หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีขัดแย้ง,ทฤษฎีการขัดแย้งเป็นทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม


วิเคราะห์สังคมไทยโดยใช้ทฤษฎีขัดแย้ง

ทฤษฎีขัดแย้ง

ทฤษฎีขัดแย้ง มีสมมุติฐานสำคัญว่า สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่มีการขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนในสังคม ส่วนกลุ่ม เรียกว่า กลุ่ม มี กับกลุ่ม ไม่มี กลุ่มมีเป็นกลุ่มเล็กแต่มีเงิน มีอำนาจหรือเกียรติยศสูงในสังคม จึงสามารถควบคุมหรือบีบบังคับ บางครั้งเอารัดเอาเปรียบกลุ่มไม่มี ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่แต่ไม่มีเงินหรืออำนาจมาต่อรอง สังคมมีระเบียบ ยึดเหนี่ยวกันเป็นสังคมอยู่ได้ก็เพราะการควบคุมบีบบังคับเช่นนี้
          หลักการต้นความคิดของทฤษฎีนี้มาจากปรัชญา เรื่องวิภาษวิธี (dialectic) ที่ตอนแรกใช้กับความคิดทั่วๆ ไปว่าความคิดใดเมื่อเริ่มต้นขึ้นแล้ว ต่อมาก็จะมีความคิดใหม่เกิดขึ้นมาแย้ง แล้วความคิดเดิมกับความคิดใหม่จะผสมผสานเข้าด้วยกัน กลายเป็นความคิดใหม่ขึ้นมาอีก แล้วความคิดใหม่นี้จะถูกคัดค้านและผสมผสานกันเป็นความคิดใหม่ต่อไปเรื่อยๆ ต่อมามีผู้นำเอาหลักการนี้มาใช้กับสังคมมนุษย์ โดยกล่าวว่าสังคมมนุษย์ก็มีการขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มมีและไม่มีดังกล่าว ตอนแรกสิ่งที่ มี นั้น  ถือเอาวัตถุสิ่งของหรือทรัพย์สมบัติเป็นหลัก ต่อมาก็ได้มีการปรับปรุงให้หมายถึงอำนาจ เกียรติยศชื่อเสียงและอภิสิทธิ์เข้าไปด้วย ความหมายจึงกว้างขวางขึ้น
          ในขณะที่ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยมมองสังคมในแง่ดี มีเสถียรภาพเสมอภาค จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เป็นแบบช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ทฤษฎีขัดแย้งออกจะมองสังคมในแง่ร้าย แม้จะมีความเป็นระเบียบอยู่ได้ แต่อยู่ด้วยความไม่เสมอภาค มีการกดขี่ มีการบีบบังคับกันอยู่ การเปลี่ยนแปลงที่ทฤษฎีวาดภาพไว้จะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง หักโค่น เพราะเป็นการต่อสู้ระหว่างคนมีกับคนไม่มี คนที่มีเงินมีอำนาจกับคนที่ไม่มีทั้งเงินและอำนาจแต่มีจำนวนคนมากกว่า
          ประพจน์สำคัญจากทฤษฎีนี้อาจสร้างได้ดังนี้
1.      ความเป็นระเบียบในสังคมมนุษย์ ขึ้นอยู่กับการกดขี่ของคนกลุ่มหนึ่งเหนือคนอีกกลุ่มหนึ่ง
2.      ชนชั้นในสังคมชนชั้นต่างๆ เกิดจากการแบ่งปันทรัพย์สิน อำนาจ หรือเกียรติยศ อภิสิทธิ์อย่างไม่เท่าเทียมกัน
3.      การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เกิดจากการขัดแย้งภายในสังคม
4.      การเปลี่ยนแปลงทางสังคม จะเกิดผลอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม
5.      ปัญหาสังคมเกิดจากการแบ่งปันของหายาก และมีอยู่จำกัดในสังคม
6.      นักการเมือง ข้าราชการพลเรือน ทหาร กฎหมาย ศาสนาในสังคม เป็นเครื่องมือของกลุ่ม มี ทั้งสิ้น
7.      การขัดแย้งในสังคมบางกรณี ช่วยทำให้เกิดความมั่นคงในกลุ่มขึ้นได้

          ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา
Dialectic            วิภาษวิธี สิ่งใด ๆ ประกอบด้วยสามส่วน Thesis-antithesis synthesis ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งนั้นๆ อยู่เสมอ
Structuralism     โครงสร้างนิยม สิ่งใดๆ ประกอบขึ้นด้วยส่วนต่างๆ แต่ละส่วนมีอิทธิพลต่อกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงในส่วนหนึ่งย่อมก่อผลกระทบไปยังอีกส่วนหนึ่ง
Realism             สัจนิยม สิ่งสากลมีอยู่จริง
Materialism        วัตถุนิยม วัดค่าสิ่งใดด้วยวัตถุหรือเงิน

          สาระสำคัญ
1.      ทุกหน่วยของสังคมอาจเปลี่ยนแปลงได้
2.      ทุกหน่วยของสังคมเป็นบ่อเกิดของการขัดแย้ง
3.      ทุกหน่วยของสังคมมีส่วนส่งเสริมความไม่เป็นปึกแผ่นและการเปลี่ยนแปลง
4.      ทุกสังคมจะมีคนกลุ่มหนึ่งควบคุมบังคับคนอีกกลุ่มหนึ่งให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม   
          นักทฤษฎีสำคัญ
          จอร์จ เฮเกล (George Hegel)
          คาร์ล มากซ์ (Karl Mark)
          เอฟ. เอ็นเจลส์ (F. Engels)
          ราฟ ดาห์เรนดอฟ (Ralf Dahrendor)
          เดวิด ล๊อควูด (David Lockwood)
         
ทฤษฎีการขัดแย้งเป็นทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
         
ทฤษฎีการขัดแย้งเป็นทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลมากใน ปัจจุบันหลักการสำคัญของกลุ่มนี้เน้นว่า ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็คือความขัดแย้งและความขัดแย้งทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าไปสู่ภาวะที่ดีขึ้น ถ้าสังคมไม่มีความขัดแย้งเลยการเปลี่ยนแปลงอาจไม่เกิดขึ้น
          ความขัดแย้งนั้นมิได้มีอยู่เฉพาะทางสังคมเท่านั้นแต่เป็นปรากฏการณ์ทั่ว ๆ ไป แม้แต่ในตัวของคนเราเองก็มีความขัดแย้ง เช่น ในทางความคิด ความประพฤติปฏิบัติต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ความขัดแย้ง ในตัวคนเราก็ทำให้มีการปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น
          นักปรัชญาและนักสังคมศาสตร์ในกลุ่มนี้มีด้วยกันหลายคน คาร์ล ไฮริช มาร์กซ์ (C.H.Marx) นับว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้มีส่วนในการพัฒนาทฤษฎีการขัดแย้งให้มีอำนาจในการอธิบายมากขึ้น มาร์กซ์ ถือว่าสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ ความขัดแย้งที่เกิดมาจากกระบวนการผลิต (Mode of Production) เขาอธิบายว่าจากประวัติศาสตร์มนุษย์เป็นผู้เปลี่ยนแปลงสังคมในกระบวนการที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตของตนเองก็เพื่อเอาชนะธรรมชาติ ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าในขณะที่สัตว์ประเภทอื่นดำรงชีวิตอยู่ด้วยการปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติมนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่สามารถเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเพื่อประโยชน์ของมนุษย์เองโดยการผลิดปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของตนเอง มาร์กซ์อธิบายว่าในสังคมจะมีคนอยู่ด้วย 2 ชั้น คือ ผู้ผลิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ไม่มีทรัพย์สินและขายแรงงานกับผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตซึ่งมีอำนาจและควบคุมระบบการผลิตเอาไว้
          มาร์กซ์ เน้นว่าการขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างชนสองชั้นนี้เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้ การต่อสู้ระหว่างทาสกับนาย ลูกจ้างกับเจ้าครองแคว้น กรรมาชนกับนายทุนเป็นหลักฐานทางประวัติศาตร์ที่แสดงให้เห็นการขัดแย้งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างเด่นชัด
          ความจริงมาร์กซ์ไม่ได้เป็นคนริเริ่มทฤษฎีขัดแย้งนี้โดยตรงแต่เขาได้นำเอาระบบ (System) การขัดแย้งตามความคิดของคานต์ (Emanuel Kant) ซึ่งอธิบายในระดับบุคคล และของเฮเกล (Hegel) ซึ่งอธิบายในระดับกลุ่มคนมาผสมผสานกับแนวความคิดวัตถุนิยม (Materialism) ของฟอยเออร์บาค (Feurbach) กลายเป็นวิภาษวิธีแห่งการเปลี่ยนแปลงโดยมีเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด (Economic determination) ซึ่งเขียนเป็นหลักเกณฑ์ดังนี้

ข้อสรุป
 

                               ข้อเสนอ  (Thesis)              ข้อแย้ง  (Antithesis)

          ดาเรนดอร์ฟ (Ralf Dahredorf) นักสังคมวิทยาเยอรมันรุ่นต่อมาได้โต้แย้งมาร์กซ์ในข้อที่ว่าปัจจัยรากฐานของการขัดแย้งนั้นอยู่ที่อำนาจชนชั้นมิใช่อยู่ที่เศรษฐกิจ ความขัดแย้งเป็นสาระของระบบสังคมและมีอยู่เสมอ ฉะนั้นเมื่อใดที่เกิดกลุ่มสังคมกลุ่มนี้จะมีลักษณะของการจัดอำนาจระหว่างหัวหน้าและลูกน้องหรือกล่าวได้ว่า ภายในกลุ่มจะมีผู้มีอิทธิพล และผู้ที่ถูกอิทธิพล ตามปกติคนในกลุ่มยังมิได้ตระหนักในความแตกต่างของอำนาจก็จะไม่มีการขัดแย้ง แต่ถ้าเมื่อใดเกิดความตระหนักว่ามีอิทธิพลและมีการบีบบังคับเกิดขึ้นก็จะเป็นจุดเริ่มของการขัดแย้งระหว่างชนชั้นที่มีอำนาจและไม่มีอำนาจ เมื่อมีการขัดแย้งระหว่างชนชั้นผลของการขัดแย้งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1.      การขัดแย้งในพื้นฐาน
ความขัดแย้งในระดับพื้นฐานนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ขึ้นอยู่กับระดับความแตกต่างระหว่างชนชั้นว่าชัดแจ้งเพียงใด ถ้ามีมากอัตราความขัดแย้งจะสูง แต่ปริมาณกลุ่มย่อยถ้ามีมากจะลดความขัดแย้งลง หรือโอกาสในการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ ถ้าโอกาสของการเลื่อนสถานภาพสูงขึ้นได้อัตราการขัดแย้งจะลดลงเช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกัน ถ้าหากเพิ่มอัตราการขัดแย้งก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่กว้างขวางลึกซึ้งในโครงสร้าง ซึ่งหมายถึงว่าโครงสร้างสังคมเก่าจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย อาทิเช่น กรณีเดือนตุลาคม ปี 2516 หรือเดือนตุลาคม ปี 2519 เป็นต้น

