถือทางศาสนา  นอกเหนือจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น ครอบครัว  มิตรสหาย  สื่อสารมวลชนต่าง ๆ ได้แก่ พื้นฐานทางจิตใจของบุคคล  เช่นการลดความวิตกกังวลภายในจิตใจ  ความรู้สึกหวาดหวั่น  ในทางจิตวิทยาเห็นว่าความวิตกกังวลคือแหล่งรวมของความบีบคั้นในชีวิต  ความวิตกกังวลในภาวะที่ไม่แน่นอนของชีวิตยังผลให้มนุษย์หาทางรอดจากความกดดันด้วยการเข้าหาแนวปฏิบัติทางศาสนา  มารับความเชื่อถือศรัทธาทางศาสนาเป็นคำตอบและทางแก้ไขปัญหา  การที่มนุษย์มีความวิตกกังวลในความไม่แน่นอนในชีวิต  และมีความกลัวตาย  ภาวะการสูญเสียสิ่งหรือบุคคลอันเป็นที่รัก  ความเสี่ยงเหล่านี้มีอัตราสูงทุกขณะลมหายใจ ยิ่งบุคคลกลัวสิ่งเหล่านี้มากจิตใจเขาก็จะมีแนวโน้มสูงที่จะศรัทธา  และยอมรับความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตาย  หรือความเชื่อเรื่อบงเวียนว่ายตายเกิด ชาตินี้ชาติหน้า  เป็นการชดเชยให้กับความวิตกกังวล  เป็นการปรับตัวหาทางผ่อนคลายและหาสิ่งชดเชยให้กับชีวิต
          ความขัดแย้งภายใจจิตใจ (internal  conflict) เป็นภาวะที่ทำให้มนุษย์เกิดความคับข้องใจ  ไม่ีความสุข  แต่เนื่องจากชีวิตของบุคคลแวดล้อมอยู่ด้วยสังคม  กฎเกณฑ์ค่านิยม  จึงมีทั้งส่วนที่เราสามารถกระทำไปตามความพอใจของตนเองในขอบเขตของข้อกำหนดทางสังคม ด้วยเหตุนี้บางครั้งความรู้สึก  ความต้องากรที่จะกระทำเกิดไปขัดแย้งภายในจิตใจได้ คือ
1. ความรู้สึกสำนึกผิดหรือบาป ที่ตนก่อขึ้นทางกาย วาจา ใจ  ความรู้สึกประเภทนี้เกิดขึ้นและหายไปด้วยอาศัยความเชื่อทางศาสนา  หรือพิธีกรรมทางศาสนา เป็นการช่วยเปลี่ยนแปลงจากบาปเป็นบุญ ทุกข์เป็นสุข  ความรู้สึกและความต้องการศาสนาในแง่นี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
2. ความขัดแย้งระหว่าง อัตตา”  กับ สำนึกทางมโนธรรม”  เป็นผลที่เกิดขึ้นจากความต้อง
การของตนเอง ขัดแย้งกับความต้องการตามมติของสังคม  ทำให้เกิดความสำนึกในอัตตา (ego) เกิดความขัดแย้งกับสำนึกทางคุณธรรม (super  ego) ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มักเกิดขึ้นในกลุ่มของผู้ที่ได้รับ
การอบรมเลี้ยงดูภายใต้ความเคร่งครัดทางศาสนาว่าเป็นข้อกำหนดที่ตายตัว  แต่เมื่อใช้ข้อกำหนดของศาสนาเป็นเครื่องตัดสิน  หรือตอบปัญหาที่เกิดขึ้น  ผลที่ได้รับ คือความสบายใจ  ความผ่อนปรนทางใจว่าตนไม่ได้ก่อบาป  รู้สึกได้รับการยกย่องในใจว่าตนเป็นคนดี มีศีลธรรม  เป็นสัตบุรุษ  ยังผลให้บุคคลนั้นมีปฏิกิริยาตอบสนองในทางบวก จะทำให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขในสังคม
          3.  พระเจ้า คือ การสร้างมโนภาพของผู้คุ้มครองป้องกันดุจบิดามารดา  ทฤษดีนี้เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความนึกคิดเกี่ยวกับพระเจ้ากับความสำนึกเกี่ยวกับบิดามารดา  จิตวิทยาศาสนาแนวนี้อธิบายว่าจินตนภาพเกี่ยวกับพระเจ้าเป็นผลผลิตมาจากความคิดรวบยอดเกี่ยวกับบิดามารดา  เป็นซูเปอร์อีโก้ ที่แอบแฝงอยู่ในจิตใจของมนุษย์  ในเรื่องนี้ฟรอยด์อธิบายว่า  มนุษย์สร้างภาพลักษณ์ (image)  พระเจ้าตามแบบฉบับภาพบักษณ์ของบิดามารดาเพื่อชดเชยความรู้สึกขาดความอบอุ่นและความรู้สึกต้องการผู้ปกป้องคุ้ภัยที่มีอำนาจเหนือโลกวิสัย  ดังที่ปรากฏความเชื่อเกี่ยวกับพ่อซื้อ-แม่ซื้อ หรือเทพบิดร เทพมารดร  ประจำตัวของเด็กแรกเกิด
          ธัมมนิยามคือกฎธรรมชาติที่มีความเป็นสากลที่ครอบงำรูปและนาม    ให้มีสภาพเป็นไปตามกฎของธรรมชาตินั่นได้แก่   สามัญญลักษณะคือลักษณะที่เป็นไปเหมือนๆกันของสิ่งทั้งหลายที่ย่อมมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่หรือดำรงสภาพหนึ่งอยู่ในชั้วระยะเวลาหนึ่ง  เเล้วก็เเปรแปลี่ยนไปหรือสลายไปตามกาลเวลาภายใต้ลักษณะสากล 3 ประการ เรียกว่า ไตรลักษณะคือ  อนิจจลักษณะ  ทุกขลักษณะ  และอนัตตลักษณะ  ชึ่งทุกชีวิตที่มีร่างกายและจิตใจต่างก็ตกอยู่ในกฎธรรมชาตินี้  ส่วนนิพพานมีลักษณะเดียว คือ อนัตตลักษณะ  อนิจจลักษณะ  คือสภาวะของความไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่สามารถดำรงสภาพเดิมให้คงทนอยู่ได้นานถาวร  ทุกขลักษณะ  คือลักษณะโดยธรรมชาติที่สิ่งทั้งหลายที่เป็นสังขตธรรมจะต้องมีการเสื่อมการดับสลาย    อนัตตลักษณะ  คือลักษณะที่ไม่มีความเป็นตัวตนได้อย่างถาวรของสิ่งที่เป็นสังขตธรรมเรียกว่าอนัตา
            วิเสสลักษณะ  หมายถึงลักษณะเฉพาะตัวที่ทำให้สังขตธรรมนั้นมีเอกลักษณ์ที่ปรากฎและกิจกรรมที่แสดงออกเป็นลักษณะของสิ่งนั้นเอง  ประกอบด้วย ลักษณะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ กิจรส หมายถึงกิจกรรมที่เป็นกิริยาล้วนๆวิเสสลักษณะที่สาม  คือปัจจุปัฏฐานคืออาการที่ปรากฎของสังขตธรรมนั้นที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมตามหน้าที่คือเหตุใกล้ที่ทำให้เกิดการประชุมพร้อมกันของเหตุปัจจัยที่เหมาะสมจนเกิดสิ่งนั้นขั้น
          ปรมัตถธรรม  คือหลักความจริงที่ไม่มีการผันแปรเปลื่ยนแปลงไม่ใช่สิ่งที่สมมุติขึ้นหรือตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกขานไปตามความนิยมเฉพาะหมู่เหล่า    แต่เป็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้วเช่นนั้น   ปรมัตถธรรมมี  ประการคือจิต  เจตสิก  รูป  และนิพาน    อันเป็นเนื้อหาสารัตถะสำคัญของจิตวิทยาพุทธศาสนา  จิตคือธรรมชาติที่รู้อารมณ์เจตสิกคือธรรมชาติที่ประกอบจิต   รูปคือธรรมชาติที่ตั้งอยู่ไม่ได้นานต้องแตกสลายไป  และนิพพานคือธรรมชาติที่สิ้นทุกข์แล้ว  ดังนั้นการศึกษาเรื่องจิตและกายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์  เป็นที่น่าสังเกตว่าพุทธศาสนาให้ความสำคัญแก่จิตมาก  เพราะจิตมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์  การกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นผลสะท้อนของการทำงานร่วมกันระหว่างจิตและร่างกาย  หากมองในแง่กฏแห่งกรรมแ้วอาจกล่าวได้ว่าจิตมีบทบาทในการสืบต่อวัฏจักรแห่งกรรมหรือพฤติกรรมของมนุษย์มากที่สุด  ด้วยเหตุนี้เองปรมัตถธรรมจึงเป็นความรู้เรื่องธรรมชาติของจิตที่ช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ดีขึ้น เนื่องจากจิตมีปัญญาเป็นส่วนประกอบอันสำคัญยิ่งที่สามาถรจะพัฒนาพร้อมกับจิตจนนำชีวิตไปสู่ภาวะที่ดีและการพ้นทุกข์ตามแนวอริยมรรคได้  ความรู้ดังกล่าวนำไปสู่การรู้แจ้งเรื่องนิพพานด้วย
          บัญญัติธรรมจำแนกเป็นประเภทใหญ่ 2 หมวดคือ
          ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อัตถบัญญัติ คือภาษาที่บัญญัติขึ้นหรือสมมติชื่อ  ตั้งขึ้น เพื่อให้รู้เนื้อความชี้เฉพาะถึงรุปร่าง สัณฐาน หรือลักษณะของชื่อนั้น ๆ เช่น นก ทะเล บิน บัญญัติประเภทนี้เทียบเคียงได้กับสังกัป
          ปัญญาปนโตบัญญัติ  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สัททบัญญัติ  คือเสียง หรือถ้อยคำนำเนียงที่สื่อสารรับรู้ด้วยการใช้สุ้มเสียง  รู้ด้วยคำพูดที่หมายถึงอัตถบัญญัติหรือสังกัปนั้นแม้ในขณะทีพุดถึงโดยไม่มีสิ่งนั้นอยู่เบื้องหน้าก็สามารถสื่อสารให้รู้และเข้าใจกันได้ว่ามีรูปร่างลักษณะ สัณฐานหรืออาการกิริยาที่แสดงออกอย่างไร
1)     ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ  จำแนกได้ดังต่อไปนี้
(1)  ตัจจาบัญญัติ  คือการบัญญัติความนึกคิดและสังกัปเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปรมัตถสัจจะ หรือปรมัตถธรรม
                   (2)  อุปาทาบัญญัติ เป็นการบัญญัติเรียกสิ่งที่สืบเนื่องมาจากความนึกคิดหรือสังกัปโดยมีนัยยะที่เป็นปรมัตถ  (ultimate sense)
                 (3)  สมุหบัญญัติ  คือการบัญญัติ  สมมุติ  หรือตั้งชื่อเรียกสิ่งที่มีลักษณะของการรวมตัวหรือประชุมกันเป็นหมวดหมู่ กลุ่ม เช่น ชาวบ้าน  ประเทศ  จักรวาล ฯลฯ
                     (4)  สัณฐานบัญญัติ  คือการบัญญัติชื่อเรียกตามรูปทรงสัณฐานของวัตถุนั้น ๆ เช่น  ลำธาร  ภูเขา  ท้องฟ้า  ฯลฯ
                  (5)  ชาติบัญญัติ  เป็นการบัญญัติเรียกตามลักษณะกว้าง ๆ ตามจำพวก  ตระกูลหรือสกุลนั้น ๆ (genus,attrubutes)
                     (6)  ทิสาบัญญัติ  คือบัญญัติสังกัปเกี่ยวกับทิศทาง สถานที่  ท้องถิ่นที่ตั้ง ถิ่นฐาน (locality)
                     (7)   กาลาบัญญัติ  คือบัญญัติสังกัปของเวลา (time)
                     (8)   อากาสบัญญัติ  คือบัญญัติเกี่ยวระวางที่ หรือพื้นที่ (space)
                     (9)   นิมิตบัญญัติ  คือการบัญญัติสังกัปเกี่ยวกับแบบของมโนภาพที่มีอยู่แล้วในลักษณะที่เป็นการเปรียบเทียบความละมายคล้ายคลึงกัน  ที่เรียกว่าเป็นปฏิภาคต่อกัน  (ปฏิภาคนิมิตและยังมีความหมายถึงการบัญญัติสังกัปเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นมโนภาพที่เกิดขึ้นจากการเพ่งกสิณจนติดตาให้เกิดการเห็นทางใจโดยไม่ต้องมีรูปวัตถุ เรียกว่าอุคคหนิมิต  ซึ่งเป็นมโนภาพที่จำลองแบบมาจากบริกรรมนิมิต หรือมโนภาพ  (นิมิตที่เป็นต้นแบบ) เนื่องจากมโนภาพเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยเครื่องหมาย  จึงทำให้สังกัปที่เป็นปฏิภาคนิมิตนั้นโดยตัวของมันเองไม่อาจจะสำแดงตัวเป็นรูปภาพให้รู้สึกหรือจินตนาการได้  นิมิตหรือมโนภาพเหล่านี้อาจจะปรากฏในรูปจินตนาการของรูปพรรณสัณฐานว่า สวยงาม (สุภนิมิต) น่าเกลียด (อสุภนิมิตเป็นต้น
                     (10)   นัตถิภาวบัญญัติ  คือบัญญัติสังกัปของความไม่มีสภาวะ คำว่านัตถิ แปลว่า ไม่มี”  ( the concept of nothingness)
                      (11)   สันตติบัญญัติ  คือการบัญญัติสังกัปของสิ่งที่มีเอกลักษณ์เป็นความสืบต่อภาวะของสิ่งนั้นได้เรื่อย ๆ ตามธรรมชาติ (Continuity)
                      (12)   สังเกตบัญญัติ  คือบัญญัติเกี่ยวกับสัญญลักษณ์ที่นิยมใช้เพื่อชี้เฉพาะถึงสิ่งที่ต้องการกล่างถึง  (the idea of conventional signs)
