หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปรัชญาอินเดีย,จริยธรรมศาสตร์ ของพุทธ


ปรัชญาอินเดีย ๑  (อัตนัย)

ปรัชญาเชน หรือ ไชนะ

ชีวะ

 ชีวะ  วิญญาณอันมีสัมปชัญญะหรือพิชาน (Concious Object)
          ชีวะ ในปรัชญาเชน หมายถึงวิญญาณอย่างเดียว มิได้หมายถึงร่างกาย  ชีวะตามภาษาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เรียกว่า อินทรีย์”  ตามทัศนะของเชน ชีวะวะมีอยู่ทุกหนทุกแห่งในสากลจักรวาล ที่สิงสถิตอยู่ในร่างกาย และไม่สิงสถิตอยู่ในร่างกาย  ชีวะยังแบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด  คือ
          มุกตชีวะ ได้แก่ ชีวะที่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสาร
          พัทธชีวะ ได้แก่ ชีวะที่ยังไม่หลุดพ้น ต้องเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสาร
          สำหรับพัทธชีวะ ยังแยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ ตรสะและสถารวะ
                   .ตรสะ ได้แก่ ชีวะที่เคลื่อนไหวได้ สามารถแบ่งออกได้ ๔ ชนิด  คือ
-          หนอน  มีปราสาทสัมผัส ๒ ทาง คือ ทางกายกับลิ้น
-          มด  มีประสาทสัมผัส ๓ ทาง คือ ทางกาย ลิ้น จมูก
-          ผึ้ง แมลงภู่ มีประสาทสัมผัส ๔ ทาง คือ ทางกาย ลิ้น จมูก ตา และ
-          มนุษย์ มีประสาทสัมผัส ๕ ทาง คือ ทางกาย ลิ้น จมูก ตา และหู  แต่บางสำนักยังเพิ่มประสาทสัมผัสอีกชนิดหนึ่ง คือ ใจ  เรียกว่าประสาททั้ง ๖ 
.สถารวะ ได้แก่ ประเภทที่เคลื่อนไหวไม่ได้   ชีวะประเภทนี้ต้องอาศัยอยู่ในปรมณู ๔ คือ ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม และพืชต่าง ๆ  มีความรู้สึกทางเดียว คือ ทางกายสัมผัส
สรูป  คือ  ปรัชญาเชนถือว่า ชีวะเป็นสภาพของจริง ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร เป็นสิ่งมีความรู้ มีอยู่มากมายเหลือคณานับ ซึ่งนักปรัชญาเชนได้แบ่งชีวะกลุ่มต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ไว้เพียง ๒ กลุ่ม  คือ
          กลุ่มชีวะที่หลุดพ้น
          กลุ่มชีวะที่ยังไม่หลุดพ้น
          และการที่ชีวะจะเข้าสู่ภาวะแห่งโมกษะได้นั้น จะต้องปฏิบัติทรมานร่างกายอย่างเข้มงวด เพื่อทำลายกรรมเก่า และไม่สร้างกรรมใหม่ เพื่อปลดเปลื้องจากพันธนาการทั้งปวง อันเป็นจุดหมายสูงสุดของปรัชญาเชน

อชีวะ

อชีวะ  ได้แก่ สิ่งที่มิใช่วิญญาณและปราศจากสัมปชัญญะ (Non Concious Object) หรือภาษาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เรียกว่า อนินทรีย์”   อชีวะสามารถแบ่งออกได้ ๕ ประเภท  คือ
วัตถุหรือสสาร หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปุทคละหมายถึง สิ่งที่มีรูปร่าง สามารถมองเห็นได้และสัมผัสได้ มีคุณสมบัติ คือ มีรส มีกลิ่น มีสี

          ที่ว่างหรืออากาศะ  หมายถึง สภาพที่ว่างเปล่าปราศจากวัตถุหรือสสารใด ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์