2.  การขัดแย้งขั้นรุนแรง  (Violence conflict)
          อัตราการขัดแย้งชนิดนี้จะมากน้อยย่อมแล้วแต่ปริมาณของกลุ่มย่อยที่จะสามารถรวมตัวกันได้เพียงใดถ้ารวมตัวกันได้ก็จะรุนแรงมากขึ้น และถ้ามีการปรับแก้ระบบของรางวัลและการลงโทษไปในทางคล้อยตามก็ย่อมจะลดอัตราการขัดแย้งลง และควบคุมการขัดแย้งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          อย่างไรก็ตามการขัดแย้งนี้ถ้ารุนแรงไม่สามารถควบคุมได้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ซึ่งอาจมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลผู้ปกครองได้

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
         
ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยนี้จะพิจารณาจากตัวแปร 4 ประการด้วยกันคือ การเปลี่ยนแปลงของขนาดกลุ่มคน โครงสร้างของสังคม ค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมของสมาชิกสังคม
1.  การเปลี่ยนแปลงของขนาดกลุ่มคน
ในระยะแรกที่คนไทยอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนอันเป็นประเทศไทยปัจจุบัน ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยตัวเอง และอยู่กันเหมือนครอบครัวใหญ่ หลักสำคัญในการรวมกลุ่มกันคือ ระบบครอบครัวกและเครือญาติ กล่าวคือ การอยู่ร่วมกันของคนไทยในระยะแรก ๆ นี้ถือเหตุผลแห่งความเป็นเครือญาติเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกัน ต่อจากนั้นก็ขยายระบบเครือญาติออกมาใช้เป็นรูปแบบของการปกครองกันหัวหน้ากลุ่มเรียกว่าพ่อบ้าน ลูกกลุ่มเรียกว่าลูกบ้าน ในระยะแรก ๆ ความสำคัญของไพร่พลเป็นปัจจัยที่สำคัญของการปกครอง ฉะนั้นจะเห็นว่าดินแดนที่เป็นประเทศไทยนี้มีการแบ่งแยกกลุ่มคนออกเป็นหลายกลุ่มหรือหลายอาณาจักร บางกลุ่มก็ไม่ยอมขึ้นกับใคร บ้างก็ยอมอยู่ใต้อำนาจของเจ้าถิ่นเดิมซึ่งเป็นชนชาติอื่น แต่ในที่สุดกลุ่มคนไทยอิสระที่สุโขทัยก็สามารถแผ่อาณาเขตได้กว้างขวางครอบครองกลุ่มอื่นได้มากมาย ประมาณ พ.. 1800 ตั้งแต่นี้เป็นต้นมาแม้ว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงศูนย์การปกครองมาเป็นกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ก็ตาม ถือว่าเป็นการวิวัฒนาการของสังคมไทยโดยสิ้นเชิง
เมื่อพิจารณาถึงจำนวนประชากรของกลุ่มต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มตั้งถิ่นฐานนั้นมีจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ตามจำนวนประชากรของไทยนับตั้งแต่ปี พ.. 1743 จนถึงปี พ.. 2453 มีประชากรไม่เกิน 8 ล้านคน ต่อมาในปี พ.. 2503 ประเทศไทยได้จัดให้มีการทำสำมะโนประชากรเพื่อดูจำนวนการเพิ่มขึ้นที่แน่นอนและลักษณะการกระจายตัวก็พบว่าประเทศไทยมีประชากรถึง 26 ล้านคนเศษ

ต่อมาในปี พ.. 2513 ได้มีการสำรวจสำมะโนอีกพบว่าประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 36 ล้านคนเศษ ในรอบ 10 ปี 2503 ถึงปี 2513 นี้พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 30 ต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นมีอัตราเพิ่มเป็นอันดับ 3 ของโลก และคาดว่าจำนวนประชากรของไทยจะเพิ่มเป็น 1 เท่าตัวในอีก 23 ปีข้างหน้าถ้าอัตราการเพิ่มยังคงอยู่ในระดับเช่นนี้
การเพิ่มจำนวนประชากรของไทยมีลักษณะเช่นเดียวกันกับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย คือมีอัตราการเกิดสูงแต่อัตราการตายลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางการแพทย์ การ
สาธารณสุข และการรวมตัวของชุมชนต่าง ๆ กลายเป็นเมือง ประชากรมีอายุยืนขึ้น ลักษณะการเพิ่มประชากรในอัตราสูงขึ้นนี้ย่อมมีผลต่ออัตราส่วนของผู้ถูกเลี้ยงดูสูง กล่าวคืออัตราส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีถึงร้อยละ 43 ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ มีเพียงร้อยละ 30 ฝรั่งเศสร้อยละ 25 ญี่ปุ่นร้อยละ 25 เท่านั้น
          อัตราการเพิ่มประชากรสูงเช่นนี้ย่อมเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศใดส่วนรวมเป็นอย่างมากดังนั้น ในปี พ.. 2514 รัฐบาลจึงประกาศใช้นโยบายประชากรเพื่อให้อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในภาวะที่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมีทางเป็นไปได้ การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วในยุคใหม่นี้ไม่ใช่เป็นการเพิ่มเฉพาะจำนวนหรือเพิ่มเฉพาะปริมาณเท่านั้น หากได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านคุณภาพด้วย หมายความว่า ประชากรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นนี้มิใช่เพิ่มแต่จำนวน แต่ได้เพิ่มความคาดหวังขึ้นมาด้วยในส่วนต่าง ๆ ของภูมิภาคคือคนไทยต้องการชีวิตที่อยู่ดีกินดีมากยิ่งขึ้นต้องการสวัสดิการความช่วยเหลือจากรัฐบาลยิ่งขึ้น คนสมัยก่อนไม่เคยเรียกร้องอะไร เดี๋ยวนี้เรียกร้องมากขึ้น ตัวอย่างเช่น แต่ก่อนชาวนาไทยไม่เคยมาเดินขบวนร้องเรียนผู้ว่าฯ หรือคนใช้แรงงาน กรรมกรไม่เคยมาเดินขบวนเรียกร้องขอขึ้นค่าแรง เดี๋ยวนี้เราไม่ใช้อำนาจในการกดเขาไว้ เปิดโอกาสให้เขาไว้ เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงออกซึ่งความต้องการหรือระดับความคาดหวังที่สูงขึ้นมา
2.      การเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างของสังคม
การเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างของสังคมไทยนี้จะพิจารณาสังคมไทยในฐานะที่เป็นระบบของความสัมพันธ์ของบุคคลและกลุ่มคนอยู่ในอาณาบริเวณ ที่มีสัญลักษณ์ และวิธีการดำเนิน

ชีวิตในอันที่ก่อให้เกิดเอกลักษณ์ของไทย ถ้าพิจารณาสังคมไทยในปัจจุบันนี้ก็จะเห็นได้ว่าสภาพการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงไปในที่สุดซึ่งคาดว่าอาจเปลี่ยนไปสู่การประนีประนอมหรือการขัดแย้งก็ได้