                       อัตถบัญญัติที่กล่าวมานี้มิใช่สิ่งเป็นปรมัตถ  คือไม่ใช่ตัวที่แท้จริงของสิ่งที่กล่าวถึงหากแต่เป็นเพียงชื่อเรียกที่ตั้งขึ้นหรือสมมุติขึ้น  อัตถบัญญัติคือความคิดเกี่ยวกับสิ่งนั้น (สังกัป)ส่วนปรมัตถคือสิ่ง ๆ นั้น (things,or the Real)  ทั้งสองอย่างนี้ต่างก็มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันไกล้ชิดในรูปของชื่อเรียก  (นามความคิด  (สังกัปกับสิ่งที่ต้องการกล่าวถึง
          ปัญญาปนโตบัญญัติ
          หมายถึงคำพูดที่เรียกขานตามชื่อที่บัญญัติหรือตั้งไว้แต่เดิมแล้ว เพื่อให้เข้าใจและให้สามารถถ่ายทอดรับรู้ในมโนภาพของสิ่งที่ต้องการกล่าวถึง  ชื่อเหล่านั้นอาจเป็นชื่อเรียกใช้ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป  อาจเป็นชื่อที่นักปราชญ์หรือคนโบราณได้บัญญัติใช้เรียกมานานหรือเป็นคำที่นักปราชญ์ราชบัญฑิตได้พิจารณาสมมุติชื่อนั้นขึ้นมาใช้เป็นศัพท์บัญญัติ  ชื่อเหล่านั้นจึงปรากฏขึ้นมา  ดังนั้นสัททบัญญัติจึงขึ้นอยู่กับสำเนียงภาษาที่ใช้กำหนดเป็นถ้อยคำที่สามารถแสดงเนื้อความให้รู้และเข้าใจว่ากล่าวถึงอะไรในสุ้มเสียงที่แตกต่างกันไปมากมาย
          ปัญญาปนโตบัญญัติ  หรือสัททบัญญัติ  จำแนกได้เป็น 6 ประเภทคือ
          (1)  วิชามานบัญญัติ   เป็นคำพูดโดด ๆ คำเดียว และคำนั้นมีสภาวะปรมัตถปรากฏอยู่ เช่น คำว่า  รูป  จิต  เจตสิก  นิพพาน  เป็นต้น
            (2)  อวิชชมานบัญญัติ  เป็นคำพูดคำเดียวโดด ๆ แต่ไม่มีนัยยะของสภาวะปรมัตถ ปรากฏอยู่ เช่น  คำว่า  ตู้  โต๊ะ  ช้าง  ม้า  ภูเขา  เป็นต้น
             (3)  วิชชมาเนนอวิชชามานบัญญัติ  เป็นคำพูด  คำ คำแรกเป็นปรมัตถและคำหลังเป็นโลกโวหาร เช่น  เจตสิก  อินทรีย  และอภิญญา  เป็นคำที่มีความหมายเชิงปรมัตถปรากฏอยู่ ส่วนจำนวนเลขที่บอกข้างหลังคำเป็นโลกโวหาร  ดังนั้นคำดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ
             (4)  อวิชมาเนนวิชชมานบัญญัติ  เป็นคำพูด 2 คำที่คำแรกมีลักษณะเป็นโลกโวหาร คำหลังเป็นปรมัตถ เช่น สฬายตนะ  ปัญจทวาร  ปัญจพโล  เป็นต้น
          คำต้นที่บอกจำนวน สฬาย-6  ปัญจ-5 นั้น เป็นโลกโวหาร คือ อวิชชมาน  ส่วนคำหลังคืออายตนะ ทวาร พละ เป็นคำที่มีนัยยะเป็นปรมัตถและอยู่หลัง  จึงเป็นอวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ
          (5)  วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ  เป็นคำพูด  2  คำที่ต่างมีนัยยะเป็นปรมัตถทั้งคู่เช่น  มโนวิญญาณ  โสภณเจตสิก  นิโรธสมาบัติ  เป็นต้น
          (6)  อวิชชมาเนนนอวิชชมานบัญญัติ   คือคำพูด  2  คำที่ต่างมีลักษณะเป็นโลกโวหารทั้งคู่ เช่น สามีภรรยา บ้านเมือง ทรัพย์สิน  เป็นต้น
         


ปฏิจจสมุปปาท
          หลักแห่งเหตุและผลที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ชีวิตต้องดิ้นรนหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจ จนกลายเป็นวงจรชีวิตที่เกิดดับอยู่ไม่ขาดสาย คือวงจักรแห่งปฏิจจสมุปปาท
          ปฏิจจ แปลว่า อาศัย สํ แปลว่าพร้อม และอุปาท แปลว่า เกิด รวมความหมาย คือธรรม หรือปรากฏการณ์ที่อาศัยกันให้เกิดเป็นเหตุและผลต่อเนื่องกันไม่ขาดสายเป็นสังสารวัฏฏ์ สภาวะนี้ไม่มีใครมาบันดาลให้เกิดเขึ้นแต่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่ง เช่น สังสารของขันธ์ 5 ธาตุ และอายตนะที่มีกระแสการเกิดดับอยู่ไม่ขาดสายตราบเท่าที่ยังมีร่างกายและนามขันธ์ภาวะดังกล่าวทำให้ทุกชีวิตต้องตกอยู่ในสภาวะที่ไม่แน่นอน  เป็นทุกข์ มีความเสื่อม ความตาย
          ปฏิจจสมุปปาท อธิบายได้เป็นหลายนัยเช่น จำแนกได้ตามกาล คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต  จำแนกตามองค์ 12 ได้แก่อธิบายตามลำดับของเหตุปัจจัยตั้งแต่ อวิชชาจำแนกตามอาการของผลที่บังเกิดขึ้น จำแนกตามความสัมพันธ์ที่เป็นเงื่อนไขต่อกันตามวัฏฏะ จำแนกตามมูล  อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร  สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ  วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป  นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ อายตนะ 6เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ  ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา  เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา  ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน  อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ  ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ  ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรา  มรณะ
          1.อวิชชา  เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร  อวิชชาคือความไม่รู้อันเป็นลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์หรือตรงกันข้ามกับปัญญา เป็นภาวะแห่งโมหะ  ทำให้เกิดความหลงผิดเพราะมีโมหจริตมาบดบังให้มึดมนจนตกอยู่ภายใต้ความครอบงำของอาราณ์ที่หลงผิดที่มีอำนาจเหนืออารมณ์อื่นสรุปได้ว่า  อวิชชา หรือความไม่รู้ที่สำคัญยิ่งมี 8 ประการคือ
(1)   ไม่รู้ในอริยสัจ
(2)   ไม่รู้อดีต
(3)   ไม่รู้อนาคต
(4)   ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต
(5)   ไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรม  อวิชชาเป็นทุกข์สัจ เพราะเกิดพร้อมกับความทุกข์  เนื่องจากเป็นอารมณ์ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมาบดบังไม่ให้เห็นความทุกข์ มีผลให้ไม่เข้าใจและไม่เห็น
(6)   สมุทยสัจ 
(7)   นิโรธสัจ 
(8)   จนกระทั้งไม่ให้เห็นมัคคสัจ
2. สังขาร  เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ  สังขารนี้คือเจตนาในการกระทำซึ่งปรากฏหรือแสดงออกได้ 3 ทางคือ ทางกาย  เรียกว่ากายสังขาร  เป็นเจตนาที่ทำให้เกิดสภาพการแสดงออกทางกาย  ทางวาจา  เรียกว่าวจีสังขาร เป็นเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วปรุงแต่งให้เกิดอาการแสดงทางวาจา ทางใจ เรียกว่าจิตตสังขาร หมายถึงเจตนาที่ปรุงแต่งเป็นอาการทางจิตใจสังขารหรือเจตนามีคุณภาพแตกต่างเป็น 3 ลักษณะได้แก่  อปุญญาภิสังขาร เจตนาที่เป็นบาปเป็นอกุศลเจตนา เป็นภาวะที่ไม่ดี  บุญญาภิสังขาร เป็นเจตนาที่เป็นบุญ  เป็นกุศลเจตนาเป็นภาวะที่ดีได้จนถึงระดับโลกุตรกุศล อเนญชาภิสังขาร เป็นอุเบกขาเจตนา เป็นกุศลจิตชนิดที่ไม่หวั่นไหวไปในทางอกุศลอีก
          3. วิญญาณ  เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป  วิญญาณนี้มีลักษณะอาการคือการรับรู้อารมณ์ เป็นกระบวนการทางจิตทั้งหมดที่มีการสืบต่อจากภาวะเก่าไหสู่ภาวะใหม่ได้โดยมีสังขารหรือเจตนาเป็นเหตุใกล้ให้เกิด  โดยมีวัตถุที่มากระทบและอารมณ์มาประกอบกัน
          4. นามรูป  เป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ 6  นามรูปนี้คือรูปวัตถุส่วนที่เป็นปัจจัยแก่อายตนะภายใน 6  (สฬายตนะรูปที่เป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะภายใน 6 นี้เรียกว่า กัมมชรูปมีลักษณะที่สำคัญคือ มีการแตกดับไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบกัน  และแยกออกจากจิตได้ ได้แก่อวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นทวารติดต่อกับโลกภายนอก คือจักขุปสาท  (ตาโสตปสาท  (หูฆานปสาท  (จมูกชิวหาปสาท  (ลิ้นกายปสาท  (กาย) ซึ่งยังผลให้เกิดสฬายตนะอันเป็นกระบวนการทางจิตใจขึ้น
          5. อายตนะ 6  เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ อายตนะ  6  หรือสฬายตนะคืออายตนะภายใน  กระแสที่เป็นรากฐานของกระบวนการทางจิตอันมีนามรูปเป็นเหตุใกล้ให้เกิดอารมณ์ควาาสึกนึกคิดเวทนาต่าง ๆ อายตนะมีความหมายว่า  เป็นเครื่องต่อบ่อเกิดของจิตและองค์ประกอบของจิต (เจตสิก) ทำให้เกิดวิธีการทำงานของจิต  อายตนะภายในทั้ง  ในที่นี้คือ  จักขวายตนะ(ประสาทสัมผัสทางตา คือการเห็นโสตายตนะ (ประสาทสัมผัสทางหู  คือการได้ยินเสียงฆานยตนะ(ประสาทสัมผัสทางจมูก  คือการได้กลิ่นชิวหายตนะ (ประสาทสัมผัสทางลิ้น  คือการได้รู้รสกายายตนะ  (ประสาทสัมผัสทางกาย  คือการรับรู้ทางกายและมนายตนะ (วิถีจิตทางผัสสะเวทนาทั้งหมด)
          6. ผัสสะ  เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา  เมื่อมีสฬายตนะก็เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะขึ้น ผัสสะปรากฏขึ้นได้เพราะมีการกระทบระหว่างสิ่งต่าง ๆ ภายนอกกับอายตนะภายในที่ทำให้เกิดการยึดติดอยู่กับอารมณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เป็นนิจ  ได้แก่จักขุผัสสธ  (การกระทบอารมณ์ทางตาโสตสัมผัส  (การกระทบอารมณ์ทางหู) ฆานสัมผัส  (การกระทบอารมณ์ทางจมูกชิวหาสัมผัส  (การกระทบอารมณ์ทางลิ้นกายสัมผัส  (การกระทบอารมณ์ทางกายและมโนสัมผัส  (การแระทบอารมณ์ทางมนายตนะหรือทางจิตทั้งหมด) ทำให้เกิดเวทนาขึ้น
          7. เวทนา  เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา  เวทนาเกิดขึ้นจากผัสสะมีลักษณะของการกระทบทางอารมณ์ประสานกับการทำงานส่วนต่าง ๆ ของจิต  เป็นผลจากการประชุมร่วมกันระหว่างวัตถุที่มากระทบ อารมณ์ทางผัสสะ  และวิญญาณ เวทนาปรากฏได้ 6 ทางสอดคล้องกับการเกิดผัสสะและวิญญาณ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับการสัมผัส  มีอาการแสดงออกจำแนกตามคุณภาพของอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับการสัมผัส  มิอาการแสดงออกจำแนกตามคุณภาพของอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ดังนี้  สุขเวทนา  (ความสบายทางกายทุกขเวทนา  (ความไม่สบายทางกายโสมนัสเวทนา  (ความยินดีทางใจโทมนัสเวทนา  (ความทุกข์ทางใจอุเบกขาเวทนา  (ความรู้สึกปานกลางลักษณะทางอารมณ์ของเวทนาที่เกิดขึ้นนี้เองที่ทำให้ชีวิตมีความสุขหรือมีความทุกข์  เกิดการติดยึดถือในอารมณ์นั้น ๆ จนก่อตัวเป็นตัณหาขึ้น
          8. ตัณหา  เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน  ตัณหาค้อความยินดีติดใจใฝ่หาในอารมณ์ทั้ง  6  คือ รูปตัณหา (ติดใจยินดีในรูปารมณ์) สัททตัณหา (ติดใจยินดีในสัททตัณหา) คันธตัณหา (ติดใจยินดีในคันธารมณ์) รสตัณหา (ติดใจยินดีในรสารมณ์) โผฏฐัพพตัณหา (ติดใจยินดีในโผฏฐัพพารมณ์) ธัมมตัณหา (ติดใจยินดีในธัมมารมณ์) ตัณหาแสดงออกได้ 3 อาการ คือ