          เวลาหรือกาละ  หมายถึง ทรัพยะหรือสสารชนิดหนึ่ง ไม่สามารถแบ่งแยกได้ เป็นเวลาเดียวกันปรากฎอยู่ในที่ทุกแห่งทั่วโลก  แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ

                   .. เวลาที่แท้ ได้แก่ เวลาที่ต่อเนื่องกันเรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด

                   .. เวลาสมมติขึ้น  ได้แก่ วินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี

          การเคลื่อนไหวหรือธรรมะ  หมายถึง กฎแห่งการเคลื่อนที่ เป็นสิ่งที่มีอยู่ เป็นสิ่งที่แท้จริง ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส แต่รับรู้ได้ด้วยการอนุมาน  มีสภาพที่แท้จริง ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์
          การหยุดนิ่งหรืออธรรมะ  หมายถึง กฎแห่งการหยุดนิ่ง  อธรรมะเป็นสิ่งที่มีอยู่ เป็นสิ่งที่แท้จริง การมีอยู่ของอธรรมะไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส แต่รับรู้ได้ด้วยการอนุมาน  อธรรมะเป็นวัตถุหรือสสารชนิดหนึ่ง ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์
          ดังนั้น  อชีวะทั้ง ๕ นี้  เมื่อรวมกันเข้าจึงเป็นปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในโลกภายนอก หากอชีวะประเภทใดประเภทหนึ่งนี้ขาดไป  เราจะไม่สามารถบรรยายเกี่ยวกับโลกภายนอกได้อย่าง บริบูรณ์


จริยธรรมศาสตร์  ของพุทธ
         
พุทธปรัชญากำหนดหลักจริยศาสตร์ไว้ ๓ ระดับ เพื่อผู้ปฏิบัติตามจะได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติของตน ๆ  ได้แก่
          จริยศาสตร์เบื้องต้น  ได้แก่ เบญจศีล (ศีล ๕) และเบญจธรรม (ธรรม ๕)
                   .๑  เบญจศีลหรือศีล ๕  เป็นข้อบัญญัติพึงงดเว้นหรือละเว้นไม่ให้ปฏิบัติ
                   .๒  เบญจธรรมหรือธรรม ๕ เป็นข้อที่ควรปฏิบัติ อันจะนำไปสู่ความดีฝ่ายเดียว  เป็นธรรมที่สนับสนุนที่ช่วยให้บุคคลไม่ประพฤติผิดศีล ๕ ด้วย  ดังนั้น เบญจศีลและเบญจธรรมจึงเป็นของคู่กัน
          จริยศาสตร์ขั้นกลาง  ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติ เป็นทางแห่งความดี ได้รับผลดีฝ่ายเดียว  สามารถแบ่งออกเป็น ๓ หมวด คือ กายกรรม ๓  วจีกรรม ๔  มโนกรรม ๓  ดังนี้  คือ
                   .๑ กายกรรม ๓ คือ ความประพฤติดีทางกาย
-          เว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน
-          เว้นจากการลักทรัพย์
-          เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
.๒  วจีกรรม ๔  คือ การประพฤติดีทางวาจา
-          เว้นจากการพูดปด
-          เว้นจากการพูดส่อเสียด
-          เว้นจากการพูดเท็จ
-          เว้นจากการพูดคำหยาบ

จริยศาสตร์ขั้นสูง  ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘  ได้แก่

                   .๑  สัมมาทิฏฐิ         คือ  ความเห็นชอบ

                   .๒  สัมมาสังกัปปะ  คือ  ความดำริชอบ

                   .๓  สัมมาวาจา        คือ  การเจรจาชอบ

                    .๔  สัมมากัมมันตะ  คือ  การงานชอบ

                   .๕  สัมมาอาชีวะ      คือ  การเลี้ยงชีพชอบ

                   .๖  สัมมาวายามะ    คือ  ความพยายามชอบ

                   .๗  สัมมาสติ           คือ  ความระลึกชอบ

                   .๘  สัมมาสมาธิ       คือ  ความตั้งใจไว้ชอบ 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น