          โดยที่สังคมไทยกำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านจึงเห็นได้ว่าระบบครอบครัวและเครือญาติของไทยในส่วนที่ใช้ถ้อยคำเรียกญาติพี่น้องตามประเภทและระดับอายุต่าง ๆ ยังคงเหมือนกับคนไทยสมัยก่อนรูปแบบของครอบครัวยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก สามีกับภรรยา ฯลฯ ก็มีเปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และภาระหน้าที่สังคมของแต่ละบุคคลในสภาพชีวิตสมัยใหม่ทั่วในเมือง และชนบทไม่เป็นไปเช่นสมัยก่อน กฎหมายลักษณะผัวเมียปัจจุบันอนุญาตให้ชายไทยมีภรรยาจดทะเบียนได้ถูกต้องตามกฎหมายได้เพียงคนเดียวซึ่งแต่เดิมกฎหมายตราสามดวงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นให้ชายมีภรรยาได้พร้อม ๆ กันหลายคนและหลายประเภท พิธีแต่งงานของคนไทยปัจจุบันก็ไม่เป็นไปตามธรรมเนียมของคนไทยสมัยก่อนเสมอไป เช่น ประเพณีคลุมถุงชนที่ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายไม่รู้จักกัน หรือบางทีไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อนเลย ไม่เคยเรียนรู้นิสัยใจคอซึ่งกันและกัน แต่พ่อแม่เห็นดีเห็นงามให้แต่งงานกันได้ลดลงไปถึงแม้ว่าภาษาและอักษรไทยจะยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจนจำไม่ได้การเรียนรู้การเขียนซึ่งในสมัยก่อนเว้นอภิสิทธิ์เฉพาะเด็กผู้ชาย และมีแพร่หลายเฉพาะในรั้วในวังและมีครูสอนเป็นพระส่วนใหญ่ มาสมัยนี้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กหญิงต้องเข้ารับการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายอย่างเสมอหน้ากันและครูผู้สอนก็ไม่ได้บวชเรียนเป็นพระ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่แต่เดิมมีลักษณะที่เรียกว่า ระบบอุปถัมภ์ในปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่แต่ได้เปลี่ยนรูปไปในลักษณะแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันอย่างเห็นได้ชัด
          โครงสร้างของสังคมนั้นจะสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจและการปกครองของแต่ละยุคและโครงสร้างของสังคมย่อมเปลี่ยนแปลงไป ถ้าระบบเศรษฐกิจและการปกครองเปลี่ยนแปลงไประบบเศรษฐกิจของไทยแต่เดิมมาเป็นการผลิตพอยังชีพเท่านั้น ภายหลังสนธิสัญญาเบาริงไปแล้วระบบเศรษฐกิจได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นการผลิตเพื่อการตลาดมากขึ้น การเน้นการซื้อขายผลผลิตในปัจจุบันบทบาทของพ่อค้าคนกลางของระบบการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศย่อมมีความหมาย มีความสำคัญขึ้นทุกระดับ
          นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจมีความต้องการเงินหมุนเวียนมากขึ้นในกระบวนการผลิตและการจำหน่ายบุคคลประเภทนายทุนนักการเงิน การธนาคาร ผู้ประกอบการก็ต้องการผลตอบแทน เงินทุนเหล่านี้ย่อมกระทบกระเทือนผลประโยชน์ของฝ่านแรงงานและผู้บริโภคนำไปสู่การขัดแย้งขึ้นได้ ในปัจจุบันในกระบวนการผลิตของระบบเศรษฐกิจปัจจุบันในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมมีการจ้างงานลูกจ้างในไร่นาและกรรมกรในโรงงานซึ่งถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญด้วย บุคคลเหล่านี้ไม่เคยมีอยู่ในโครงสร้างสังคมและระบบเศรษฐกิจแบบประเพณีเดิม บทบาทของแรงงานจะมีมากน้อยตามผลงานในระบบการผลิต ทำให้ต่อรองค่าตอบแทนจากฝ่ายเจ้าของทุนและกิจการได้ ถ้าคนจำนวนมากในสังคมเป็นแรงงานเช่นนี้ก็จะรวมกันเป็นกลุ่มหรือชนชั้นใหม่มีพลังต่อรองกับกลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ ได้อย่างไม่เคยปรากฎในโครงสร้างดั้งเดิมแต่อย่างใด
          ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบันซึ่งมีอาชีพมากมายหลายประเภทให้บุคคลเลือกประกอบได้ตามความถนัดตามความสนใจกและโอกาสแต่ความรู้ความถนัดที่จะประกอบอาชีพนี้อาจไม่ได้ถ่ายทอดจากครอบครัวเหมือนในสมัยก่อนจึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมวิชาชีพในสถาบันการศึกษาหรือสถาบันฝึกฝีมือแรงงาน ช่วงเวลาของการศึกษาอบรมจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละวิชาชีพ บุคคลที่อยู่ในบทบาทของนักศึกษาเป็นระยะเวลานาน ๆ นี้ย่อมมีโอกาสได้รับความรู้ความคิดทั้งที่เป็นวิชาการและนอกเหนือไปจากนั้นและเป็นความรู้ความคิดของคนหนุ่มสาวที่อาจแตกต่างไปจากความคิดของคนรุ่นเก่า ทำให้กลุ่มนักเรียนนักศึกษากลายเป็นกลุ่มสังคมใหม่ซึ่งมีบทบาทของตนเอง บางครั้งร่วมมือขัดขวางกลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ตนเห็นว่าเอารัดเอาเปรียบคนกลุ่มอื่นมากเกินไป ซึ่งบทบาทของกลุ่มคนเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนเลย
          กลุ่มข้าราชการยังคงเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่บริหารปกครองสืบเนื่องจากกลุ่มทำนองเดียวกันของสังคมสมัยก่อน แต่อุดมคติของข้าราชการสมัยใหม่ไม่นิยมให้ข้าราชการคุมอำนาจทางเศรษฐกิจของสังคมเหมือนคตินิยมสมัยก่อนและมีกลุ่มบุคคลประเภทหใหม่คือผู้แทนราษฎร นักการเมืองเพิ่มขึ้นมาเป็นกลไกใหม่ของระบบบริหารการปกครอง ข้าราชการที่ผูกพันอยู่กับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างแต่ก่อนไม่สามารถมีบทบาทได้ตามอุดมคติใหม่ย่อมต้องใช้อำนาจเกินหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หาประโยชน์เองหรือร่วมมือร่วมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับกลุ่มพ่อค้าและนายทุนให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ ปทัสถาน และจริยธรรมของสังคมมีผลสะท้อนต่อความมั่นคงและการพัฒนาบ้านเมืองได้อย่างมาก ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ ประชาชน และพ่อค้านายทุนในแบบที่ตกค้างจากโครงสร้างเดิมกลายเป็นปัญหาขัดกับอุดมคติของการปกครองในโครงสร้างของสังคมใหม่ที่คนส่วนใหญ่คาดหวัง
          ในส่วนที่เกี่ยวกับทางการเมืองและการปกครองนั้นแต่เดิมมาไทยเรามีระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ แต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.. 2475ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสถาบันการเมืองและการปกครองอย่างมาก บทบาทของพระมหากษัตริย์ในฐานะสมมุติเทพหรือเจ้าชีวิตได้ยุติลง ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นพระมหากษัตริย์ของปวงชน องค์พระมหากษัตริย์ทรงมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น บทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลานั้นนับว่ามีอิทธิพลต่อการบริหารราชการแผ่นดินอย่างมากซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนเลยในโครงสร้างของสังคมไทย