(1) กามตัณหา (ความติดใจในกามคุณ 5)
(2) ภวตัณหา (ความติดใจในภาวะวิสัย  ยึดถือในตัวตน  ยึดถือในสภาวะต่าง ๆ ว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้)
(3) วิภวตัณหา (ความติดยินดีในอารมณ์ทั้ง 6 และมีความยึดถือในความเห็นที่ว่าไม่มีภาวะใดจะเกี่ยวข้องเชิงเหตุผลถึงกัน  แม้แต่การยึดถือว่านิพพานมีตัวตนก็จัดอยู่ในวิภวตัณหา   ส่วนการติดในธรรมเช่นขณะที่กระทำสมถะวิปัสสนาเรียกว่า  ธัมมตัณหา  การที่มีภาวะแห่งการยึดถือติดใจในภาวะทางอารมณ์ที่เรียกว่าตัณหานี้เองจึงเป็นปัจจัยให้เกิดการก่อตัวของอุปาทานขี้น
           9. อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดภพ  อุปาทานมีลักษณะของความไม่อิ่มในอารมณ์ต่าง ๆ  อย่างรุนแรงมีความยินใฝ่หาในอารมณ์ในสภาพมากเกินไปจนเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ทั้งหลายโดยมีเวทนาเป็นเหตุใกล้ให้เกิดและเกิดร่วมกับตัณหาทำให้เกิดอาการโลภอยากได้ซึ่งสิ่งนั้น  อารมณ์นั้น
          10. ภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ  ภพหรือภาวะมี 2 ประเภทคือ  อุปัตติภพ  คือภาวะที่เป็นสาเหตุ  และกัมภพคือภาวะที่เป็นผล   มีทั้งในลักษณะที่เป็นกุศลและอกุศล   มีอุปาทานเป็นเหตุใกล้ให้เกิด    จำแนกได้ตามองค์ประกอบของรูปและนามขันธ์เป็นกามภพ   รูปภพและอรูปภพเป็นต้น 
             11. ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะ  ชาติคืออาการเกิดขึ้นของรูปขันธ์และนามขันธ์  มีสภาพที่เกิดขึ้นจากภาวะหรือภพก่อนที่เป็นเหตุ  มีสภาพที่เต็มไปด้วยความทุกข์เป็นผลปรากฏให้เห็นรูปและนามขันธ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกเป็นเหตุใกล้  ชราและมรณะเป็นอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับชาติชรา  คืออาการเก่าแก่เสื่อมโทรมของภาวะที่เกิดขึ้น  มรณะคืออาการที่กำลังแตกดับลงไปของภาวะนั้น  หรือรูปและนามขันธ์นั้น
          11. ชรามรณะ  ได้แก่ความแก่ความเสื่อมของขันธ์ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้  มีการนำใกล้ไปสู่ความตาย  ทำลายวัยและสภาพที่ดี  จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงจากการมี  (ชีวิตอยู่ไปสู่การไม่มีชีวิตอยู่  คือตายสลายไปในที่สุด  ถ้าเป็นความเปลี่ยนแปลงทางกายก็สังเกตให้เห็นได้  เช่น  ฟันหัก  ผมหงอก  เนื้อหนังเหี่ยวย่น  เป็นต้น  แต่ถ้าเป็นภาวะเปลี่ยนแปลงของจิตใจก็สังเกตได้ไม่ชัดเจน  เมื่อมีชาติคือการเกิดอย่างสมบูรณ์แบบขึ้นมาของภาวะหนึ่งก็ย่อมมีชรามาณะคือความเสื่อมและความตายเกิดขึ้นเสมอ  ทำให้ผู้ที่ไม่รู้เท่าทันในความเป็นจริงนี้ไม่สามารถข่มโทสจริตได้  จึงต้องเกิดความโศกเศร้า  ความทุกข์ทางกายใจ  การปริเทวนาการ  ความคับแค้นใจ  ไปต่าง ๆ  นานา
          เปรียบเทียบกับแนวคิดทางพุทธ
                   ในทางพุทธศาสนา  อารมณ์คือผลต่อเนื่องของเวทนา  คือความรู้สุข  รู้ทุกข์  หรือเฉย ๆ หลังจากเกิดการกระทบของอายตนะภายนอกกับอายตนะภายใน  คือมผัสสะเกิดขึ้นนั่นเอง
          อายตนะภายนอกได้แก่สิ่งที่ถูกรับรู้ได้  เช่น  รูป  รส  กลิ่น  เสียง  กายสัมผัสมโนภาพหรืออารมณ์ อายตนะภายในก็คือเครื่องมือในการรับรู้  ได้แก่  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ
          ลำพังแล้วการกระทบกันของอายตนะภายนอกกับอายตนะภายในที่ทำให้เกิดผัสสะ (contact) ตามปกติธรรมดาของการกระทบกันระหว่างของสองสิ่งเท่านั้น  แต่การที่อายตนะภายนอกและอายตนะในกระทบกันแล้วทำให้เกิดการรับรู้นั้น  เป็นเพราะมีวิญญาณ (consciousness) เกิดขึ้นพร้อมผัสสะแต่ละอย่าง  แต่ละครั้งนั้น
             วิญญาณ  หรือความรู้สึกนั้นแยกออกได้เป็นคู่  เรียกว่านามกับรูป หรือ นามธรรม  กับรูปธรรมที่รู้สึกว่าเป็น ตัวเราคือนามกับรูปผสมประกอบเข้าด้วยกัน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  Subject and Object  นามรูปนี้เกิดได้ถึง  6  ทางคือ  ทางประสาทตา  ประสาทหู  ประสาทจมูก  ประสาทลิ้น  ประสาทกาย  และทางมโน  จำแนกออกไปได้ดังนี้  
             (1)  ทางประสาทตา  ประสาทตากับสี (คือภาพที่เห็น) เป็นรูปธรรม  ความรู้สึกที่ได้เป็นเป็นนามธรรม
         (2)   ทางประสาทหู  ประสาทหูกับเสียง  (ที่ได้ยิน) เป็นรูปธรรม  ความรู้สึกได้ยินเป็นนามธรรม
             (3) ทางประสาทจมูก  ประสาทจมูกกับกลิ่นที่ได้กลิ่นเป็นรูปธรรม  ความรู้สึกได้กลิ่นเป็นนามธรรม                                                                                                                                     
             (4)   ทางประสาทลิ้น  ประสาทลิ้นกับรสที่ลิ้มเป็นรูปธรรม  ความรู้สึกได้รสเป็นนามธรรม
             (5)  ทางประสาทกาย  ประสาทกายกับเย็นร้อนอ่อนแข็ง  เป็นรูปธรรม  ความรู้สึกได้สัมผัสเป็นนามธรรม
              (6)  ทางใจ  กิริยาเคลื่อนไหวกาย  เป็นรูปธรรม  ความรู้สึกได้เคลื่อนไหว  หรือ  นึกให้เคลื่อนไหวเป็นนามธรรม
            สรุปแล้วที่เห็นว่าเป็น  ตัวเราก็คือผลรวมของกลุ่มก้อนใหญ่ความรู้สึก  คือเป็นที่ประชุมความรู้สึกทั้งฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม  นามในที่นี้หมายเอา  จิต  คือธรรมชาติผู้รับรู้อารมณ์ทางทวารทั้งหก    ซึ้งก็คือวิญญาณนั่นเอง  ถ้าเป็นทางตา  เรียก  จักขุวิญญาณ  ทางหู  เรียก  โสตวิญญาณ  ทางจมูก  เรียก ฆาณวิญญาณ  ทางลิ้น  เรียกชิวหาวิญญาณ  ทางกาย  เรียกกายวิญญาณ  ทางใจเรียก  มโนวิญญาณ
            รูปธรรมกับนามธรรมนี้แยกตามนัยพระสูตรได้เป็นห้า  เรียกว่า  ขันธ์  หรือ  เบญจขันธ์  คือ  รูปขันธ์  เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์  วิญญาณขันธ์  หรือเรียกง่าย ๆ ว่า  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  รูปเป็นธรรมชาติอันหนึ่งด้วยวัตถุที่มาปรากฏให้จิตรู้  วิญญาณ เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์  เวทนาเป็นธรรมชาติที่ลิ้มอารมณ์  สัญญาคือความสำคัญหมายในอารมณ์  สังขารคือสภาพปรุงแต่งจิต
         เมื่อผัสสะผ่านเข้ามาในสมองแล้ว เรามิได้รับรู้เฉย ๆ เท่านั้น  หากเกิดความรู้สึกยินดียินร้ายต่อความสำนึกรู้นั้นด้วย  ความรู้สึกยินดียินร้ายนี้ปรากฏเป็นความชอบ  ความชัง  หรือความเฉยต่อผัสสะนั้น ๆ ความยินดียินร้ายนี้เองพุทธจิตวิทยาเรียกว่าเวทนา  ซึ่งเกิดทีหลังวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง  เวทนาเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตของเรา  เพราะมันเป็นเหตุแห่งความทุกข์และความสุข หรือความรู้สึกเฉย ๆ
ซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยเหตุที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความอยากที่ทางจิตวิทยาเรียกว่า  สัญชาตเวค  คือ กิเลส 3 อย่างนี้เองที่เป็นมูลเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นคือ  โลภ  โกรธ  หลง  และเมื่อเสวยอารมณ์ที่มาจากกิเลสทั้ง  นั้น  ก็ย่อมจะเกิดทุกข์บ้างสุขบ้าง  อันเป็นเหตุให้เกิดการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน  และทำให้หลงโลก  และเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏเช่นนี้เรื่อยไป  พุทธศาสนาจึงสอนให้คนรู้เท่าทันใจซึ่งมักจะโลดแล่นไปไกลก่อนเสมอ  ดังที่ในธรรมบทกล่าวว่า มโนปุพฺพงฺคมา  ธมฺมา..” การที่จะควบคุมอารมณ์ให้เป็นไปอย่างพอเหมาะพอดี  ก็ต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมจิตใจเป็นเรื่องใหญ่  เพราะเมื่อเกิดอารมณ์แล้วใจก็ปรุงแต่งมโนภาพต่าง ๆ ขึ้นเพื่อเสวยอารมณ์เกิดเป็นจินตนาการซึ่งจัดเป็นมโนกรรม  พร้อมที่จะกระทำกรรมวาจาหรือกายกรรมต่อไปได้
         ในการที่จะฝึกควบคุมอารมณ์ตามหลักของพุทธศาสนาก็คือต้องเรียนรู้ที่จะฝึกจิตใจเพื่อควบคุมพฤติกรรมที่แสดงออกให้เหมาะสมกับกาลเทศะ  ในคาถาธรรมบทได้กล่าวถึงหมวดจิตไว้หลายบทซึ่งแสดงให้เห็นว่าจิตใจเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยากแต่ถ้าฝึกได้แล้วก็จะนำแต่ความสุขมาให้
         หลักในการฝึกจิตใจก็คือ  ฝึกเรียนรู้ที่จะควบคุมใจไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจแห่งโลภะ  โทสะ  โมหะ  คือมีสติและรู้เท่าทันอยู่เสมอ
         ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของคนเรามีมากมายพอสรุปได้  2 ประการคือ
         (1)  บทบาทกลไกภายใน  อันได้แก่คุณสมบัติภายในของผู้รับรู้เช่น  ความต้องการหรือแรงขับ (Need or drive) คุณค่า ความสนใจ และประสบการณ์เดิม
         (2)  บทบาทกลไกภายนอก ซึ่งได้แก่ความยึดมั่นความเชื่อ คำบอกเล่า คำแนะนำ และคำสอนที่ได้รับสืบๆ มาเป็นต้น
         ทั้งหมดนี้เป็นอิทธิพลที่ทำให้การรับรู้ที่บุคคลมีต่อเรื่องราว เหตุการณ์ ภาวะแวดล้อมต่าง  ๆ   มีความแตกต่างกัน
         การรับรู้ญาณสัมผัสพิเศษ
         เป็นการรับรู้ประเภทหนึ่งที่ปรากฏในตำราทางพุทธศาสนา  หมายถึงการรับรู้ที่ไม่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 7 ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้คือ
         Extrasensory  perception  แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
         Telepathy  เป็นการถ่ายทอดความรู้ความคิด  ความรู้สึกและความเข้าใจเป็นต้น  ส่งผ่านจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่งได้  ความรู้สึกเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีความผูกพันกัานมากกว่าคนที่ห่างเหินกันหรือคนที่ไม่รู้จักกัน
         Clairvoyance  หมายถึงการรับรู้วัตถุหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ณ  ต่างสถานที่  โดยอำนาจทางจิต (mental  power)
         PrecogniÁGО¿ကЀȘ[1]
橢橢珃珃О[1]￿￿￿]˦˦˦˦˦˦˦ ˺˺˺˺˺ ̖T˺ôΞΞΞΞΞΞΞΞ[1]$Ǵ\˦ΞΞΞΞΞÁGО¿ကЀȘ[1]
橢橢珃珃О[1]￿￿￿]˦˦˦˦˦˦˦ ˺˺˺˺˺ ̖T˺ôΞΞΞΞΞΞΞΞ[1]$Ǵ\˦ΞΞΞΞΞนผลของการเรียนรู้แทบทั้งสิ้นก                   นักจิตวิทยาเชื่อว่า  การเรียนรู้ของคนเรานั้นจะแยกออกเป็นส่วนย่อยไม่ได้  เวลาคนรับรู้สิ่งต่าง ๆ  นั้น  คนเราย่อมรับรู้เป็นส่วนรวมเสียก่อน  จึงค่อยมองเห็นภาพที่ชัดเจนในภายหลัง  ดังนั้นการเรียนรู้ก็คือการเปลี่ยนแปลงแบบแผนของการรู้จัก (Cognitive  structure) ของผู้เรียนให้ละเอียดและชัดเจนขึ้น  เช่นเด็กเห็นสุนัขตัวโต ๆ จะเห็นไม่แตกต่างกันกับลูกวัวตัวเล็ก ๆ อยู่ระยะหนึ่ง  ต่อเมื่อแบบแผนของการรับรู้ของเด็กที่มีต่อสุนัขและลูกวัวชัดเจนแล้วเด็กก็จะรู้เองว่า  ลูกวัวกับสุนัข  แตกต่างกัน  ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า  การเรียนรู้ย่อมเกิดจากประสบการณ์  ยิ่งเมื่อผู้เรียนรู้ต้องเรียนรู้ในเรื่องที่ซับซ้อนแล้ว  ก็จะต้องรับรู้และพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก กล่าวได้ว่าการเรียนรู้ที่ซับซ้อนเช่นนี้ย่อมเกี่ยวพันกับกระบวนการทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบของความคิด ความจำ การสังเกตความคิดรวบยอดทัศนคติ ความเข้าใจ และการแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด
         การเรียนรู้และการรับรู้จะต้องเกี่ยวเนื่องควบคู่กันไป มีการรับรู้ก่อนแล้วจึงเกิดการเรียนรู้ หรือเพราะมีการเรียนรู้แล้วจึงทำให้การรับรู้ง่ายและเร็วขึ้น
         การรับรู้  หมายถึงการที่เราได้ทราบลักษณะสิ่งต่าง ๆ ที่ล้อมรอบตัวเราจากอวัยวะสัมผัสของเรา ว่าอะไรมีความหมายอย่างไร กล่าวคือ การรับรู้นั้นเป็นผลของการเรียนรู้บวกกับความรู้สึกจากการสัมผัส การรู้จักสิ่งต่างๆโดยผ่านทางอวัยวะสัมผัสที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจัดเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง
         จิตวิทยาตะวันตกให้ความสำคัญการเรียนรู้ในด้านร่างกายโดยเฉพาะ ส่วนสำคัญในการเรียนรู้คือ อวัยวะรับสัมผัส (Receptor) อันได้แก่ ตา หู จมูก เป็นต้น เมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบอวัยวะรับสัมผัส  ประสาทก็จะรายงานไปยังสมองและเกิดแปลความหมายที่สมองนั่นเอง  และสมองก็สั่งการมายังประสาทกล้ามเนื้อ (Motor  nerve) ทำให้เกิด ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น  เกิดเป็นพฤติกรรมขึ้น  อย่างนี้เชื่อว่าเป็นการเรียนรู้แล้ว
         ส่วนทางพุทธศาสนา  กล่าวว่าคนประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนคือ  ส่วนร่างกายและจิตใจ  ร่างกายไม่มีความสามารถจะรับรู้อะไรได้เลย  เพราะถือว่ากายเป็นวัตถุธาตุ (แม้สมองก็เป็นวัตถุรู้อะไรไม่ได้) ตัวรู้คือจิต  คำว่าจิตมีวิเคราะห์ตามหลักอภิธรรมว่า  จินเตตีติ  จิตฺตํ  อารมณ์  วิชานาตีติ  อตฺโถ (ธรรมชาติใดย่อมคิด  เพราะเหตุนั้น  ธรรมชาตินั้นชื่อว่า  จิต  อธิบายว่า  ธรรมที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์) แล้วอธิบายว่า  จิตประกอบด้วยอารมณ์ 4 ประการ  คือ
                                      อดีตกรรม  หรือประสบการณ์เก่า
                             อารมณ์  หรือสิ่งเร้ามากระทบอวัยวะ

                   เจตสิก  หรือความรู้สึกนึกคิดของจิต
                   วัตถุรูป  คืออวัยวะรับสิ่งเร้าเช่น  ตา  หู  ฯลฯ
          การเรียนรู้จะเกิดได้นั้น  ปัจจัยทั้ง 4 อย่างต้องทำงานประสานกัน  คือ  เมื่อสิ่งเร้า (อารมณ์) มากระทบกับอวัยวะรับสิ่งเร้า (วัตถุรูป) เราจะไม่เห็น (ไม่รู้) ถ้าไม่มีความตั้งใจจะดู (ฟัง  ดมกลิ่น  ฯลฯ) คือไม่มีเจตสิก  หรือเมื่อสิ่งเร้ากระทบวัตถุรูป  แม้ตั้งใจดู (มีเจตสิก) ก็ตาม  แต่ถ้าหากไม่มีประสบการณ์เดิม (อดีตกรรม) เราก็จะไม่รู้จักสิ่งนั้น  เมื่อเป็นเช่นนี้การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้  ดังนั้น  การเรียนรู้จึงต้องประกอบด้วยอดีตกรรมมาก ๆ คือมีประสบการณ์มาก ๆ มีสิ่งเร้าดี ๆ มีความตั้งใจจริง  และมีอวัยวะรับรู้ที่สมบูรณ์

          วิธีการเรียนรู้แบบพุทธ

          พระพุทธเจ้าทรงแสดงวิธีการเรียนรู้ว่า  มีองค์ประกอบ 5 ประการ  คือ
          การฟัง  เป็นวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญอย่างปฏิเสธไม่ได้  หมายถึงการฟังด้วยความตั้งใจ  ความสนใจ  ฟังพร้อมด้วยกำหนดข้อที่ควรกำหนด  การฟังอย่างนี้เรียกว่าฟังโดยเคารพ  การฟังย่อมมีความสำคัญในการศึกษาอยู่เสมอ  เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ตนได้ประสบการณ์  เปรียบเหมือนการเปิดฝาภาชนะรับน้ำยามฝนตก  (สุตมยปัญญา)
          การจำได้  หมายถึงการฟังแล้วจำได้  การอ่านแล้วจำได้  หรือการเขียนแล้วจำได้  การทำเครื่องหมายต่าง ๆ เพื่อช่วยความจำก็อยู่ในข้อนี้การจำได้ (สัญญาหมายถึงความสามารถในการรับเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านมาทางประสบการณ์ไว้ได้  เหมือนภาชนะที่เปิดฝารับน้ำไว้นั้น  มีความสามารถที่จะอุ้มที่จะรับน้ำนั้นไว้ได้  เพราะไม่ทะละไม่รั่วไม่มีรอยร้าว  น้ำจึงอยู่ได้
          การสาธยาย  หมายถึงการอ่านทบทวนบ่อน  ๆ การพูดถึงเนื้อหาวิชานั้นบ่อย ๆ การบรรยายเรื่องนั้นบ่อย ๆ หรือการตั้งปัญหาและทำการตอบปัญหานั้นด้วยตนเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งหมายถึงการท่องโดยตรง  เหล่านี้ยังนับว่าเป็นวิธีการศึกษาที่มีความสำคัญอยู่แม้ในปัจจุบันในวงการศึกษาย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าการทองจำนั้นเป็นเรื้องที่ไม่จำเป็น  ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการศึกษาเป็นอย่างดีมักปรากฏว่าเป็นผู้ฉลาดในวิธีการท่องจำ  หรือฉลาดในการคิดหาวิธีจำ
          การเพ่งพินิจด้วยใจ  หมายถึงการเอาใจติดตามพินิจดู  จนความรู้ปรากฏที่ใจ  หรือเป็นความรู้ด้วยใจ  เกิดความสามารถในการหลับตาเป็นเนื้อหาวิชาเป็นข้อเป็นตอนผู้ศึกษาสามารถฝึกใช้วิธีการข้อนี้ด้วยตนเอง  เช่นเริ่มต้นด้วยการอ่านเนื้อหาวิชาให้เป็นที่เข้าใจชัดเจน  แล้วฝึกหลับตาเห็นเป็นขั้นเป็นตอนไป  เมื่อเกิดความชำนาญแล้วก็สามารถดูแต่หัวข้อทบทวนความรู้ได้  ข้อนี้ต้องอาศัยวิธีการทางสมาธิเข้าช่วย  ให้อยู่ด้วยความรู้สึกปลอดโปร่งปราศจากอารมณ์รบกวน  ปราศจากอารมณ์กังวลใจ  (ภาวนามยปัญญา)
          แทงทะลุเข้าถึงความถูกต้องด้วยทัศนะ  หมายถึงความเข้าใจชัดแจ้งอย่างถูกต้อง  ภายใต้แสงสว่างแห่งทัศนะที่ถูกต้องเข้าถึงความรู้ด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง  เป็นการแน่ชัดในตนเองว่าอะไรผิดอะไรถูกใคร ๆ จะชักนำให้เข้าใจผิดไปทางอื่นไม่ได้  ข้อนี้จึงหมายถึงการเข้าถึงความรู้อย่างแท้จริงความรู้เพียงแต่จำได้หรือความรู้ชนิดที่หลับตาเห็นได้ก็ยังเป็นความรู้ที่ไม่แน่นอน  เพราะมีการลืมและการเลือนลางเกิดขึ้นได้  ส่วนความรู้ที่ได้ด้วยวิธีการประการสุดท้ายนี้เป็นตัวความรู้อย่างแท้จริง  ปรากฏใสสะอาดชัดเจน  (วิปัสสนาปัญญาวิธีการศึกษาข้อนี้ทำให้ผู้ศึกษาเข้าถึงเหตุผลที่ถูกต้องด้วยตนเอง

พุทธสุขวิทยาจิต

        สุขภาพทางจิต  สุขภาพทางจิตที่สมบูรณ์เท่าที่พอจะรวบรวมได้จากพุทธธรรมมีเกณฑ์วัดได้ดังนี้
          (1)  เป็นจิตที่มีความสามารถในการควบคุมตนเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสติสัมปชัญญะและความรู้เท่าทันในอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก กาย และใจ  และรู้จักมีความพอเหมาะในการตอบสนองความต้องการของอินทรีย์เหล่านั้นไม่ให้เกิดโทษและความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น                         (2)  เป็นจิตที่มีความนึกคิดเกี่ยวกับตนเองและรู้จักตนเองอยู่เสรอ  ไม่สำคัญตนผิดไปจากความเป็นจริง  เป็นผู้ที่พร้อมที่จะพัฒนาตนเองหรือปรับปรุงตนเองให้ดียิ่งขึ้น
          (3)  เป็นจิตที่มีความยินดีที่ประกอบด้วยปัญญาที่เรียกว่า  มหากุศลจิต  คือจิตที่เอื้อเฟื้อแผ่กุศลจิตไปสู่ผู้อื่นอย่างไพศาล  มีความเข้าใจในผู้อื่นและตระหนักถึงความดีที่ควรกระทำแก่ส่วนรวม  เช่น  การเสียสละให้ทานแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ  การไม่ยินดีหลงพอใจที่จะไปเบียดเบียนผู้อื่น  สงเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อกระทำได้  และมีจิตอนุโมทนาอิ่มใจในคุณความดีของผู้อื่น                        (4) เป็นจิตที่มีความเข้าใจในความเป็นไปของโลกและชีวิตอย่างที่เป็นจริง  ไม่มีอุปาทานหลงเชื่อยึดมั่นผิด ๆ กล่าวคือมีความสามารถในการรับรู้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี                                                                                                           (5)  เป็นจิตที่ไม่สะสมความเครียดหรือภาวะแห่งความเครียดทางอารมณ์  เพราะมีความรู้เท่าทันในภาวะเครียดที่เกิดขึ้นนั้นด้วยสติสัมปชัญญะและไม่เก็บสะสมภาวะเครียดเหล่านั้นไว้ให้เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต  ความเครียดในจิตใจได้แก่ภาวะของ  เช่น  ความโกรธ  ความเกลียด  ความกลัว  ความฟุ้งซ่าน  ความลังเลสงสัยเพราะยังไม่รู้จริง  ความท้อแท้เบื่อหน่ายไม่อยากมีชีวิต  หรือไม่อยากกระทำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์  อีกทั้งยังพร้อมที่จะเผชิญกับภาวะภายนอกที่ไม่น่าพึงพอใจ  ที่ยุ่งยากลำบาก  ภัยพิบัติ  ความทุกข์ยากต่าง ๆ ที่พึงจะเกิดขึ้นได้ด้วยอารมณ์ที่มั่นคงและปัญญาที่พร้อมในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและว่องไว                                                                               (6)  เป็นจิตที่ปราศจากสีลัพพตปรามาส  คือความยึดถือปฏิบัติในสิ่งที่ผิดและเป็นโทษว่าเป็นสิ่งดี  ไม่เห็นผิดไปจากคลองธรรมที่เป็นสากล  ไม่นิยมในการลงความเห็นหรือประพฤติที่ขัดแย้งฝืนความเป็นจริงหรือฝืนธรรมชาติ  เพราะพุทธศาสนาเชื่อว่ามนุษย์เรามีธรรมชาติทางจิตที่บริสุทธิ์เป็นปัณฑรจิต  ผู้ที่มักมีความขัดแย้งกับตนเองและผู้อื่นโดยมิจฉาทิฏฐิจึงเป็นผู้ที่จิตขาดความสมดุลย์ทางสติสัมปชัญญะและปัญญาอย่างแน่แท้                                                                                   ความทุกข์และการคลายทุกข์