          3.   การเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรมและพฤติกรรม
          การเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรมนี้หมายถึง ค่านิยมทางวัฒนธรรม (Cultural value) อันได้แก่แนวคิด แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่คนในแต่ละวัฒนธรรมมีความนิยมชมชอบเลือกหรือยึดถือเอามาเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมต่าง ๆ ของตน ตัวอย่างเช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความดี ความชั่ว ค่านิยมเกี่ยวกับความสวยงาม ศิลปะการบันเทิง ค่านิยมเกี่ยวกับความทุกข์ ความสุขของคน ค่านิยมเกี่ยวกับตนและคนอื่น ค่านิยมเกี่ยวกับการเกิด การตาย ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดกับการตาย ฯลฯ
          การเปลี่ยนแปลงในด้านค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมในสังคมไทยนี้เราจะพบว่าในสมัยก่อนที่เรายังไม่ได้ติดต่อกับสังคมอื่น หรือมีการติดต่อแต่น้อยมากนั้นค่านิยมทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมของคนไทยจะเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากหรือเกือบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย ตัวอย่างเช่น ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์คนไทยทั่ว ๆ ไปยังมีค่านิยมทางวัฒนธรรมเรื่องความรักสนุกอย่างเด่นชัด ดังนั้น พฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมรักสนุกจะไม่ค่อยขยันขันแข็งไม่ค่อยอดทนไม่ค่อยรีบเร่ง แต่มาปัจจุบันนี้ ค่านิยมด้านรักสนุกได้ลดน้อยลงไปโดยเฉพาะในสังคมเมืองใหญ่ ๆ จะเป็นที่แลกเปลี่ยนทางด้านค่านิยมทางวัฒนธรรมกับต่างชาติ ประกอบกับการดำรงชีวิตที่ต้องแข่งขันทำให้คนไทยยอมรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้าไว้อย่างมาก คนไทยในเมืองใหญ่ ๆ จะขยันขันแข็งมีความรีบเร่งขึ้น
อดทน อดออมมากขึ้นกว่าในชนบท หรืออีกตัวอย่างหนึ่งของค่านิยมเรื่องความรักสนุก ก็คือ การบริโภคสิ่งของต่าง ๆ ของคนไทยที่ฟุ่มเฟือย เน้นความมีหน้ามีตา ความสะดวกสบาย ต่าง ๆ ซึ่งสมัยก่อนพฤติกรรมของคนไทยสอดคล้องกับค่านิยมทางวัฒนธรรมอันนี้อยู่มาก เช่น การจัดงานบุญ
งานกุศล งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน จะจัดงานกันอย่างฟุ่มเฟือยแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แต่ในปัจจุบันนี้ได้ลดลงไปมากอย่างสังเกตได้ เพราะค่านิยมทางวัฒนธรรมตะวันตกในเรื่องของความประหยัดอดออมที่สังคมไทยรับเอาเข้ามาใหม่
          วัฒนธรรมซึ่งเราแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุเช่น บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ และวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ค่านิยมนี้ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุดังกล่าวเป็นผลมาจากวัฒนธรรมนี้ไม่ใช่วัตถุทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนและวัฒนธรรมทางวัตถุต่าง ๆ ก็เป็นผลมาจากพฤติกรรมของคนเราทั้งสิ้น เช่น บ้านเป็นผลมาจากพฤติกรรมการอยู่อาศัย โต๊ะ เก้าอี้ เป็นผลมาจากพฤติกรรมการนั่ง  ดินสอ ปากกาเป็นผลมาจากพฤติกรรมการเขียนด้วยเหตุนี้วัฒนธรรมประเภทไม่ใช่วัตถุ เช่น ค่านิยมทางวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญสูงสุดที่จะกำหนดพฤติกรรมต่าง ๆ ของสมาชิกสังคมนั้น ๆ
          ดังได้กล่าวไว้ตั้งแต่ในตอนต้นแล้วว่า เมื่อเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเราจะมุ่งพิจารณาในระดับพฤติกรรมของคน และถ้าเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจะพิจารณาในระดับปทัสถานอันเกิดมาจากค่านิยมทางวัฒนธรรมนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมในสังคมไทยจึงไปด้วยกันเสมอ
          ในการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมในสังคมไทยนี้ สนิทสมัครการ   ได้เสนอไว้ในรายการวิจัย  โดยชี้ให้เห็นถึงค่านิยมดั้งเดิมของไทย  และค่านิยมต่างชาติทั้งแพร่กระจายเข้ามาในสังคมไทย มีผลทำให้ค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
1.      การเปลี่ยนแปลงในค่านิยมดั้งเดิมของไทย
1.1 สาเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงในค่านิยมเด่น ๆ ของไทยสืบเนื่องมาจากการติดต่อกับวัฒนธรรมอื่นเป็นส่วนใหญ่ การติดต่อกับวัฒนธรรมอื่น ๆ พอจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกันคือ  การติดต่อกับวัฒนธรรมตะวันตก  และการติดต่อกับวัฒนธรรมจีน  ซึ่งจะได้พิจารณาในรายละเอียดต่อไปนี้
-    โดยทางฝ่ายตัวแทนรัฐบาลและนักการค้าเดินทางของเรือฝ่ายตะวันตกที่เดินทางมาติดต่อเอง
-    โดยการส่งผู้คนของเราออกไปศึกษาเล่าเรียนในประเทศตะวันตกกลับเข้ามาพร้อมด้วยค่านิยมที่
                     เปลี่ยนไป
-    โดยสื่อมวลชน  สื่อบันเทิงต่าง ๆ อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุ ภาพยนตร์  โทรทัศน์ เป็นต้น
ในบรรดาสื่ออำนวยความเปลี่ยนแปลงทั้งสามารถประการข้างต้น  ปรากฎว่า สื่อในข้อ ข. และ ค. สามารถนำความเปลี่ยนแปลงในค่านิยมต่าง ๆ ได้มากกว่าสื่อในข้อ ก. ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงในค่านิยมของไทยอยู่บ้างก็แต่ในระยะต้น ๆ ของการติดต่อ  และจะมีต่อเฉพาะกลุ่มผู้มีอำนาจหรืออิทธิพลในทางการค้าเท่านั้น
แต่อิทธิพลสื่อความเปลี่ยนแปลงในข้อ ข. และ ค. มีอยู่สูงมาก  แม้ข้อ ข. จะมีบทบาทและอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองการปกครองกับการศึกษาของประเทศเป็นส่วนใหญ่ และข้อ ค. จะมีบทบาทและอิทธิพลค่านิยมทางด้านความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป  แต่เมื่อรวมกันเข้าแล้วก็นับว่าได้ทำให้ปทัสถานเดิมของสังคมสั่นคลอนลงไปเป็นอันมาก  และเป็นตัวการสำคัญที่ส่งเสริมให้มีพฤติกรรม นอกรีตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ส่วนการติดต่อกับวัฒนธรรมจีนนั้นส่วนใหญ่เป็นการติดต่อเผยแพร่โดยคนจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำมาหากินอยู่ในประเทศไทย  สิ่งที่คนจีนนำติดตัวเข้ามาเผยแพร่ต่อคนไทยในสังคมไทยที่นับว่าสำคัญมากก็คือ วัฒนธรรมทางด้านเศรษฐกิจ  โดยเฉพาะค่านิยมเรื่องการทำงานหนัก  การรู้จักเก็บออมและรู้จักแสวงหาผลประโยชน์จากบุคคลอื่นเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของตนเองซึ่งเราจะได้พิจารณาโดยละเอียดต่อไป
1.2 ความขัดแย้งระหว่างค่านิยมตั้งเดิมกับค่านิยมใหม่  หากว่าค่านิยมใหม่ที่นำเข้ามาในสังคมเป็นค่านิยมที่คล้ายคลึงกับค่านิยมเดิมหรือแตกต่างกันไม่มากนัก  ความแตกต่างระหว่างค่านิยมจะไม่สร้างปัญหาในระดับพฤติกรรมเท่าใดนัก  แต่ถ้าค่านิยมใหม่ที่นำเข้ามาแตกต่างจากเดิมมาก ความขัดแย้งระหว่างค่านิยมก็ย่อมจะก่อให้เกิด  ปัญหาในระดับพฤติกรรมมาก  คนรุ่นใหม่จะพบว่ามีปทัสถานทางสังคมอยู่หลายอย่างที่ขัดแย้งทางสังคมอยู่หลายอย่างที่ขัดแย้งกันในเรื่องเดียวกัน  จึงยากแก่การจะตัดสินใจบุคคลที่คบหาสมาคมด้วยก็มีทั้งฝ่ายนิยมวัฒนธรรมเดิม  และฝ่ายนิยมวัฒนธรรมใหม่  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สำหรับคนที่มีผู้แนะนำหรือแนะแนวที่ดีและรอบรู้พอสมควรก็สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ บ้าง แต่คนจำนวนไม่น้อยจะ “หลงทาง” คืออาจเลือเดินทางที่ไม่ถูกต้องได้
                 2.  ค่านิยมในเรื่องการออมทรัพย์และการลงทุน  ซึ่ง Max Weber  อธิบายว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากคำสอนและการปฏิบัติตามแนวศาสนาคริสเตียน นิยายโปรเตสแตนท์  คือคนตะวันตกมีความต้องการที่จะออมทรัพย์เพื่อลงทุนให้เกิดทรัพย์เพิ่มขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ อยู่ในระดับที่สูงมากซึ่งถือว่าเป็น “หกัวใจ” ของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
                 3. ค่านิยมเรื่องการให้ความสำคัญแก่งานและผลสำเร็จของงานมากกว่าการคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  คนตะวันตกจึงเป็นคนประเภทที่ค่อนข้างจะเอาจริงเอาจังในเมื่อเปรียบเทียบกับคนตะวันออก ในขณะที่คนไทยเราถือทางสายกลางเป็นที่ประเสริฐ   คนตะวันตกกลับมุ่งทำงานอย่างเต็มที่  เพื่อหวังในผลสำเร็จของงานเป็นที่ตั้ง จนกระทั่งมีนักสังคมศาสตร์บางท่านขนานนามสังคมตะวันตกว่าเป็น  “สังคมสัมฤทธิผล”  คือ คนส่วนใหญ่ในสังคมมุ่งแข่งขันกันทำงานเพื่อผลงานที่ดีเด่นกว่าคนอื่นมากกว่าที่มุ่งแสวงหาความสนุกสบายจากชีวิต
                 4.  ความเชื่อในหลักการของวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นหนักถึงความสามารถของมนุษย์ที่จะเอาชนะหรือควบคุมธรรมชาติได้ คนตะวันตกมุ่งที่จะศึกษาหาคำอธิบายถึงปรากฎการณ์ธรรมชาติและปรากฎการณ์ทางสังคมต่าง ๆ เพื่อให้ทราบถึง “ธรรมชาติ”  ที่แท้จริงของปรากฎการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้  แล้วจึงแสวงหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อสร้างสภาวะความเป็นอยู่ทั่ว ๆ ของมนุษย์ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ อีกนัยหนึ่งก็คือว่าคนตะวันตกมุ่งจะเอาสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบกายมนุษย์มาเป็นบริวารรับใช้มนุษย์  เป็นการเพิ่มความสามารถของมนุษย์ขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่คนไทยเรากลับพยายามที่จะอยู่กันหรือปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นอยู่  หรือมีอยู่มากกว่าที่จะมุ่งแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือควบคุมให้อยู่ภายใต้อำนาจของมนุษย์  เพราะเหตุว่าคนไทยดั้งเดิมถือว่าธรรมชาติมีอำนาจสูงกว่ามนุษย์ มนุษย์จึงควรปรับตัวให้เข้ากับภาวะต่าง ๆ ของธรรมชาติมากกว่าจะควบคุมธรรมชาติ  แน่นอนที่ว่าแนวคิดแบบนี้เป็นแนวคิดของคนในสังคมที่วิทยาศาสตร์ยังไม่เจริญโดยทั่วไป
                 ค่านิยมเด่น ๆ จากวัฒนธรรมตะวันตกเหล่านี้ได้หลั่งไหลเข้ามาสู่วัฒนธรรมไทยมากบ้างน้อยบ้างตามสื่อแห่งความเปลี่ยนแปลงสามประการดังได้กล่าวไว้แล้วแต่ต้น
                 คราวนี้ลองหันมาพิจารณาถึงค่านิยมทางวัฒนธรรมของจีนที่เข้ามาสู่คนไทยกันดูบ้าง  ดังได้กล่าวไว้แล้วว่าคนจีนที่อพยพเข้ามาทำมาหากินบนผืนแผ่นดินไทยเป็นสื่อนำค่านิยมแห่งวัฒนธรรมจีนเข้ามาแล้วเผยแพร่ในสังคมไทยในระดับพฤติกรรมหรือการกระทำของคนจีนในประเทศไทย  พฤติกรรมที่แสดงออกเด่นชัดของคนจีนในประเทศไทยได้แก่
                 1.ความขยันขันแข็งในการทำงาน
                 2.ความรู้จักเก็บออมทรัยพ์เพื่อลงทุนค้าขายต่อไป
3. เพื่อรู้จักคบและประจบผู้มีอำนาจด้วยการให้สินบนต่างๆเพื่อผลประโยชน์ คือความอยู่รอดและเจริญก้าวหน้าของตนเอง และจากพฤติกรรมข้อนี้ทำให้คนไทยบางคนลงความเห็นว่าคนจีนเป็นผู้นำเอาวิธีการคอร์รัปชั่นมาเผยแพร่ในประเทศไทย ( ดูประหนึ่งว่าเดิมมานั้นคนไทยไม่รู้จักฉ้อราษฎร์บังหลวงกระนั้นแหละ)
          4. การให้ความสำคัญแก่อาชีพอื่น ผลที่ตามาประการหนึ่งก็คือว่า คนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนควบคุมการค้าต่างๆไว้ในกำมือเกือบหมดสิ้น (เพราะว่าคนไทยแต่ดั้งเดิมไม่นิยมทำการค้า คือนิยมแต่อาชีพรับราชการกับการทำนาทำไร่ สวน เท่านั้น )
          พฤติกรรมต่างๆ ของคนจีนในเมืองไทดังที่ได้บรรยายเป็นข้อๆมาแล้วนั้นเราอาจอธิบายในระดับค่านิยมได้ว่า คนจีนถือเอาประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมและแสวงหา กำไรจากบุคคลอื่นมากกว่าที่จะมุ่งแสวงหากำไรจากชีวิต ดังเช่นกรณีของคนไทยความแตกต่างระหว่างการแสวงหากำไรจากชีวิตในประการที่สำคัญก็คือว่าการแสวงหากำไรจากคนอื่นนั้นมีผลทำให้ตนเจริญรุ่งเรืองขึ้น แต่คนอื่นๆรอบตัวเราเสียประโยชน์ อาจยากจนได้ และเดือดร้อนจากการกระทำของเราด้วยไม่มากก็น้อย แต่การแสวงหากำไรจากชีวิตนั้นมีผลทำให้ชีวิตแต่ละชีวิตได้สนุกสนานเต็มที่ตามอัตภาพ แต่มิได้มุ่งปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ต่างๆ ของชีวิตให้ดีขึ้นแต่อย่างไร เมื่อพฤติกรรมเด่นสองประการนี้มาปะทะกันเข้า ผลก็คือว่าคนไทยส่วนใหญ่ซึ่งเป็นชาวไร่ ชาวนายากจนลงอย่างถนัดใจ แต่คนไทยส่วนน้อยซึ่งเป็นเจ้านายข้าราชการ กลับร่ำรวยขึ้น (เพราะสินบนจากคนจีน) แต่ผลประโยชน์ของชาติโดยส่วนรวมหรืออนาคตของคนไทยโดยส่วนรวมและกลับมืดมนลงไปเรื่อยๆ ในขณะเดียวกับที่สถานะทางเศรษฐกิจของคนจีนในประเทศไทยกลับก้าวล้ำหน้าบุคคลชั้นต่างๆของไทยไปทั้งหมด จนพอสรุปได้ว่า ภาวะทางเศรษฐกิจของไทยตกอยู่ภายใต้กำมือของคนจีน จากภาวะการณ์ดังกล่าวแล้วจึงก่อให้เกิดมีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อคนจีนขึ้นในกลุ่มคนไทยโดยทั่วไป ปัญหานี้ยังเป็นปัญหาทางสังคมเรื้อรังมาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน

ค่านิยมดั้งเดิมของไทย
ค่านิยมตะวันตก
1.    การนับถือบุคคล
2.    นิยมความสนุกสนานรื่นเริง
3.    นิยมใช้จ่ายทรัพย์ในปัจจุบัน
4.    นิยมทำบุญให้ทาน
5.    นิยมทางสายกลาง
6.    ถือตนเองเป็นสำคัญ
1.    การนับถือหลักการ
2.    นิยมทำงานหนัก
3.    นิยมออมทรัพย์เพื่อการลงทุน
4.    ไม่นิยมให้ ไม่นิยมขอ
5.    นิยมความรุนแรงเข้มงวด
6.    ถือกฎหมาย ระเบียบเป็นสำคัญ