          ความทุกข์เป็นลักษณะพื้นฐานของทุกชีวิตที่เกิดมา คำว่า ทุกข์ ได้อธิบายไว้แล้วในบทต้น ๆ ว่าเป็นภาวะที่ทนได้โดยยากเป็นภาวะที่ไม่ง่ายแก่การเข้าใจ ปรากฏการณ์ของความทุกข์  สังเกตได้ตั้งแต่การเกิดการแก่การเจ็บป่วยและการตายจากกันไป  แต่สำหรับความทุกข์ทางจิตใจที่เกิดขึ้นแก่ผู้ใดก็ตามมักเป็นเพราะจิตใจของมนุษย์เราไม่เตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความทุกข์อย่างอาจหาญและด้วยความเข้าใจ  ภาวะแห่งความทุกข์มักเกิดขึ้นจากการปล่อยจิตใจให้โลดแล่นใหลไปตามกิเลสตัณหาความต้องการที่จะให้โลกเป็นไปดังใจแล้วไม่อาจฝืนภาวะแห่งไตรลักษณ์ได้  ผู้ที่มักมีทุกข์อาจเกิดจากการที่เขาไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี  เช่นเสวนาสมาคมอยู่ร่วมกับคนที่ไม่ดีหรือไม่เป็นสัปปุรุษ  ตั้งตนไว้ในทางที่เป็นทุจริตหรือผิดทางมีจิตใจที่จดจ่อระลึกถึงในสิ่งที่ผิด เช่น เรื่องที่ล่วงเลยมาแล้วก็เก็บเอามายึดมั่นคิดให้เกิดความโลภ โกรธ หลง อิจฉา ริษยา ประทุษร้าย  มีมิจฉาสมาธิ คือการตั้งใจจดจ่อที่ผิด ๆ เช่นการจดจ่อในราคะ ในอบายมุข และมีมิจฉาวิมุตติ  คือหลงผิดคิดว่าตนได้พ้นผิดหรือรอดพ้นทุกข์ทั้งที่ไม่ใช่เช่นนั้น  และข้อสำคัญคือขาดการได้ยินได้ฟังหรือได้เรียนรู้ในสิ่งที่ดีงามและเป็นความจริงที่ให้กระจ่างแก่สติปัญญาและความเป็นไปของโลกวิสัยได้ อาจจะเรียกสิ่งนี้ก็ได้ว่า  ไม่มีบุญเก่ามาดี  เมื่อมีความทุกข์ความยากลำบากหรือภัยพิบัติเกิดขึ้นจึงพึ่งตนเองแก้ทุกข์ทางใจนั้นไม่ได้  อันมีผลให้ไม่สามารถแก้ทุกข์ภายนอกได้อีกด้วย
          เมือเกิดภาวะที่ตึงเครียดในจิตใจ  ภาวะนั้นมักเป็นทุกข์ ที่เรียกว่า อกุศลจิต คือจิตที่เต็มไปด้วยความมัวหมองร้อนรุ่มเดือดร้อน  ให้ผลที่เป็นทุกข์ ย่อมคาดคะเนได้เลยว่าจิตที่เป็นทุกข์นั้นต้องมีสาเหตุมาจากอกุศลมูลอันใดอันหนึ่งหรือทุกอย่าง  ได้แก่  ความโลภ  ภความโกรธ  ความหลง  แล้วไม่ได้ดังใจ  ขอยกตัวอย่างที่เรียกว่า  ทุกข์ที่เป็นจิตอาฆาตว่ามีสภาพทุกข์อย่างไร
          คนที่ทุกข์เพราะเกิดความอาฆาต  เป็นโทษมูลจิตที่เกิดขึ้นเพราะเป็นผู้ไม่สุขุม ขาดสติที่ถูกต้องพิจารณาและมีตัวตนเป็นศูนย์กลางสูงมาก  อาการในจิตจะรุ่มร้อนเพราะรู้สึกว่าเขา (ที่เราอาฆาตทำความเลื่อมเสียแก่ ตัวเราอยู่ทุกขณะจิต ไม่ว่าจะเป็นขณะนั้นหรือขณะไหน ครุ่นคิดว่าเขาได้ทำ กำลังทำ และจะทำ  ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ  ครุ่นคิดเคียดแค้นว่าเขาได้ทำ กำลังทำ และจะทำคุณประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง  ถ้าไม่รักษาอาการนี้ให้จิตกลับมาสู่สภาพที่ดีแล้วก็จะยิ่งก่อให้เกิดการก่อกรรมทำเข็ญที่ทุกข์ยิ่ง ๆ ขึ้น ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดคลองธรรมได้ง่าย ๆ
          สำหรับความทุกข์ที่เกิดจากวิถีความเป็นไปทางโลกที่เรียกว่า  ไตรลักษณ์ เช่น การพลัดพรากจากสิ่งหรือผู้เป็นที่รักที่พึ่ง  การสุญเสียสิ่งที่รัก  การไม่ได้ดังประสงค์ต่าง ๆ ความทุกข์ที่เกิดจากการอยู่ในสภาพหรือสิ่งแวดล้อมที่จากลำบากแสนสาหัสบีบคั้นนั้นก่อให้เกิดปริเทวนาการ โศกเศร้าอาดูร  และบางทีกลายเป็นอุปสรรคที่จะทรงชีวิตให้อยู่ได้จนสิ้นอายุขัย
          นอกจากนี้ความทุกข์ยังแสดงได้ในรูปแบบต่าง ๆ มากมายจะขอยกตัวอย่างที่ปรากฏในเรื่องอกุศลกรรมบท  พุทธศาสนาเชื่อในกฎแห่งกรรม  บางทีความทุกข์ก็อาจจะเกิดจากอกุศลกรรมที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษก่อน ๆ แล้วส่งต่อมายังลูกหลานให้มีภาวะที่เป็นทุกข์  ซึ่งเราน่าที่จะทำการวิจัยให้เห็นชัดเจนกระจ่างแก่คนยุคใหม่ว่า กฎแห่งกรรมถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ได้ด้วยจริงหรือไม่ เช่นผลแห่งการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในอดีตกรรมมี 9 ประการคือ     (1)   ร่างกายทุพพลภาพ       (2)  รูปไม่งาม  (3)  กำลังกายอ่อนแอ  (4)  กำลังกายเฉื่อยชา กำลังปัญญาไม่ว่องไว  (5)  เป็นคนขลาด  (6)  ฆ่าตนเองหรือถูกฆ่า  (7)  มีโรคภัยเบียดเบียน  (8)  ความพินาศของบริวาร  (9)  อายุสั้น
          อาการที่เป็นทุกข์มีหลายประการ เช่น  การด้อยทรัพย์ขัดสน ยากจน  อดอยาก ความพินาศในการค้า  ความพินาศทางทรัพย์สินเพราะอัคคีภัย  อุทกภัย ราชภัย  โจรภัย  ความเป็นผู้ที่มีผู้เกลียดชังมาก  ความเป็นผู้ที่มีคนปองร้ายมาก  เป็นผู้ที่เกิดในตระกูลต่ำ  เป็นผู้มากไปด้วยความวิตกห่วงใย  เป็นผู้ที่ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ ฯลฯ  สภาพทุกข์เหล่านี้มีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลแต่ละคนมาก  ถ้าเราหยุดพิจารณาสักครั้งหนึ่งในชีวิตเราจะพบว่า  ความทุกข์ที่รุนแรงล้วนแล้วแต่เป็นอาการทางจิตใจ  แต่มีผลสะท้อนถึงร่างกายและการกระทำที่เขามีปฏิกิริยาต่อความทุกข์หรือปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น  ความทุกข์สามารถผลักดันบุคคลให้เกิดความเปลี่นแปลงได้ทั้งในลักษณะที่ดีขึ้น (กุศลจิต) หรือเลวลง ขึ้นอยู่กับพื้นเพทางจิตใจ  พื้นเพทางปัญญา  และประสบการณ์ที่เขาเก็บสะสมไว้เป็นระยะเวลายาวนานที่ผ่านมาในชีวิตเขาซึ่งสิ่งที่สำคัญยิ่งคือทิฏฐิหรือทัศนคนิที่เขามีต่อตนเองและสิ่งรอบด้านเป็นอย่างไรการคลายทุกข์และการแก้ปัญหาจึงต้องเริ่มที่ภายในจิตใจของบุคคลนั้นเอง
         
การมองโลกและชีวิต
          ผู้ที่มีความทุกข์จนกระทั่งทำให้สุขภาพทางร่างกายและจิตใจเสื่อมโทรมลงไปเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพในการเผชิญชีวิตของเขาเสียไปอย่างมาก  สาเหตุที่สำคัญเกิดจากการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง โลกและชีวิตของเขาคลาดเลื่อนไปจากความเป็นจริงเป็นอันมาก  ดังนั้นการมองโลกและชีวิตของเขาจึงมีผลต่อสุขภาพจิตอย่างใหญ่หลวง  พระพุทธเจ้าทรงได้เคยตรัสสอนให้ หญิง ชาย ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต  ใส่ใจพิจารณาอยู่เนือง ๆ เรียกว่า  อภิณหปัจจเวกขณ์  (ข้อที่สตรีและบุรุษ  คฤหัสถ์และบรรพชิต  ควรพิจารณาเนือง ๆ ) คำสอนนี้ปรากฏอยู่ในพระสุตันตปิฎกอังคุตรนิกายปัญจกนิบาต      ได้แก่
          (1)  ชราธัมมตา  ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้  เพื่อให้ละหรือบรรเทาความมัวเมาในความเป็นผู้ไม่มีโรคได้                                                            (2)  พยาธิธัมมตา  ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่าเรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา  ไม่อาจล่วงพ้นไปได้  เพื่อให้ละหรือบรรเทาความมัวเมาใน ความเป็นผู้ไม่มีโรคได้                                                     (3)  มรณาธัมมตา  ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้  เพื่อให้ละความมัวเมาในชีวิตได้                                                                                 (4)  ปิยมนาปวินาภาวตา  ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่าเราจักต้องมีความพรัดพรากจากของรักของขอบใจทั้งสิ้น  เพื่อให้ละหรือบรรเทาความยึดมั่นติดใจในของรักทั้งหลาย                                             (5)  กัมมัสสกตา  ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใดก็จะได้รับผลแห่งกรรมนั้น  เราเป็นทายาทของกรรมนั้น  เพื่อเป็นเหตุให้ละหรือบรรเทาความทุจริตต่าง ๆ ได้              ถ้ามนุษย์เราได้มีเสี้ยวเวลาที่หันมาพิจารณาในสิ่งที่กล่าวมานี้บ้างแล้ว ก็น่าจะเป็นผลดีต่อการมองโลกและชีวิตของบุคคลเป็นอย่างมาก  ท่านผู้ศึกษาจะเห็นได้ว่าหลักธรรมที่กล่าวมานี้เป็นวิธีการมองโลกและชีวิตที่มีดุลยภาพระหว่างทัศนะเกี่ยวกับ อัตตาหรือตัวตนของบุคคลกับโลกและชีวิตที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็นอย่างยิ่ง  การที่จะหันมาพิจารณาในเรื่องเหล่านี้จึงต้องใช้ความเข้าใจที่ผ่านการไตร่ตรองแล้ว  ย่อมมีความเป็นจริงเข้าใจก็ยิ่งช่วยให้เราสามารถปรับชีวทัศน์และโลกทัศน์ได้ถูกต้องตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น  เมื่อนั้นจิตก็จะเริ่มปรับสภาพให้เกิดปัญญาที่ชัดเจนแจ่มใส และมองเห็นทางในการแก้ปัญหาชีวิตและคลายทุกข์  จนกระทั่งสามารถล่วงพ้นจากความทุกข์ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตออกไปได้  จิตที่เป็นอิสระคือจิตที่อยู่พ้นจากความกระวนกระวายอารมณ์ และมีภาวะที่แยกตนออกจากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นได้เมื่อจิตมีสภาพอยู่เหนือปัญหา จิตจึงมีอิสระและสมรรถภาพที่จะพิจารณาตนเองและปัญหาที่เกิดขึ้นได้ว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร  มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง  และโดยอัตโนมัติจิตที่มีสมรรรถภาพในการคิดพิจารณาก็จะค้นหาแนวทางในการแก้ใขปัญหาหรือดับทุกข์  คลายทุกข์ที่เกิดขึ้นได้  อย่างที่กล่าวว่า  เมื่อรู้ปัญหาก็ย่อมรู้วิธีการและเราต้องรู้จักการประเมินแนวทางที่กระทำใปอยู่เสมอว่าเหมาะสมและดีเป็นประโยชน์หรือไม่อย่างไร  เพื่อกันไม่ให้เกิดทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก  วิธีการแก้ปัญหาจะเป็นเครื่องบ่งบอกสภาวะทางจิตหรือลักษณะสุขภาพจิตของบุคคลได้มากกว่าผลของการแก้ปัญหา  ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า  การมีทัศนคติในการมองโลกและชีวิตที่ถูกต้องสมดุลย์กับความเป็นจริงมีส่วนช่วยลดความกดดันในปัญหาชีวิตและเป็นภูมิคุ้มกันโรคจิตได้เป็นอย่างดี
          การรักษาสุขภาพจิตให้สมบูรณ์
          ท่านคงทราบดีแล้วว่าจิตใจของเรามีกิจกรรมการทำงานต่าง ๆ มากมายซับซ้อนหลายด้าน  ทั้งในแง่ที่ออกคำสั่ง  ควบคุม  และรับใช้ร่างกาย  จิตจึงย่อมมีโอกาศเสื่อมถอยสมรรถภาพลงได้  เช่นเดียวกับที่จะพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นได้  สิ่งที่วัดความเสื่อมถอยของจิตได้ก็คืออาการเสื่อมถอยของพลังพื้นฐาน 5 ประการ ได้แก่ (1)  สัททา  ซึ่งหมายถึงความเชื่อมั่น (Confidence) (2)  วิริยะ  ความเพียร (effort,energy)  (3)  สติ  คือความระลึกได้ (mindfulness)  (4)  สมาธิ  คือความตั้งมั่นของจิต (concentration)  (5)  ปัญญา  คือความรู้ชัด  (wisdom,understanding)  ถ้าจิตไม่มีพลังเหล่านี้แล้ว  ก็จะไม่สามารถกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ได้ผลดีหรือรักษาดุลยภาพที่ปกติสุขไว้ได้  ทำให้เกิดอาการเกียจคร้าน  ความประมาท  ความฟุ้งซ่านและความหลงผิดในการกระทำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนออกจากภาวะที่ปกติ  และเมื่อปล่อยให้จิตไร้สมรรถภาพมาก ๆ เข้าการกระทำต่าง ๆ ก็ยิ่งเอนเอียงไปในทางที่เป็นอกุศล  ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเป็นทุกข์ยิ่งขึ้น  และเมื่อจิตตกอยู่ในอาการทุกข์มาก ๆ เข้าก็อาจทำให้เกิดอาการสติหลง  นึกคิดสิ่งต่าง ๆ ด้วยอาการฟั่นเฟือน  กลายเป็นผู้สิ้นไร้ปัญญานำทางเกิดความเห็นที่ผิดไปจากความเป็นจริง  ไปติดอยู่กับความคิด นิมิต หรือภาพมายาลวงตาที่ผู้อื่นและตนเองสร้างขึ้นมา  นอกจากอาการทางจิตที่ขาดพลัง  ประการแล้ว เรายังมีมาตรการที่จะใช้สังเกตผู้ที่สุขภาพจิตเสื่อมถอยอีกได้แก่  ดูจากลักษณะอาการที่เขาแสดงออก  ซึ่งเราอาจเรียกว่าผู้มีลักษณะบุคลิกที่มีปัญหา  เช่น  ผู้ที่มักโกรธและผูกโกรธเจ้าอารมณ์อยู่เป็นนิจไม่ว่าเรื่องใหญ่เรื่องเล็ก  ผู้ที่ไม่เคยเป็นคุณค่าขชองผู้อื่นที่มักแสดงอาการให้ปรากฏออกมาด้วยการพูดกรืออาอารลลบหลู่บุญคุณผู้อื่น  ผู้ที่ชอบยกตนข่มท่าน  ชอบทำตัวตีเสมอผู้อื่น  ผู้ที่มักมีความอิจฉาริษยาผู้อื่น  ผู้ที่มักมีปฏิกิริยาว่ายากชอบทำอะรทีตรงกันช้ามกับสิ่งที่ถูกที่ควรเพื่อจะได้มีการขัดแย้งกับผู้อื่น  ผู้ที่ชอบมีมารยาหลอกลวงตบตาผู้อื่น  ผู้ที่ไม่มีความละอายและเกรงกลัวต่อสิ่งที่ไม่ดี  ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมทวารอินทรีย์ทั้ง  6  ในร่างกายได้  ผู้ที่ไม่รู้จักประมาณในการกินการอยู่  ผู้มีอัธยาศัยที่หยาบคายไม่ประณีต  เป็นต้น
          เมื่อเราได้ทราบแล้วว่าจิตที่ด้อยคุณภาพคือจิตที่เสื่อมสูญพลังทั้ง 5 ไป เราจึงต้องมีการเสริมสร้างพลังทั้ง  ให้กลับคืนมาและให้มีพลังงานมี่สมบูรณ์อยู่เสมอ  การรักษาสุขภาพจิตจึงควรเริ่มรักษาความสมดุลย์แห่งพลังจิตทั้ง  นั้นให้มีระดับที่จะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขสำเร็จและเบิกบานอิ่มเอิม  ไม่ท้อถอย  และจิตใจมั่นคง องอาจที่จะเผชิญกับปัญหา  มีความมั่นคงทางอารมณ์  ไม่หวาดหวั่น  วิตกกังวล  กลัว  ตกใจง่าย  และไม่ให้เกิดจิตที่ฟุ้งซ่านให้มีทัศนคติในการมองโลกและชีวิตอย่างสมเหตุสมผลสอดคล้องกับความเป็นจริง  วิธีการป้องกันไม่ให้สุขภาพจิตเสื่อมและรักษาสขภาพจิตให้ดีมีสมรรถภาพสูง  ควรกระทำดังนี้
          (1)  ควรแสวงหาสิ่งแวดล้อมที่ดีและบุคคลที่คบหาสมาคมดี  และมีชีวิตอยู่โดยหลีกเลี่ยงจากวิถีชีวิตที่เป็นวิบัติ 4 ประการ  คำว่าวิบัติ  หมายถึงความผิดพลาด  ความคลาดเคลื่อน  ความเสียหาย  ความบกพร่องใช้การไม่ได้  ได้แก่  (1) ชีวิตที่เป็นศีลวิบัติคือชีวิตที่มีการปฏิบัติผิดจากศีลธรรมและคลองธรรม (2)  ชีวิตที่เป็นอาจารวิบัติ  คือชีวิตที่วางตัวไม่ดี  มีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม  ไม่มีจรรยามารยาท (3) ทิฏฐิวิบัติ  คือมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความเห็นผิด  สิ่งที่ดีกลับไม่ชอบไม่ปฏิบัติแต่ไปยึดถือในสิ่งที่ผิด (4) ชีวิตที่เป็นอาชีววิบัติ  คือชีวิตที่ประกอบมิจฉาชีพเลี้ยงชีพในทางที่ผิด  ความวิบัติในสิ่งเหล่านี้นี่เองที่ทำให้เกิดความเสื่อมของชีวิตและเป็นช่องว่างให้เกิดความบกพร่องในองค์ประกอบส่วนอื่น ๆ ของชีวิตตามมา  ไม่เอื้ออำนวยให้แก่การกระทำที่ดี   หรือที่เจริญงอกงาม  มีผลให้ชีวิตมีความเครียดเกินความวิบัติทางจิตใจ  เช่นเสียจริตที่ดี  เกิดความวิบัติของร่างกาย  เช่นร่างกายเกิดโรคและเสื่อมบุคลิกภาพที่ดี  อายุสั้น  ทำให้เกิดความเสื่อมในสิ่งแดล้อมและสังคมเสื่อม  เกิดภัยพิบัติแก่บ้านเมืองบ  ทางแก้มี 4 ประการ  คือการแสวงหาสิ่งที่ดี  สภาพแวดล้อมที่ดี  ด้วยการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเป็นสิ่งแรก  ทัศนคติที่ดีจะทำให้บุคคลรู้จักแสวงหาสิ่งที่ดีและสมาคมกับคนดีมีศีลธรรมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์อันเจริญซึ่งกันและกัน  รักษาสุขภาพร่างกายให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม  แข็งแรง  สุขภาพกายดี  มีบุคลิกลักษณะดี  เป็นผู้ที่จะกระทำสิ่งใดด้วยความพิจารณาไตร่ตรอง
  และมีความเพียรประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในทางที่ถูก  มีจิตสำนึกรู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม  สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและบรรยากาศแห่งความถูกต้องดีงามให้แก่สังคมที่ตนเองอยู่  ในหลักการนี้จึงมีลักษณะตอบสนองจากการปรับปรุงตนเองแล้วส่งผลดีให้แก่สังคมดังนั้นจึงสอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่า  สิ่งแวดล้อมที่ดียังผลให้บุคคลที่อยู่มีสุขภาพจิตที่ดีและชุมชนใดมีประชาชนที่มีสุขภาพจิตที่ดีอยู่มากก็ย่อมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีให้บังเกิดขึ้นเกิดความร่มเย็นเป็นสุขถ้วนหน้า  นอกจากนี้สุขภาพจิตที่ดีย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง  และร่างกายที่แข็งแรงต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี
(2)    การรักษาสุขภาพจิตให้ดีได้ต้องพยายามสร้างสรรค์ความหมดจดบริสุทธิ์ที่เรียกว่าวิสุทธิ 7
ได้แก่ 
ก.      มีศีลวิสุทธิ  คือความหมดจดแห่งการรักษาศีลเพื่อให้เกิดความเป็นสมาธิ
ข.      มีจิตวิสุทธิ  คือความหมดจดบริสุทธิ์แห่งจิต เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมจิตจนเกิดสมาธิที่เป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา
ค.      มีทิฏฐิวิสุทธิ  คือความหมดจดแห่งทิฏฐิ  หมายถึงมีความรู้ความเข้าใจมองเป็นนามรูปและสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริงไม่ทึกทักว่าเป็นตัวตนและดำรงอยู่ด้วยความไม่เป็นผิด
ง.       กังขาวิตรณวิสุทธิ  คือการหมดจดแห่งญาณที่ทำให้ล่วงพ้นจากความสงสัยที่ไม่รู้ไม่เข้าใจมาก่อนได้
.   มัคคามัคคญาณทัสนสนวิสุทธิ  คือความหมดจดแห่งญาณที่รู้ว่าอะไรเป็นทางที่ถูกต้องหรือไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง
 ฉปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ  คือความหมดจดแห่งญาณอันรู้เป็นทางดำเนินไปสู่จิตที่บริสุทธิ์ที่สุด     
ญ.    ญาณทัสสนวิสุทธิ  คือความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ  มีความรู้และความเข้าใจใน      อริยมรรค  4  และการปฏิบัติมรรคญาณในแนวทางที่  2  นี้  หลายท่านที่ศึกษาอาจจะคิดว่าเป็นวิถีทางที่ยากสำหรับปุถูชนธรรมดาอย่างเรา ๆ ทั่ว ๆ ไปที่จะกระทำได้  แต่ก็มีข้อเสนอว่าแม้จะไม่อาจกระทำให้เกิดจิตทีบริสุทธิ์หมดจดได้อย่างอริยบุคคล  แต่เราพยายามสร้างคุณภาพของจิตให้มีความหมดจดบริสุทธิ์หมดจดได้อย่างอริยบุคคล  แต่เราพยายามสร้างคุณภาพของจิตให้มีความหมดจดบริสุทธิ์ได้บ้างและสม่ำเสมอ  หลักการเหล่านี้ก็ย่อมนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้  การฝึกจิตวันละนิดจะช่วยให้สุขภาพจิตท่านดีขึ้น  เพราะการฝึกจิตมีอานิสงส์ต่อผู้ปฏิบัติทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจที่เกิดความประสานกันในการทำงานเป็นอย่างดี  การฝึกจิตเป็นกระบวนการแห่งไตรสิกขาอย่างแท้จริง  (โปรดดูอานิสงส์ของการฝึกจิตในบทที่  10)
(3)  การรักษาสุขภาพจิตต้องมีการเรียนรู้ที่ดีและเสริมสร้างคุณสมบัติที่ดีที่เรียกว่าสัปปุริสธรรม  7  คือ                                                                                                                   (1)  มีธัมมัญญุตา  คือ การแสวงหาความรู้ความจริง  รู้หลักเกณฑ์ รู้จักเหตุรู้จักผล  รู้กฎเกณฑ์  รู้หลักการที่จะให้เกิดผลต่าง ๆ ได้  เพราะความรู้เหล่านี้จะช่วยให้จิตมีความคล่องแคล่วว่องไวในการิจารณาปัญหาและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ไม่ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์  ไม่เกิดความผิดพลาดในการคาดคะเนผล                                                                                                                  (2)  อัตถัญญุตา  คือความเข้าใจในอรรถความหมาย  จุดมุ่งหมาย  และวัตถุประสงค์ที่กระทำหรือที่เกิดสืบเนื่องมาจากการกระทำ                                                                                      (3)  อัตตัญญุตา  คือความรู้จักตนว่าอันตัวเรานั้นมีฐานะ  ภาวะ เพศ กำลังความรู้ความสามารถและคุณธรรมเป็นอย่างไร  อายุวัยอย่างไร  จึงควรจะประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสมและจะปรับปรุงอย่างไรให้ดีขึ้น                                                                                                 (4)  มัตตัญญุตา  คือความรู้จักประมาณหรือมีความพอดีพอเหมาะในการบริโภคจับจ่ายทรัพย์สินที่มีอยู่และหามาได้  ไม่บริโภคเกินตัวและเกินความจำเป็น                                                        (5)  กาลัญญุตา  คือรู้จักกาลเวลาอันเหมาะสมและระยะเวลาอันเหมาะสมในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ รู้จักจัดเวลาให้พอเหมาะและกระทำได้จังหวะแก่เวลาที่กำหนด                                             (6)  ปริสัญญุตา  คือความรู้จักในชุมชน  ที่ประชุมรู้ว่าควรจะประพฤติและวางตัวอย่างไรและเราควรจะวางตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม  ควรคบและไม่ควรคบหาสมาคมหรือไม่ควรสรรเสริญยกย่องเพียงใด  ควรปลงใจเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด แนวทางที่เสนอมานี้เป็นแนวทางที่ป้องกันปัญหาโรคจิตและภาวะสุขภาพจิตเสื่อม  อีกทั้งยังช่วยก่อให้เกิดสุขวิทยาจิตที่ดีอีกด้วย  เพราะเราจะสังเกตเห็นได้ว่าความเจ็บป่วยทางจิตใจมักมาจากสาเหตุที่เราไม่รู้เท่าทันความเป็นจริง  จนกระทั้งตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ที่แก้ไขได้ยาก  ทำให้เกิดความคับแค้นบีบคั้น  การไม่รู้เท่าทันกฎหมายหรือไม่รู้กฎเกณฑ์ที่เขาใช้อยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้เราผิดพลาดเสียประโยชน์ไปอย่างมากมายจนกระทั่งเสียใจจนเสียคน  การไม่รู้เท่าทันในจุดหมายและเป้าหมายของสิ่งที่กระทำอยู่ไม่มีเป้าหมายในการกระทำ  ใช้ชีวิตโดยไม่มีจุดหมาย  ไม่รู้จักการสร้างคุณค่าและความหมายให้แก่ชีวิตตนเองเหมือนเรือที่ขาดหางเสือ  จึงลงท้ายด้วยจิตที่เสื่อมคุณภาพ  ความไม่รู้จักตัวเองทำให้เกิดการเสียสมดุลย์ในการกระทำ    เช่นทำอะไรเกินความสามารถของตนจะบันดาลได้  ก็เกิดความท้อแท้ใจหาความสำเร็จในตนเองไม่ได้  จิตใจก็หดหู่ฟุ้งซ่านตีโพยตีพายไปต่าง ๆ นานา  การไม่รู้จักชุมชนและสถานที่เมื่อปฏิบัติวางตัวผิด ๆ ก็จะเกิดความได้อาย  รู้สึกต่ำต้อย  เสื่อมเสีย  เกิดความทุกข์ใจกังวลใจ  การเป็นผู้ไม่รู้จักบุคคลก็อาจทำให้พาตัวเข้าไปเป็นเหยื่อของคนชั่ว  หรือคนมารยาหลอกลวงทำให้เกิดความเสื่อมเสียหลงผิดไปได้  มีคนที่เป็นโรคจิตจำนวนไม่น้อยที่เกิดจากการเสียรู้หรือแพ้รู้คนด้วยความไม่รู้จักการพิจารณาคนที่ตนเกี่ยวข้องอย่างแยบคาย  ในเรื่องของการดูคนโปรดศึกษาในเรื่องของปุคคลบัญญัติ (บทที่  6 )                             หลักการรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอจึงสรุปได้เป็นหลักการใหญ่ ๆ 3 ข้อคือ