จากตารางที่แสดงถึงค่านิยมดั้งเดิมของไทย และค่านิยมตะวันตกที่แพร่เข้ามาในสังคมไทย  ได้แสดงให้ปรากฏชัดแจ้ง คือ
          การเปรียบเทียบข้างต้นมุ่งแสดงถึงความแตกต่างหรือความขัดแย้งกันเป็นสำคัญ ฉะนั้น จึงได้รวบรวมเอาค่านิยมกระแสรองเข้ามาด้วย เพราะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนอยู่ไม่น้อย
          ส่วนค่านิยมจีนที่แตกต่างจากค่านิยมตะวันตกก็คือการแสวงหา กำไร จากคนอื่นโดยวิธีการให้สินบน ( กรณีของผู้มีอำนาจ และฉ้อโกง ) (กรณีของผู้ที่อ่อนภูมิปัญญากว่า) ส่วนคนไทยนั้นมุ่งแสวงหา กำไร จากชีวิตเป็นสำคัญดังได้กล่าวมาแล้ว แม้ว่าจะมีแนวนิยมในเรื่องการให้ความสำคัญแก่ผู้มีอำนาจ (ผู้ใหญ่) อยู่ด้วยก็ตาม  แต่พฤติกรรมที่แสดงออกมักจะเป็นไปในรูปของการประจบประแจง เพื่อเอาตัวรอดหรือเพื่อให้ตนได้ดีมากกว่าการเสนอ ให้สินบนโดยตรง ( อาจจะเนื่องมาจากคนไทยฐานะไม่ร่ำรวยที่พอที่จะให้สินบนก้อนใหญ่แก่ นาย “  ก็อาจเป็นได้ )
          เมื่อมีค่านิยมแตกต่างกันออกไปสามทางใหญ่ๆ เช่นนี้ ภาวะทางพฤติกรรมของคนไทยปัจจุบันจึงมีความขัดแย้งกันอยู่เป็นอันมาก เพราะปทัสถานของสังคมและค่านิยมของสังคมแตกต่างกันมีปรากฏอยู่เคียงข้างกันในสังคมเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย


ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
          สังคมมนุษย์นั้นไม่ได้อยู่ในสภาพที่หยุดนิ่ง หากแต่จะเคลื่อนไหวตลอดเวลาดังนั้นแนวโน้มโดยทั่วไปของสังคมจึงอยู่ในสภาพที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยความหมายของการเปลี่ยนแปลงแล้วเราพิจารณาในลักษณะของการเปรียบเทียบความแตกต่างของสิ่ง ๆ หนึ่งในเวลาต่างกัน การเปลี่ยนแปลงจึงเกี่ยวข้องกับเวลาหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมนี้เราพิจารณาในแง่การเปรียนเทียบความแตกต่างของสังคมและวัฒนธรรมหนึ่งในเวลาที่ผ่านไป
          วิลเบอร์ มัวร์ ซึ่งสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นพิเศษได้ให้คำนิยามของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการกระทำและการปะทะสังสรรค์รวมทั้งผลของการกระทำและโครงสร้างที่ก่อให้เกิดปทัสถานอย่างเห็นได้ชัด
          อย่างไรก็ตามในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมนี้เราอาจจำแนกได้เป็น 2 ประการ ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณารูปธรรม กล่าวคือถ้าพิจารณาในแง่ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social change) นั้นจะเกี่ยวข้องกับระดับพฤติกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงเป็นการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติการแสดงออกต่าง ๆ ที่เกิดจากการปะทะสังสรรค์ของสมาชิกสังคม แต่ถ้าพิจารณาในแง่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (Cultural change) นั้นจะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับปทัสถาน (Norms) อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของระบบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ครอบคลุมสังคมนั้นและเมื่อเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมก็จะครอบคลุมไปถึงระเบียบกฎเกณฑ์ ทัศนคติ ค่านิยม แบบแผนของความสัมพันธ์ สถานภาพและบทบาทกฎหมายต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งการประพฤติปฏิบัติไปตามปทัสถานเหล่านี้จะอยู่ในโครงสร้างของสังคม
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรม
          โดยทั่ว ๆ ไปสังคมจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบที่เรียกว่าเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือหากการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ย่อย ๆ (Social relations) โดยทั่ว ๆ ไป ตัวอย่างเช่น ความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างบิดา มารดากับบุตร ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่ เป็นต้น และถ้าความสัมพันธ์ทั่ว ๆ ไปที่กล่าวถึงนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ ก็อาจมีผลทำให้ความสัมพันธ์ที่เป็นแบบแผนหรือความสัมพันธ์ระดับโครงสร้างของสัมคมจริง ๆ เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งก็ถือว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงในระดับสถาบันแล้ว
          อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ย่อยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแต่ความสัมพันธ์ในระดับโครงสร้างจะยังไม่เปลี่ยนแปลงไปทั้งนี้เพราะว่าอาจมีความสัมพันธ์ใหม่ที่ถือปฏิบัติเกิดขึ้นมาแทนที่ ทำให้สังคมอยู่ในสภาพที่สมดุลย์เคลื่อนที่ต่อไปได้ นอกจากนี้สังคมที่ไม่มีการติดต่อกับสังคมอื่นแล้วอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ทั้งนี้เป็นเพราะยังไม่เห็นตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง ไม่เห็นตัวอย่างของสัมคมอื่นที่ดีหรือที่แตกต่างไปจากตน การไม่เห็นตัวอย่างมีผลทำให้ไม่มีการแปลงสภาพแวดล้อมดั้งเดิมของตนอีกด้วย อาทิเช่น สังคมดั้งเดิมในทวีปแอฟริกา หรือชาวเกาะบางแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นต้น

ระดับการเปลี่ยนแปลงทางสัมคมและวัฒนธรรม

          การเปลี่ยนแปลงทางสัมคมอย่างน้อยมีด้วยกัน 2 ระดับ คือ
          1.  ระดับกลุ่มคนย่อย ๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มคนบางกลุ่ม ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกลุ่มอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงปทัสถานและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสัมคมได้
          2.  ระดับสถาบันหรือระดับองค์การ การเปลี่ยนแปลงระดับนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในสถาบันครอบครัว สถาบันทางเศรษฐกิจหรือสถาบันการเมืองและการปกครอง เป็นต้น และการเปลี่ยนแปลงในระดับนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของสังคมได้เช่นเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการพัฒนา

          การเปลี่ยนแปลงทางสัมคมมิใช่เป็นการเปลี่ยนด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของทุก ๆ ด้านโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจก็เป็นการเปลี่ยนแปลงในการผลิตการแจกจำหน่ายเศรษฐทรัพย์ในบรรดาสมาชิกของสัมคมเหล่านี้ซึ่งเราอาจจะมองเห็นได้ในรูปของวัตถุธรรม ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนั้นเป็นไปในระบบของการครอบครองอำนาจและการใช้อำนาจของสมาชิกสังคมนั้นซึ่งค่อนข้างนามธรรมแต่ก็อาจมองเห็นได้ในรูปของแบบอย่างหรือระบบของการมีอำนาจ เช่น การปกครองในระบอบประชาธิไตย สังคมนิยมหรือเผด็จการ เป็นต้น
          การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งอาจส่งผลสะท้อนต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่และผลสรุปก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในเมื่อเราถือว่าสังคมก็คือพฤติกรรมของคนในสังคมนั้นได้ปฏิบัติต่อกัน การเปลี่ยนแปลงจากเวลาหนึ่งถึงอีกเวลาหนึ่งซึ่งเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีการควบคุมเร่งรัดและมิได้มีเป้าหมายแต่อย่างใด เราเรียกว่า วิวัฒนาการ การวิวัฒนาการทางสัมคมจึงอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการหรือไม่ต้องการก็ได้ แต่การเปลี่ยนแปลงที่สังคมของเรากำลังต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า การพัฒนา” (Development) ทั้งนี้ก็เพราะว่าการพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ได้กำหนดทิศทางและจุดมุ่งหมายรวมทั้งการควบคุมอัตราการเปลี่ยนแปลงไว้ตามระยะเวลาที่สามารถกำหนดได้ด้วย

เครื่องชี้การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

          การเปลี่ยนแปลงคือ การเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของสิ่งหนึ่งเมื่อเวลาต่างกัน สิ่งที่จะต้องพิจารณาก็คือ เราทราบได้อย่างไรว่าสังคมมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ในการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า เรามุ่งพิจารณาในระดับพฤติกรรมของบุคคล คือการประพฤติปฏิบัติของบุคคลหรือกลุ่มคนนั่นเอง ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกนี้จะมีลักษณะบทบาท (Role) ที่ถูกกำหนดโดยสถานภาพทางสัมคมฉะนั้นบทบาทที่แสดงออกจึงเป็นเครื่องชี้บ่งให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายความว่าคนและกลุ่มคนในสังคมต่างก็มีสถานภาพต่าง ๆ กัน พฤติกรรมที่แสดงออกจะสอดคล้องกับบทบาทที่กลายเป็นสถาบันแล้ว (Institutionalized ideal role) อันจะเป็นรากฐานที่คาดหวังได้ว่าควรจะมีบทบาทอย่างไรบ้างกและเมื่อใดบทบาทอันหนึ่งได้แปรเปลี่ยนไปในระยะเวลาที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างในด้านปริมาณหรือคุณภาพหรือทั้งสองอย่างก็ตามเมื่อนั้นแสดงว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเกิดขึ้นแล้ว ตัวอย่างเช่น เมื่อสมัยก่อนสถานภาพหลักของหญิงไทยเป็นแม่บ้าน บทบาทก็คือดูแลบ้าน ดูแลลูก ๆ แต่ในสภาพปัจจุบัน สถานภาพหญิงไทยไม่ได้เป็นแม่บ้านเพียงอย่างเดียว อาจเป็นครู ผู้จัดการบริษัท รัฐมนตรี ฯลฯ
บทบาทของหญิงไทยก็มีมากขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว หรือในการสอนของครูอาจารย์ในสมัยก่อนนั้น ครูส่วนใหญ่จะสอนโดยการพูดและเขียน แต่ในปัจจุบันบทบาทนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ครูสอนด้วยอุปกรณ์ทันสมัยชนิดต่าง ๆ นอกไปจากการพูดและเขียน มีการใช้วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของบทบาทครูเกิดขึ้นแล้ว
          การเปลี่ยนแปลงทางสังคมใด ๆ ก็ตาม ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีลักษณะกลายเป็นสถาบันเสียก่อน (Institutionalize) ซึ่งย่อมเป็นผลจากการต่อสู้กันระหว่างพลังทางสังคมที่ต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นกับพลังทางสังคมที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงซึ่งก็ย่อมเป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) การขัดแย้ง (Confict) การแข่งขัน (Competition) การปรับปรุง (Assimilation) หรือการประสานและร่วมมือกัน (Cooperation) เป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง และแรงต้านการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการอบรมสั่งสอนให้อยู่ในกรอบธรรมเนียมประเพณี (Socialization and Enculturation) หรือการควบคุมทางสังคม (Social control) เมื่อใดแรงของการเปลี่ยนแปลงมีมากกว่าก็จะนำมาซึ่งลักษณะของสถาบัน (Institution) เมื่อนั้นเราจึงถือว่าสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงและเมื่อใดได้มีกิจกรรม (Activity) เพื่อการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ต้องการและสัมฤทธิผลในระยะเวลาที่หวังถือได้ว่าได้มีการพัฒนาเกิดขึ้นแล้ว