          (1)   สพฺพปาปสฺ  อกรณํ  การไม่กระทำชั่วทั้งปวง                                                                (2)   กุศลสฺสูปสมฺปทา  การกระทำแต่ความดี                                                                (3)   สจิตฺตปริโยทปนํ  การทำใจของตนให้แจ่มใสสะอาดบริสุทธิ์                                                สุขภาพจิตที่ดีย่อมก่อให้เกิดวุฒิภาวะ  หมายถึงการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ของบุคคลเป็นการพัฒนาชีวิตอย่างมีความสมดุลย์ทั้งทางร่างกายและจิต  อันแสดงออกทางวุฒิภาวะทางกาย  วุฒิภาวะทางสติปัญญา  วุฒิภาวะทางอารมณ์  และวุฒิภาวะทางสังคม  ภาวะที่เจริญเหล่านี้จะช่วยให้ท่านมีความสามารถในการเผชิญกับภารกิจปัญหานานาชนิดในชีวิตได้อย่างดีเต็มความสามารถ  ทำให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และมีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้อย่างเป็นปกติสุข  ฉะนั้นจึงขอให้เราจัดเวลาในชีวิตประจำวันของเราฝึกจิตอย่างถูกวิธีเพื่อสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ของเราและเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่สังคมส่วนรวม  อันเป็นการขจัดวัฏจักรแห่งโรคภัยไข้เจ็บที่มีผู้ให้ชื่อไว้อย่างเหมาะสมว่า โรคนามรูปนั้นให้หมดไปและมีสุขภาพอนามัยทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ดีทุกคนถ้วนหน้า
สมาธิและฌาน
( Concentration and Absorption )
          อภิญญาหรือจิตตาภินิหารทั้ง  8 ประการต้องอาศัยสมาธิและฌานจึงจะมีขึ้นได้ สมาธิและฌานมีหลายประเภท แต่ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เป็นมาตราฐานในการเจริญเพื่อเป็นแนวทางไปสู่อภิญญาจิตนั้น มีฌาน 4 ประการ คือปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และเป็นองค์ประธาน อีกประธาน อีก 7 องค์นั้นประกอบ
          สมาธิกับฌานมีความหมายกว้างแคบกว่ากัน สมาธิมีความหมายกว้างกว่าฌานสมาธิคือความมั่นคงของจิตใจ ตั้งแต่ชั้นต่ำชั่วระยะหนึ่ง จนถึงความสงบชั้นสูงสุดละเอียดสุด ไม่มีอารณ์เป็นเครื่องกำหนดอยู่เลย ได้แก่ ขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะหนึ่ง บริกรรมสมาธิ คือ สมาธิในขณะบริกรรมอยู่ อุปจระสมาธิ คือความสงบใกล้ต่อความเป็นฌาน ได้แก่ ตั้งมั่นเพ่งอยู่ในอารณ์ภายนอก อัปปนาสมาธิ  คือความสงบแน่วแน่เป็นฌาน ได้แก่จิตตั้งมั่นเพ่งในอารณ์ภายใน (โปรดดูตลอดจนแนวทางและวิธีการต่างๆ นั้น ขอให้ผู้สนใจค้นคว้าเอาเอง เพราะมีพิศดารมากมาย เหลือที่จะพรรณนาได้โดยละเอียด แต่จะขอกล่าวพอเป็นสังเขป เพื่อความเข้าใจถูกต้องต่อไป

สมถะและวิปัสสนากรรมฐาน
( The methods of Tranquillity and Insight )
สมถะและวิปัสสนามีความหมายแตกต่างกัน ในทางปฏิบัติ สมถะเป็นบาทเบื้องต้นของวิปัสสนา คือต้องอาศัยสมาธิอันเป็นสมถะเสียก่อน จึงจะเข้าสู่วิปัสสนาได้ กล่าวคือ “สมถะ” ทำให้เกิดวิปัสสนา “วิปัสสนา” ทำให้เกิดปัญญาและความบริสุทธิ์ของจิตใจ
          สมถะหมายถึงการใช้สติอบรมให้เกิดสมาธิ โดยอาศัยอารมณ์หลายประการดังจะได้กล่าวต่อไป อาศัยอันใดอันหนึ่ง ทำให้มีกำลังของสมาธิหยุดนิ่งใจอารมณ์นั้นๆ จนเป็นหนึ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหวเรียกว่า เอกัคตาจิตเช่นในการเพ่งไฟ เตโชกสิณการเพ่งอาศัยอารมณ์ที่เคล้าเคลียอยู่กับไฟนั้นโดยไม่คาดเคลื่อนเป็นหนึ่ง จิตในขณะนี้เป็นอัปปนาสมาธิคือเข้าสู่ฌานนั้นเอง ในขณะที่จิตไม่มีการพิจารณาอารมณ์นั้นแต่อย่างใด จนสงบระงับเป็น ฌานคือหนทางแห่ง สมถะกรรมฐานส่วนวิปัสสนานั้น อาศัยสติไปอบรมปัญญาให้รู้แจ้ง กล่าวคือวิปัสสนาต้องอาศัยภูมิเป็นที่ตั้ง ในการพิจารณารูปนาม เพราะภูมิต่างๆ ทางวิปัสสนานั้นทางปรมัตถธรรมจัดไว้เป็นรูปธรรมนามธรรม ไม่ว่าจะเป็นภูมิใดๆ เช่นในภูมิแห่งเบ็ญจขัณธ์ มี รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ รูปได้แก่ รูปส่วน    นามได้แก่เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ในภูมิแห่งอริยสัจ ๔   มี ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค รูปธรรมนามธรรมได้แก่ทุกข์ ส่วน “นามธรรม” ได้แก่ สมุทัย-นิโรธ-มรรค ดังนี้เป็นต้น เมื่อมีสติตั้งมั่นพิจารณารูปนามตามความเป็นจริงว่ามีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา และรูปนามนี้ไม่เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ถาวรแต่อย่างใด  มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปในที่สุด  ไม่มีอะไรเหลือปรากฏให้เห็นอยู่ต่อไปได้อีก  และก็ปราศจรากตัวตน ในขณะรูปนามเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปนั้น ก็เป็นทุกข์ทรมานด้วยความแก่ความเจ็บป่วย ความตาย รามความว่า ตั้งแต่รูปนามเกิดขึ้นจนวาระสุดท้ายคือ ความตายเป็นเครื่องทรมานจิตใจ ก่อให้เกิดความทุกข์โศกเดือดร้อนนา ๆ ประการ ในลักษณะธรรมชาติเช่นนี้จึงจัดเข้าหลักธรรมคือ “ไตรลักษณ์” ได้แก่ “อนิจจัง” ความไม่เที่ย “ทุกขัง” ความเป็นทุกข์ “อนัตตา” ความไม่มีตัวตน ทั้งนี้เพราะสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เป็นสิ่งสมมติขึ้นมาให้มีความหมาย เป็นที่เข้าใจกันได้สะดวกเท่านั้น เมื่อวิปัสนาย่างเข้าสู่ไตรลักษณ์แล้ว ก็จะมุ่งไปสู่ความรู้แจ้งในเรื่องทุกข์ เหตุของทุกข์ความดับทุกข์ หนทางแห่งความดับทุกข์ คือ “อริยสัจธรรม 4 ประการ”
          ไตรลักษณ์ เป็นผู้แจ้งให้ทราบว่า รูปนาม ล้วนเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่มีตัวตน การยึดถือเอาอัตภาพตัวตนว่ามีอยู่เป็นอยู่ ยึดถือเอาว่าของสิ่งนี้เป็นของตนทำให้การเห็นรูปนามไม่แจ่มแจ้งตามความจริง ตราบใดที่ยังมีการยึดถือเอาอัตภาพตัวตนอยู่อันเป็นเครื่องพันธนาการระหว่างรูปกับนาม ตราบนั้นก็ไม่สามารถจะแยกรูปนามได้ เมื่อแยกรูปนามออกได้ด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณแล้ว รูปธรรมและนามธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมก็ปรากฏให้เห็นได้ชัดเจน และเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาได้เป็นอย่างดี เมื่อมีสติพิจารณารูปนามในปัจจุบัน ปัญญาญาณจะเกิดขึ้นเป็นลำดับ เมื่อใดรู้ถึงความดับของรูปนามแต่ถ่ายเดียว ก็ย่อมหมายถึงความดับสิ้นแห่งความทุกข์ การที่เห็นรูปนามดับไปตามกำลังของวิปัสสนา เป็นปัจจัยนำไปสู่ มรรค ผล นิพพาน ด้วยลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ปัญญาวิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกองทุกข์ด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณหรือปัญญาญาณ
          แนวทางในการปฏิบัติสมถกรรมฐาน
          (The Method of Tranquillity)
          การปฏิบัติสมถกรรมฐาน จำเป็นต้องอาศัยการยกจิตของตนขึ้นสู่ธรรมหมวดหนึ่งในมรรค 8 คือ “สัมมาสมาธิ” เพราะเป็นการรวบรวมกำลังของจิตได้เป็นอย่างดี เมื่อจิตรวมกำลังลงเป็นหนึ่ง คือ เอกัคตาจิต (One – pointedness of Mind) แล้วก็เป็นฌานจิต ซึ่งจะเกิดจิตตาภินิหารหลายประการ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ดังนั้นการปฏิบัติสมถะก็คือการเจริญฌาน ฌานต้องมีอารมณ์หรือองค์เป็นเครื่องกำหนด โดยเฉพาะเป็นอย่าง ๆ ไป อารมณ์สมถะมีอยู่ด้วยกัน 40 อย่าง ได้แก่ กสิณ 10 อสุภะ 10 อนุสติ 10 พรหมวิหาร 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 ธาตุวัตถาน 1 อรูปฌาน 4
          กสิณ 10 ( The Ten Devices)
          กสิณคือเครื่องเพ่งทำให้จิตสงบ มีอยู่ 10 อย่าง ได้แก่
          1.ปฐวีกสิณ คือ การเพ่งธาตุดิน
          2.อาโปกสิณ คือการเพ่งธาตุน้ำ
          3.เตโชกสิณ คือการเพ่งธาตุไฟ
          4.วาโยกสิณ คือการเพ่งธาตุลม
          5.โอทาตกสิณ คือ การเพ่งสีขาว
          6.ปิตกสิณ คือ การเพ่งสีเหลือง
          7.โลหิตกสิณ คือ การเพ่งสีแดง
          8.นีลกสิณ คือ การเพ่งสีเขียว
          9.อากาสกสิณ คือ การเพ่งอากาศช่องว่าง
          10.อาโลกกสิณ คือ การเพ่งแสงสว่าง
          อสุภะ 10 (The Ten Impurities)
          อสุภะคือสิ่งที่ไม่สวยงาม น่าเกลียดน่ากลัวอย่างยิ่ง เมื่อนึกเปรียบเทียบกับสภาพที่มีชีวิตอยู่ จะทำให้เกิดความสลดใจ เกิดความสังเวชและเบื่อหน่าย คลายความกำหนัดในร่างกายของตัวเอง ที่เราสำคัญผิดคิดว่าเป็นตัวของเรา อสุภะในที่นี้ หมายถึงซากศพหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของคนตายไปแล้ว ตลอดจนถึงสัตว์ที่ตายด้วยมีอยู่ 10 ชนิดคือ
          1.อุทธุมาตกะ คือศพขึ้นอืด
          2.วินีลกะ คือศพขึ้นพองเขียว
          3.วิปุพพกะ คือ ศพเน่าเฟะ มีน้ำเหลืองและน้ำหนองไหลเยิ้ม
          4.วิฉิททกะ คือ ศพที่ขาดเป็นท่อน ๆ กระจัดกระจายส่งกลิ่นเหม็นฟุ้ง
          5.วิกขายิตตกะ คือ ศพที่ถูกสัตว์กัดกินเละเทะ
          6.วิกขิตตกะ คือ ศพที่มีอวัยวะต่างๆ กระจัดกระจายเกลื่อนกลาด
          7.หตวิกขิตตกะ คือ ศพที่ถูกสับเป็นท่อน ๆ หรือถูกฟันแทงยับเยินเป็นชิ้น ๆ
          8.โลหิตกะ คือ ศพที่เต็มไปด้วยเลือดอาบทั่วตัว
          9.ปุฬุวกะ คือ ศพที่เหลือแต่โครงกระดูก กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาด
          อนุสติ 10 (The  Ten  Recollections)
          คือการนึกถึงบุคคลและธรรม หรือความจริงอันจะก่อให้เกิดความเลื่อมใสซาบซึ้งในเหตุผล ทำให้เกิดความสงบทางจิตใจขึ้น เป็นอุบายที่หาได้ง่ายสะดวกสบายและทำได้ทุกโอกาสหรือสถานที่ มีอยู่ 10 ประการได้แก่
          1.พุทธานุสติ ได้แก่ การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า
          2.ธรรมานุสติ ได้แก่ การระลึกถึงคุณพระธรรม
          3.สังฆานุสติ ได้แก่ การระลึกถึงคุณพระสงฆ์
          4.ศีลานุสติ ได้แก่ การระลึกถึงศีล
          5.จาคานุสติ ได้แก่ การระลึกถึงการบริจาคทาน
          6.เทวตานุสต ได้แก่ การระลึกถึงเทวดา
          7.มรณานุสต ได้แก่ การระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ๆ
          8.กายคตานุสติ ได้แก่ การระลึกถึงร่างกายของตนเองอยู่เสมอ ๆ
          9.อานาปาณสติ ได้แก่ การระลึกถึงลมหายใจเข้าออกอยู่เสมอ ๆ
          10.อุปมานุสติ ได้แก่ การระลึกถึงคุณของพระนิพพานว่าเป็นความสุขอย่างยิ่ง ไม่มีสิ่งใดจะยิ่งไปกว่า ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกต่อไป
          พรหมวิหาร 4 (The four Supreme Modes of Living )
          พรหมวิหารเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเมตตา ความกรุณา มุทิตาและอุเบกขาเป็นคุณธรรมของบุคคลจำพวกหนึ่งที่อยู่ในพรหมโลก จึงได้นามว่า “พรหมวิหาร” หมายถึงการอบรมจิตใจโดยยึดถือเอาคุณธรรมของพรหมเป็นตัวอย่าง เรียกว่าเจริญพรหมวิหารอันเป็นคุณธรรมที่มีแต่ความเมตตา กรุณา  รักใคร่ เอ็นดู เช่นเดียวกับบิดามารดามีต่อบุตรและธิดาฉะนั้น และเมตตาธรรมเป็นส่วนสำคัญยิ่งในพรหมวิหาร 4 เพราะเป็นเครื่องค้ำจุนโลกในให้อยู่อย่างถาวรและสงบสุข ปราศจากการอิจฉาริษยาเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
          1.เมตตา (Loving Kindness)
          คือความหวังดีและความรักใคร่ปรารถนาดี และเป็นความรักใคร่ที่ปราศจากราคะความกำหนัด เช่นความรักระหว่างบิดามารดากับบุตรหรือธิดา
          2.กรุณา (Pity or Compassion)
          คือความเอ็นดู พอใจช่วยเหลือเกื้อกูลให้ผู้อื่นได้รับความสุขโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากและสิ่งตอบแทน
          3.มุทิตา (Sympathy or Appreciation)
          คือความยินดีพอใจในการช่วยเหลือ ให้ผู้อื่นได้รับความสุขความเจริญ หรือผู้ที่เขามีความสุขความเจริญอยู่แล้ว ซึ่งตรงข้ามกับความริษยา
          4.อุเบกขา (Equanimity)
          คือความเที่ยงธรรม ไม่ดีใจไม่เสียใจในอารมณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นและสามารถข่มกามราคะได้เป็นอย่างดี
          อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 (The Vontemplation of  the  Loathsomeness  of Nutriment)
          คือการกำหนดความน่าเกลียดในอาหาร ให้เป็นสิ่งปฏิกูลโสโครก ซึ้งโดยธรรมดาแล้ว เราจะไม่รู้สึกเกลียดอาหารเลย ถ้าเรารู้สึกเกลียดขึ้นมาจะกลืนอาหารนั้นเข้าไปไม่ได้สิ่งที่เราไม่เกลียดนั้นส่อให้เห็นว่า เรายังมีความพอใจที่อยากจะรับประทานอาหารนั้น ๆ ถ้าความอยากมีมากขึ้นก็จะเกิดทุกข์โทษ ทำให้เกิดความไม่สงบทั้งกายและใจ ดังนั้นการกำหนดอาหารเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ก็เพียงแต่จะให้เห็นว่าเรารับประทานอาหารเพื่อความเป็นอยู่ยังชีพของเราเท่านั้น มิใช่เราอยู่เพื่อแสวงหารรสชาติแห่งอาหาร อันจะทำให้จิตดิ้นรนขวนขวายไม่เป็นอันสงบลงได้
          ธาตุวัตถาน 1 (The Defining of the four Elements)
          คือการกำหนดธาตุทั้ง 4 คือ ดิน – น้ำ – ไฟ – ลม  อันมีอยู่ในกายของตนเองโดยการพิจารณาว่า ร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 และประชุมประกอบกันขึ้นเหมาะสมเป็นส่วนสัด ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย
          อรูปฌาน 4 (The four Formless States)
          คือสิ่งที่ไม่ใช่รูปหรือไม่มีรูป เป็นนามธรรม ที่ปรากฏแก่ใจหรือรู้สึกได้ด้วยใจให้นำมาบริกรรม เป็นข้ออบรมจิตใจให้สงบ มี 4 ประการ คือ
          1.อากาศ (The sphere of Infinite Space)
          ได้แก่ ความว่างเปล่า ปลอดโปร่ง ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่อาจสัมผัสได้ด้วยกาย ซึ่งผิดกับอากาศธาตุที่สัมผัสได้ด้วยกาย
          2.วิญญาณ (The sphere of Infinite Conscousness)
          วิญญาณในที่นี้ได้แก่ธาตุรู้ ซึ่งเป็นธาตุพิเศษมหัศจรรย์ มีรู้เป็นลักษณะ ประกอบด้วยแสงสี คือมีแสงสว่างและสีต่าง ๆ กัน วิญญาณที่ยังมีสี เป็นวิญญาณที่ยังไม่บริสุทธิ์ วิญญาณที่ปราศจากสีมีแต่ความสว่างคือแสง เป็นวิญญาณที่บริสุทธิ์
          3.ความไม่มีอะไร (The sphere of Nothingness)
          ได้แก่ความว่างโปร่งใจ ปราศจากความอึดอัดรำคาญ เหมือนหนึ่งตนเดียวอยู่ในที่โดดเดี่ยวแต่ลำพัง
          4.ความสงบ (The sphere of Neither perception nor Non perception)
          ได้แก่ความมั่นคงของจิตใจ และมีความประณีตละเอียดอ่อน
          วิธีปฏิบัติ วางสัญญาในอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปและอรูปเสีย กำหนดจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียวคือรูปกรรมฐานนี้อันใดอันหนึ่ง แม้แต่จะดำรงอยู่ได้เพียงชั่วขณะ ก็ได้ชื่อว่า สำเร็จอรูปณานแล้ว อรูปฌานที่ประณีตโดยอารมณ์ และเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานชนิดหนึ้ง ผู้ที่จะเจริญอรูปฌานนี้ได้ต้องเจริญรูปฌานสำเร็จมาก่อน
          สมถกรรมฐานทั้ง 40 ประการนี้ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือรูปกรรมฐานและอรูปกรรมฐาน ฌานที่สำเร็จขึ้นโดยอาศัยรูปกรรมฐานเป็นอารมณ์เรียกว่า “ รูปฌาน” ฌานที่สำเร็จขึ้นโดยอาศัยอรูปกรรมฐานเป้นอารมณ์เรียกว่า “อรูปฌาน”
          วิปัสสนาญาณ 16
          เมื่อได้ทราบถึงวิธีปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักธรรมชาติและหลักวิชชามาพอสมควรบ้างแล้ว เพื่อความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติต่อไป ผู้ปฏิบัตจำเป็นต้องรู้ถึงภูมิหรือที่ตั้งแห่งอารมณ์ของวิปัสสนาเป็นเครื่องประกอบ จึงจะสมบูรณ์และถูกต้องดี ภูมิหรือที่ตั้งแห่งอารมณ์ของวิปัสสนามีมากมายหลายประการด้วยกัน บุคคลเราที่มีกิเลสครอบงำจิตใจก็เพราะมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอารมณ์เป็นปัจจัย มีที่อาศัยคือสภาวธาตุที่อยู่ในร่างกายและจิตใจเรานั่นเอง เมื่อไม่รู้ความจริงของสภาวธาตุภายใน และอารมณ์เพียงใด ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสเพียงนั้น ฉะนั้นการปฏิบัติวิปัสสนา จึงหมายถึงการพิจารณาสภาวธาตุภายในร่างกายจิตใจและอารมณ์ที่มาสัมปยุต ให้รู้เห็นแจ่มแจ้งตามความเป็นจริง
          ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์วิปัสสนานั้นได้แก่ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท 12 ซึ่งผู้ปฏิบัติควรค้นคว้าเอาเอง อย่างไรก็ดีภูมิหรือหลักธรรมต่าง ๆเหล่านี้จัดไว้เป็น 2 ประการคือ รูปและนาม รูปคือลักษณะที่เข้าไปเห็น นามคือลักษณะที่เข้าไปรู้ เช่นตาเห็นรูป จิตรู้รูป ตาจึงจัดเป็นรูป จิตจึงจัดเป็นนาม ดังนี้เป็นต้น การพิจารณารูปนามตามหลักธรรมเหล่านี้ต้องพิจารณาในปัจจุบันนี้เท่านั้น ไม่ต้องคำนึงถึงอดีตหรืออนาคตแต่อย่างใด เพราะอดีตรูปนามก็ผ่านไปแล้วไม่มี อนาคตรูปนามก็ยังไม่เกิด ไม่อาจจะนำเอามาพิจารณาได้ ดังนั้นการพิจารณารูปนามที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นการถูกต้อง  เหมาะสมทั้งทางธรรมชาติและทางวิชชาการพิจารณารูปนามในทางวิปัสสนา ทำให้เกิดญาณทัสนะขึ้นไปเป็นลำดับ ดังได้กล่าวมาแล้วในวิสุทธิ 7 นั้นมีเพียง 9 ญาณเท่านั้น แต่ในที่นี้จะขอกล่าวรวมทั้ง 16 ญาณพร้อมทั้งอุปมาอุปไมยเพื่อให้เห็นชัดยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้
ญาณที่           1.นามรูปปริเฉทญาณ
          ความรู้จักรูปและนาม ได้แก่ความรู้ตัวเองว่าเป็นอะไร เปรียบเหมือนผู้ชายคนหนึ่งกำลังนอน
ญาณที่ 2.นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ
          ความรู้ว่ารูปและนามเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน คือเมื่อมีรูปก็ต้องมีนาม เมื่อมีนามก็ต้องมีรูป เปรียบเหมือนบุคคลผู้นั้นใกล้จะตื่น
ญาณที่ 3.สัมมสนญาณ
          ความรู้เห็นรูปนามเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหมือนบุรุษผู้นั้นตื่นขึ้นเห็นแสงไฟ
ญาณที่           4.อุทยัพพยญาณ
          เห็นรูปนามทั้งเกิดทั้งดับพร้อมกันไปกับวิปัสสนา ผู้รู้ก็ดับไปด้วย รู้รูปนามแจ่มแจ้งขึ้น และรู้ว่ารูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชัดแจ้งขึ้นตามกำลัง เปรียบเหมือนเห็นไฟกำลังไหม้
ญาณที่ 5.ภังคญาณ
          ญาณเห็นรูปนามดับถี่ขึ้นไปกว่าเดิม เปรียบเหมือนเห็นไฟลุกใกล้เข้ามา
ญาณที่ 6 ภยตูปัฏฐานญาณ
          ญาณเห็นรูปนามดับถี่ขึ้นไปกว่าเดิม เปรียบเหมือนเห็นไฟนั้นจะไหม้ตนน่ากลัว
ญาณที่ 7.อาทีนวญาณ
          ญาณที่เห็นรูปนามดับไป ๆ เป็นโทษทุกข์ ไม่มีความปรารถนายึดรูปนามใดๆ ไว้เลย เปรียบเหมือนเห็นไฟนั้นเป็นโทษอย่างรุนแรง
ญาณที่ 8. นิพพิทาญาณ
          ญาณเห็นรูปนามดับไป ๆ เป็นที่น่าเบื่อหน่ายปราศจากความยินดีในรูปนามนั้นเปรียบเหมือนเบื่อหน่ายต่อไปนั้น
ญาณที่ 9.ญาณเห็นรูปนามดับไปๆ ใคร่จะหนีให้พ้น ปรารถนาจะปลดเปลื้องรูปนามให้หมดไป เปรียบเมือนหาทางหนีไฟนั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น