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

          โดยที่นักสังคมวิทยามานุษยวิทยามองสังคมเป็นระบบกระทำการ (System of Action) การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นในระบบสังคมหนึ่ง ๆ ก็ย่อมจะสามารถพิจารณาสาเหตุออกได้เป็น 2 ประการใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
1.      การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นมีสาเหตุมาจากภายในระบบของสังคมเอง
2.      การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นมีสาเหตุมาจากภายนอกระบบของสังคม

1.  การเปลี่ยนแปลงที่มีสาเหตุขึ้นมาจากภายในของระบบสังคมนั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานของระบบเองไม่มีพลังภายนอกเข้ามาบีบบังคับ และตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประการคือ

. การประดิษฐ์คิดค้น (Invention) ในสังคมการประดิษฐ์คิดค้นนี้เป็นการนำเอาเทคนิควิธีการหรือความคิดที่มีอยู่เดิมมาผสมผสานกับความรู้ใหม่ ๆ เป็นการใช้ความรู้ที่มีอยู่เดิมแล้วสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาการประดิษฐ์คิดค้นเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป คือมีการผสมผสานปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกัน การประดิษฐ์คิดค้นนี้ยังจำแนกออกไปได้อีก 2 ประการ คือ การประดิษฐ์คิดค้นทางวัตถุ (Technological invention) อันได้แก่ รถยนต์ โทรทัศน์ เครื่องบิน หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และการประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม (Socilal invention) ได้แก่ การคิดสร้างกฎหมายใหม่ ๆ ขนบประเพณีหรือธรรมเนียมใหม่ ๆ ลัทธิศาสนาใหม่ ๆ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลทำให้การดำเนินชีวิตในสังคมนั้นเปลี่ยนแปลงไป
          อย่างไรก็ตามการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่  ๆ ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นในด้านวัตถุหรือทางสังคมก็ตามก็ไม่ใช่ของง่าย ในสังคมต่าง ๆ นั้นนักคิดเหล่านี้มีไม่มากนัก ดังนั้นผลกระทบที่จะทำให้เปลี่ยนแปลงจากภายในสังคมนั้น ๆ เองจึงมีน้อย
          . การอบรมสั่งสอนสมาชิกใหม่ของสังคมได้อย่างไม่ครบถ้วน (Imperfect socialization) การอบรมสั่งสอนสมาชิกผู้เยาว์ของสังคมนี้แต่เดิมมาเป็นหน้าที่ของครอบครัวโดยเฉพาะแต่ในสภาพปัจจุบันได้มีสถาบันการศึกษารับช่วงไปอบรมสั่งสอนอีกที่หนึ่ง ทั้งนี้เพราะว่าสภาพเศรษกิจและสังคมปัจจุบันได้ทำให้พ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวมากขึ้น จะกลับบ้านก็เย็นค่ำ เวลาที่จะได้พบปะพูดจาอบรมสั่งสอนบุตรหลานก็มีน้อยลง ภาระนี้จึงไปตกอยู่กับคนแก่ คนใช้ และโรงเรียน สำหรับกรณีโรงเรียนนั้นถ้าสถาบันการศึกษาอันเป็นที่หวังของพ่อแม่ได้ละเลยในหน้าที่นี้ ก็ย่อมทำให้ผู้เยาว์ที่จะเป็นสมาชิกของสังคมต่อไปขาดความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมของสังคม อันมีผลต่อพฤติกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้
         
          นอกจากนี้ในบางครั้งพ่อแม่ที่เป็นผู้ให้การอบรมสั่งสอนผู้เยาว์โดยตรงออกไปทำงานนอกบ้านและคงทิ้งให้บุตรหลานของตนต้องอยู่กับคนแก่ที่เป็น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือคนรับใช้จะทำให้เด็กขาดความรัก ความอบอุ่น และอาจเลียนแบบนิสัยของ ปู่ ย่า ตา ยาย อันเป็นการเลี่ยนแบบพฤติกรรมข้ามรุ่น กล่าวคือเกิดการปลูกฝังลักษณะคนรุ่นใหม่จากวัฒนธรรมของคนรุ่นเก่า ทำให้คนรุ่นใหม่เรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมไม่ถูกต้อง ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับสังคมที่เขาจะมีชีวิตอยู่ต่อไปในอนาคตได้ เพราะฉะนั้นเราจะสังเกตได้ แม้ว่าสังคมนั้น ๆ จะไม่มีการประดิษฐ์คิดค้นอะไรเลย แต่สังคมก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ดี เพราะสาเหตุอันเนื่องมาจากการอบรมสั่งสอนที่ไม่สมบูรณ์นี้เอง
          2.  การเปลี่ยนแปลงที่มีสาเหตุมาจากภายนอกระบบสังคม
          การเปลี่ยนแปลงที่มีสาเหตุจากภายนอกระบบสังคมนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการติดต่อกันอันเป็นกระบวนการที่มีทั้งการให้และการรับ ทั้งนี้เพราะว่าตามปกติจะมีการปะทะสังสรรค์กันระหว่างวัฒนธรรมของแต่ละสังคมที่เข้ามาติดต่อกัน การเปลี่ยนแปลงจากสาเหตุนี้ปรากฎให้เห็นหลายรูปแบบ ซึ่งในที่นี้จะจำแนกออก 2 ประการ คือ
          การแพร่กระจาย (Diffusion) การแพร่กระจายหมายถึงการที่วัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งกระจายไปสู่สังคมอื่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่วนใหญ่จะมาจากการแพร่กระจาย ตัวอย่างเช่น ในสังคมไทยได้รับเอาการแพร่กระจายของวัฒนธรรมตะวันตกในเรื่องเกี่ยวกับการแต่งกาย สวมเสื้อนอก ผูกเนคไท สวมกระโปรง สวมรองเท้าส้นสูง หรือการที่คนไทยรับเอาการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมอินเดียในด้านพระพุทธศาสนา รับเอาค่านิยมในด้านความขยันอดทน การเอาประโยชน์จากคนอื่นจากวัฒนธรรมจีน เป็นต้น
          การแพร่กระจายทางวัฒนธรรมมีทั้งในด้านวัตถุและที่ไม่ใช่วัตถุ การที่วัฒนธรรมแตกต่างกันมาปะทะกันก็จะเกิดการเปรียบเทียบและวัฒนธรรมเด่นก็จะแผ่กระจายออกไปเมื่อคนส่วนใหญ่เห็นว่าดีก็จะรับเอามาปฏิบัติโดยเฉพาะวัฒนธรรมทางด้านวัตถุนั้นง่ายกว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ นอกจากนี้การสื่อสารการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็วในปัจจุบันมีส่วนช่วยทำให้การแพร่กระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
การยืมทางวัฒนธรรม (Cultural borrowing) ในปัจจุบันได้มีการขอยืมกันทางวัฒนธรรมระหว่างมิตรประเทศ การยืมวัฒนธรรมนี้จะมีลักษณะของการแลกเปลี่ยน (Exchange) เมื่อมีการยืมแล้วก็จะมีการนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของสังคมนั้น ตัวอย่างเช่น สังคมไทยของเราในปัจจุบันได้มีการยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับใช้มากมาย ทั้งภาษาพูด การแต่งกาย ทัศนคติ ค่านิยม ลัทธิการปกครองแบบประชาธิปไตย รถยนต์ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นต้น วัฒนธรรมตะวันตกนี้เมื่อราว ๆ 2,000 ปีมาแล้ว เมื่อเทียบกับวัฒนธรรมจีน อินเดีย และกรีก วัฒนธรรมตะวันตกยังด้อยอยู่มากวัฒนธรรมตะวันตกต้องยืมวัฒนธรรมกรีก และอินเดีย แต่มาในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะวัฒนธรรมตะวันตกเด่นขึ้นมาก เนื่องจากความเจริญทางเทคโนโลยีมีระบบวิชาการที่ก้าวหน้ากว่า วัฒนธรรมเด่นนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ดีมาก อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมเด่นสมัยหนึ่งอาจเป็นวัฒนธรรมด้อยอีกสมัยหนึ่งก็ได้

ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย

          เป็นการคาดคะเนกันว่าสังคมมนุษย์นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับจากสังคมเล็ก ๆ ได้เติบโตเป็นสังคมใหญ่ขึ้น มีจำนวนประชากรมาก มีโครงสร้างสังคมสลับซับซ้อน เนื่องจากการแบ่งงานกันอย่างละเอียดและมีระบบการแบ่งช่วงชั้นในสังคม ลักษณะชุมชนเปลี่ยนจากชุมชนขนาดเล็กที่เร่ร่อนมาเป็นชุมชนอยู่กับที่ ทำให้สามารถขยายออกไปเป็นชุมชนใหญ่ ๆ อย่างเช่นมหานครต่าง ๆ
ในปัจจุบัน
          ข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งก็คืออัตราการเปลี่ยนแปลงในสมัยก่อนนั้นจะเป็นไปอย่างช้า ๆ แนวโน้มปัจจุบันจะเห็นได้ว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ มนุษย์เรามีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติมากขึ้น เดิมในสัมคมโบราณก็เพียงการล่าสัตว์ เก็บพืชผักผลไม้เป็นอาหาร แทบไม่กระทบกระเทือนธรรมชาติแวดล้อมเลย ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์มนุษย์เปลี่ยนแปลงธรรมชาติแวดล้อมมากขึ้น และในยุคอุตสาหกรรมมนุษย์เราก็ทำลายสิ่งแวดล้อมมากจนกลายเป็นอันตรายต่อตัวมนุษย์เอง
          การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเป็นรากฐานของวิวัฒนาการทางสังคมเทคโนโลยีทำให้มนุษย์เรายืดความสามารถของร่างกายออกไปมากมาย กล้องจุลทัศน์ โทรทัศน์ โทรศัพท์ ทำให้คนเรามองเห็นได้มากขึ้นได้ยินไกลขึ้น รถยนต์ เรือ เครื่องบิน ทำให้เราไปได้ไกลขึ้นและรวดเร็วขึ้น การ
เปลี่ยแปลงทางเทคโนโลยีของมนุษย์เทียบได้กับวิวัฒนาการทางร่างกายสัตว์ ย่อมทำให้ชีวิตความเป็นอยู่และสังคมเปลี่ยนไป
          ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มีพลังงานที่สังคมนำมาใช้ได้มากขึ้นย่อมทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น สามารถเลี้ยงจำนวนประชากรได้มากขึ้นซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุดมการณ์และภาษาเทคโนโลยีเป็นกรอบซึ่งขีดวงจำกัดวิธีที่สังคมจะนำมาใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ สังคมที่มีระดับการใช้เทคโนโลยีต่ำย่อมไม่สามารถใช้วิธีการอย่างเดียวกันกับสังคมที่มีเทคโนโลยีสูง เครื่องมือย่อมเป็นตัวกำหนดวิธีแก้ปัญหาและวิธีที่แก้ปัญหาที่ต้องอาศัยเครื่องมือทันสมัยย่อมนำไปใช้สังคมที่ขาดเครื่องมือเหล่านั้นไม่ได้
          การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบันและอนาคตมีแนวโน้มไปในทางที่เราจะกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น นักคิดและนักวิทยาศาสตร์ทางสังคมก็ได้พยายามที่จะเสนอรูปแบบในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยการรวบรวมข้อมูลซึ่งเราสามารถพิสูจน์และมีประสบการณ์ได้อันทำให้เราสามารถเข้าใจถึงสาเหตุและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่ปรากฎอยู่ในสังคมมนุษย์ อย่างไรก็ตามทฤษฎีทางสังคมนั้นยังคงมีข้อบกพร่องอยู่อีกมากมายโดยเฉพาะในเรื่องของรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ

  ความขัดแย้งในสังคมไทยในปัจจุบัน
          จาก กระแสความขัดแย้งจนถึง ความแตกแยกของประชาชน” ...!!
จาก กระแสความขัดแย้งจนถึง ความแตกแยกของประชาชน” ...!!

นับวันความรุนแรงที่สืบเนื่องมาจากความแตกต่างทางความคิดที่กลายเป็นความแตกแยกทางสังคมไปเกือบทุกภาคส่วนของประเทศ จะนำมาซึ่งเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกของคนไทยด้วยกันมากขึ้นทุกชั่วขณะ และที่เป็นประเด็นร้อนแรงอยู่ในขณะนี้   สืบเนื่องมาจากการตระเวนไปยังสถานที่ต่าง ๆ      เพื่อเก็บเกี่ยวความนิยมจากประชาชนสวนกระแสขาลงของท่านนายกฯ ทักษิณ ทำให้ประชาชนที่มีทั้งกลุ่มที่ เชียร์และกลุ่มที่ ขับไล่แห่แหนตามไปสมทบด้วยในเกือบทุกที่ และการไปไหนไปด้วยของประชาชนที่มีทั้งรักทั้งชังเหล่านี้ จากเดิมเพียงแค่การใช้วาจาฟาดฟันกันพอหอมปากหอมคอ ก็ลุกลามถึงขั้นกระทบกระทั่งกันจนได้รับบาดเจ็บเลือดตกยางออกจนได้
ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว อยากจะสะท้อนถึงมุมมองจากหลายๆ ฝ่าย ที่มีต่อ กลุ่มผู้ชุมนุมเหล่านี้ หลายๆ ท่าน (โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร ฯ) มองว่า การชุมนุมของประชาชนเป็นการกระทำที่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะหากย้อนรอยถึงความเป็นไปในอดีตที่ผ่านมาของวิถีทางทางการเมืองการปกครองของไทยเราที่ผ่านมา เปรียบ การชุมนุมและ ระบอบประชาธิปไตยเสมือนเป็น คู่รักคู่รสกันก็ว่าได้
หากการชุมนุมดังกล่าวเป็นไปอย่างสงบ เนื่องจากเป็นหนทางหนึ่งของการแสดงออกเพื่อเรียกร้องเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมทั้งทางการเมืองการปกครอง หรือเป็นการทวงสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งประชาชนสามารถกระทำได้โดยไม่มีความผิดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการมากที่สุด
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การชุมนุมดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย จึงจะถือเป็นวิถีทางของกระบวนการทางประชาธิปไตยที่แม้จะก่อให้เกิด ความขัดแย้งในสังคม แต่ในเชิง ทฤษฎีความขัดแย้ง” (Conflict Theory) แล้ว ความขัดแย้งก่อให้เกิดผลทั้งในเชิงบวกและลบ และความขัดแย้งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการขัดเกลาสังคม และไม่มีสังคมใดที่จะมีความสมานสามัคคีอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีมาแต่กำเนิด และความขัดแย้งเป็นสภาวะหนึ่งของมนุษย์ ที่ภาวะทางอารมณ์ไม่ว่าจะเป็นความเกลียดหรือความรักต่างก็มีความขัดแย้งทั้งสิ้น และในมุมกลับกัน ก็มีความคิดเห็นจากหลายๆ ท่าน ที่มองว่าการชุมนุมดังกล่าว เป็น ปรากฏการณ์ชุมนุมที่มีความสุ่มเสี่ยงอันจะก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ นอกจากนี้ยังเป็นการ ส่งสัญญาณถึงความแตกแยกที่นับวันจะร้าวลึกลงไปเรื่อยๆ ของสังคมไทย และเป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมของความขัดแย้งของประชาชน อันมีผลสืบเนื่องมาจากสิทธิเสรีภาพที่ได้รับจากระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งมีคนบางกลุ่มที่ฉวยโอกาสจากสถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน และอาศัยร่มเงาของระบอบประชาธิปไตยเป็นฉากกั้นตัวเองให้รอดพ้นจากการกระทำผิด แต่ไม่ว่าจะเป็นมุมมองใดก็ตามแต่ ผลกระทบจากความขัดแย้งย่อมส่งผลถึงประเทศชาติเราอย่างแน่นอนในด้านภาพลักษณ์ที่มีต่อสายตาของนานาอารยะประเทศ
จึงอยากฝากให้คิดกันสักนิดว่า บ้านเมืองเราจะเป็นอย่างไรต่อไปหากปล่อยให้ ความขัดแย้งขยายวงลุกลามกลายเป็น ความแตกแยกอยู่เช่นนี้
เราคนไทยทุกคนจะยอมให้เหตุการณ์เหล่านี้ ดำเนินต่อไปอย่างนั้นหรือ?
ถ้าหากทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่ล้วนแล้วแต่เป็น คนไทยด้วยกันทั้งสิ้น เห็นแก่ชาติบ้านเมืองกันอย่างแท้จริง ไม่ปล่อยให้ความรู้สึกส่วนตัวมาชี้นำ รักตัวเอง...แต่ต้องรู้ว่าอะไรควรไม่ควร เพื่อต่อลมหายใจของ ประชาธิปไตยให้ประเทศไทยของเราทุกคนเถิดครับ........สยามรัฐ

การวิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา พรรคพลังประชาชน หรือพรรคไทยรักไทยเดิม ก็ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น โดยเฉพาะผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในภาคเหนือและภาคอีสาน พร้อมๆ กันกับการกลับมาเมืองไทยของอดีตนายก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่ย้ำเสมอว่าจะได้ยุติบทบาททางการเมืองแล้ว แต่ในขณะที่อีกฝ่ายเชื่อว่า อดีตนายก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังพรรคพลังประชาชนและการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่มาโดยตลอด
เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมภายใต้การนำของ นายสมัคร สุนทรเวช ประชาชนทั่วไปก็เชื่อว่าความขัดแย้งที่ทุกฝ่ายเคยมีในอดีต จะหาทางสมานฉันท์กันได้ ด้วยปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ปัญหาที่รุมเร้าจากราคาน้ำมันที่ผันผวนตามราคาตลาดโลก และราคาสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีพทุกชนิดขยับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว น่าจะทำให้ทุกฝ่ายละทิ้งความขัดแย้งทางการเมือง หันหน้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อนเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ แต่ดูเหมือนว่าทั้งสองฝ่ายจะพักรบ คุมเชิงกันชั่วคราว แต่เพียงไม่กี่เดือนรอยร้าวฉานในการบริหารประเทศก็เริ่มปรากฏให้เห็น เมื่อผู้นำรัฐบาลใช้ท่าทีแข็งกร้าวกับฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับตน มีการยึดกุมสื่อไว้ในมือ ย้ายข้าราชการชั้นสูงหลายตำแหน่ง และเมื่อรัฐบาลพรรคพลังประชาชนประกาศว่าจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ ก็ได้กลายเป็นชนวนเหตุและตัวเร่งปฏิกิริยาให้การเผชิญหน้าของทั้งสองฝ่ายรุนแรงขึ้น
ฝ่ายที่สนับสนุนได้มีการนำเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร่งด่วนโดยอ้างว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย มีรากฐานมาจากการรัฐประหาร ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ไม่เป็นประชาธิปไตยขณะที่ฝ่ายคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเชื่อว่า พรรคพลังประชาชนต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่เพิ่งผ่านการลงประชามติเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว และกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็รวบรัดตัดตอน ไม่ฟังเสียงคัดค้านของประชาชนเลย และแทนที่จะเอาเวลาไปแก้ไขปัญหาต่างๆที่ประเทศประสบ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการหยุดชะงักงันของภาวะทางเศรษฐกิจ ความแปลผันในด้านตลาดการลงทุน ปัญหาความอยู่ดีกินดีของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ เพียงมุ่งหวังเพื่อต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น
อารมณ์ความไม่พอใจของทั้งสองฝ่ายเริ่มคุกรุ่นมากขึ้นเรื่อย ๆ จากความเห็นที่สวนทางกัน ต่างฝ่ายต่างแสดงความไม่เห็นด้วยกับอีกฝ่ายผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เนต การจัดเวทีปราศรัยตามสถานที่สำคัญๆต่างๆ โดยตั้งอยู่บนอคติ โกรธเกลียดมากกว่าที่จะเหตุผลมาหาทางออกร่วมกัน จนส่อเค้าว่าสถานการณ์อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง แม้แต่มีผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองออกมาเตือนสติ ก็ไม่มีใครยอมฟังอีกต่อไป สังคมไทยจึงแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน และอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งมีการแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างชัดเจน ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลและฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาล ผู้เขียนจึงสรุปวิเคราะห์สถานการณ์ดังกล่าว โดยการนำทฤษฎีทางด้านสังคม มาประกอบการสรุปวิเคราะห์สถานการณ์ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลโดยยึดถือการอธิบายปรากฏการณ์ตามหลักทฤษฎีการขัดแย้ง (Conflict Theory)

สาระสำคัญ
จากสถานการณ์ทางการเมือง ปัญหาบ้านเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ทำให้หลายต่อหลายคนคงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย เพราะสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นส่งผลให้ประเทศเดินหน้าไปได้ยาก เพราะไม่รู้ว่าความวุ่นวายต่างๆจะจบลงเมื่อไหร่ ถ้ามองดูโดยภาพรวมจะพบว่าสถานการณ์กำลังย้อนกลับมาสู่จุดเดิม หมายความว่า ความขัดแย้ง ๒ ขั้ว ที่เกิดขึ้นในขณะนี้คล้ายกับสถานการณ์ก่อนที่จะมีการรัฐประหารเมื่อปี ๒๕๔๙ คือมีการแบ่งออกเป็น ๒ ขั้วคือ ขั้วที่เอาทักษิณกับไม่เอาทักษิณ และกลุ่มที่ยังมีความเคลื่อนไหวคัดค้านอยู่ในขณะนี้คือ กลุ่มคนที่เป็นตัวแทนอำนาจเก่าที่มีความตั้งใจและตั้งเป้าหมายที่จะล้มระบอบทักษิณให้ได้ โดยเหมารวมว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลนอมีนีหรือรัฐบาลตัวแทน
กลุ่มคนเหล่านี้ก็ยังเหมือนเดิมอยู่ มีความตั้งใจเช่นเดิม จะเห็นว่าเครื่องมือที่เขาใช้ในการโจมตีก็คือ เอาเรื่องความจงรักภักดี เอาเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือในการกล่าวหาว่าอีกฝ่ายไม่จงรักภักดี ยังคงใช้เครื่องมือเหล่านี้เป็นวัตถุที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นนายจักรภพ เพ็ญแข และอีกหลายคน ซึ่งในเรื่องแบบนี้ของสังคมไทย ประเทศไทย เป็นเรื่องที่อ่อนไหวมากๆ ต่อความรู้สึกในเรื่องสถาบันของคนส่วนใหญ่ภายในประเทศ
แต่เมื่อพรรครัฐบาลพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ก็ถูกกล่าวหาโจมตีทันทีว่าเป็นการแก้ไขเพื่อจะคืนให้อำนาจระบอบทักษิณให้กลับมามีบทบาทใหม่ในสังคมไทยอีก และแก้ไขเพื่อให้ตัวเองพวกพ้องพ้นผิด แก้ไขเพื่อให้อดีตนายกทักษิณกลับมา ทางพรรครัฐบาลพยายามกระทำ พูดอยู่หลายครั้งว่าไม่ใช่หรือ ไม่มีเจตนาอย่างที่กล่าวหา แต่เห็นว่ากฎหมายจะเป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศ รวมถึงการพัฒนาประเทศตามรูปแบบการปกครองในระบบประชาธิปไตย
จากสถานการณ์ข้างต้น ถ้าวิเคราะห์ตามแนวความคิดสำคัญของ Marx ในสาระความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง เรื่องการขัดแย้งเชิงปฏิวัติระหว่างชนชั้นและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความขัดแย้งจะมีลักษณะเป็นสองหลัก (bipolor) ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางสังคมจะแสดงออกถึงความขัดแย้งอยู่ในตัว ดังนั้นการขัดแย้งจึงเป็นลักษณะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการขัดแย้งกันเช่นนั้นมักแสดงออกมาเป็นความสนใจที่ตรงข้ามกันของคนสองพวก ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ อำนาจและท้ายที่สุดการขัดแย้งยังเป็นสิ่งสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคม (สัญญา สัญญาวิวัฒน์, ๒๕๕๐, น. ๗๒-๗๖)

การวิเคราะห์ทำความเข้าใจแนวคิดในสังคมไทยนั้นน่าจะมี ๒ ขั้วหรือ ๒ แนวทาง ซึ่งเป็นเพียงความขัดแย้งของพวกนิยมระบอบทักษิณ และต่อต้านความคิดของระบอบที่เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น ถ้าสร้างมุมมองและความเข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้น น่าจะกล่าวได้ว่า ความขัดแย้งในทฤษฎี ๒ ขั้ว ย่อมปรากฏและมีอยู่จริง นี่เป็นสิ่งที่ไม่อาจกล่าวปฏิเสธได้เลย แต่ในท่ามกลางสถานการณ์ที่มีอยู่เช่นนี้ของปฏิปักษ์ ๒ ขั้ว ก็ยังมีสภาวะของการครอบงำเป็นบรรยากาศเกี่ยวกับแนวคิดทางประชาธิปไตยแทรกซ้อนอยู่ด้วยก็ได้ และอาจคาดหมายได้ว่า เมื่อสถานการณ์ดำเนินคืบคลานไปถึงจุดหนึ่ง สภาวะขับเคลื่อนและโต้แย้งทางแนวคิดนี้มีโอกาสที่จะพลิกขึ้นมาเป็นปัญหาความขัดแย้งหลักในสังคมไทย
ตอนนี้สังคมไทยอาจให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวกับแผ่นดิน ดินแดน ซึ่งกลุ่มพันธมิตรฯ ใช้ก็คือกรณีเขาพระวิหาร สื่อต่างๆมีการหยิบยกมากล่าวอ้างโจมตีการทำงานของรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศว่าไทยจะเสียดินแดน และฝ่ายค้านนำมาขยายต่อความต่อในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและรัฐมนตรี ภายนอกรัฐสภา มีการถกเถียงวิจารณ์กันเป็นจำนวนมาก และเป็นประเด็นหลักในการสร้างกระแสชาตินิยมขึ้น กรณีนี้เป็นกรณีที่สามารถกระตุ้นต่อมชาตินิยมของคนไทยได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นการที่หยิบเอาเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้นจะนำไปสู่ความวุ่นวายอื่นๆตามมา
แนวทางอีกลักษณะหนึ่งที่ยืนพื้นและเป็นกระแสหลักต่อสู้ขับเคี่ยวกันอยู่ก็คงได้แก่ ประชาธิปไตยในลักษณะความหมายของ อำมาตยาธิปไตย (bureaucratic polity) นี่เป็นแนวคิดที่มีศักยภาพสูงตั้งแต่ภายหลังการรัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๕๑ (สืบค้นเมื่อ ๑๐ ก.ค.๕๑,จาก http://www.komchadluek.net) ทางฝ่ายรัฐบาลก็พยายามที่จะนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมในเรื่องของหลักประชาธิปไตย การเลือกตั้งต้องมาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนภายในประเทศ
จากความขัดแย้งดังกล่าว ถ้าชนชั้นใดมีอำนาจและได้ตระหนักถึงผลประโยชน์แท้จริงของตนแล้ว การขัดแย้งอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้น (สัญญา สัญญาวิวัฒน์, ๒๕๕๐, น. ๘๒-๑๐๙) โดยมีพื้นฐานมาจากสภาพความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของ อำนาจและผลประโยชน์
หากจะมองย้อนกลับไปดูในผลการวิเคราะห์ในช่วงต้นๆของรายงาน จะพบว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น มีรากฐานมาจาก อำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนเป็นสำคัญ เมื่อเกิดกระแสความขัดแย้งกันโดยมิสามารถตกลงกันได้ ทำให้เกิดการเรียกร้องจากฝ่ายต่างๆให้ผู้มีอำนาจ บารมี ในประเทศออกมาแก้ไขปัญหา โดยจะยอมจำนนอยู่ภายใต้ระบบอำนาจ อำมาตยาธิปไตย(bureaucratic polity) แต่ตัวแทนกลุ่มอำนาจฝ่ายทหารได้ออกมาปฏิเสธในแนวทางที่เรียกร้อง ผมเป็นทหารของประชาชน ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องแก้ด้วยการเมือง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ยืนยันอีกครั้งว่า จะไม่มีการปฏิวัติเกิดขึ้นแน่ ไม่ว่าจะโดยเตรียมทหารรุ่น ๑๐ หรือใครก็ตามกองทัพจะไม่ใช้การแก้ปัญหาด้วยการปฏิวัติรัฐประหารแน่นอน เพราะไม่เป็นประโยชน์หรือผลดีต่อบ้านเมืองเลย ( สืบค้นเมื่อ ๑๑ ก.ค. ๕๑,จาก http://www.dailyworldtoday.com) การออกมายืนยันดังกล่าว วิเคราะห์ได้ว่า ทางกองทัพได้แสดงจุดยืนอย่างแท้จริงที่จะไม่ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำทางการเมือง และไม่สนับสนุนให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนคนไทย

สรุป

ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยเรานั้น แท้จริงแล้วตามทัศนะของตัวผู้เขียนนั้น มีส่วนคล้อยตามทางการเมืองอยู่ คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ต้องมีความเสมอภาคทางการเมือง ประชาชนคือหนึ่งคนหนึ่งเสียง ปฏิเสธระบบอุปถัมภ์ฉะนั้น การแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยก็มิใช่ประเด็นแรกสุดที่จะต้องกระทำ โดยหวังเพียงการลดปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงทุจริตในการเลือกตั้ง, คอร์รัปชั่นและฉ้อฉลอำนาจ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนของรัฐบาลและสภาจากการเลือกตั้ง และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะปลุกปั่นเอาระบบเผด็จการอำมาตยาธิปไตย ความเป็นไทยแบบศักดินา กลับมามีบทบาทอีกในสังคมไทย แต่ต้องเน้นความถูกต้องของนโยบายที่เป็นที่ต้อนรับยึดมั่นของประชาชนและความสำคัญขั้นตัดสินชี้ขาดของการได้อำนาจรัฐมาอย่างชอบธรรมผ่านการเลือกตั้ง
จากการประมวลผลการวิเคราะห์ที่ผ่านมา เมื่อนำเอาหลักทฤษฎีความขัดแย้ง มาอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหา ความเป็นมาว่าแท้จริงแล้ว มูลเหตุของความขัดแย้งมิใช่ประเด็นใหม่เลย เพียงแต่ปรับเปลี่ยนบริบททางการเมือง โดยนำเอาปัญหาที่ละเอียดอ่อน อ่อนไหวต่อความรู้สึกนึกคิดรวมทั้งปัญหาการปลุกระดมกระแสชาตินิยม ซึ่งเหล่านี้ หรือกรณีดังกล่าวได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสังคมไทยเรา และอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าบทสรุปของเรื่องปัญหาเหล่านี้จะมีจุดจบอย่างไรและในฐานะที่ผู้เขียนก็เป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่ง ก็มิต้องการให้ประเทศชาติลุ่มสลาย หรือการเกิดความร้าวฉานในประเทศชาติจนไม่สามารถประคับประคองตนเองได้ แล้วความเป็นรัฐชาติไทยเราจะเหลืออะไร จะก้าวไปในทิศทางไฉน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยเราจะไม่รุนแรงถึงขั้นนองเลือดเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เพียงเพราะเราทุกคนเข้าใจในบทบาท หน้าที่ของพลเมืองที่ดี มีความสามัคคีกันเพื่อที่จะฟันฝ่าอุปสรรคที่มีให้ประเทศชาติมีความเจริญรุดหน้า เทียบเท่านานาอารยะประเทศสืบไป





วิเชียร  รักการ, 2529. วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย. กรุงเทพฯ :โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.
http://www.dailyworldtoday.com)







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น