หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Insight Meditation อินไซท เมดิเตชั่น วิปัสสนาภาวนา


Insight Meditation  อินไซท เมดิเตชั่น       วิปัสสนาภาวนา
1.  lying  Meditation  ไลอิง  เมดิเตชั่น  นอนภาวนา
          1. Rising        ไรซิ่ง    พองหนอ
          2.Falling       ฟอลลิ่ง ยุบหนอ
          3.Lying                   ไลอิ่ง   นอนหนอ
          4.Touching    ทัชซิ่ง   ถูกหนอ
2. Standing  Meditation  สแตนดิ่ง                   ยืนภาวนา
          1. Standing   สแตนดิ่ง         ยืนหนอ
2. Standing   สแตนดิ่ง         ยืนหนอ
3. Standing   สแตนดิ่ง         ยืนหนอ
3.  Sitting  Medidtation  ซิททิ่ง  เมดิเตชั่น  นั่งภาวนา
1. Rising        ไรซิ่ง    พองหนอ
2. Falling      ฟอลลิ่ง ยุบหนอ

3. Sitting       ซิททิ่ง  นั่งหนอ
4. Touching   ทัชซิ่ง   ถูกหนอ
Position of  the hands พะซิชชั่น  ออฟ เดอะ แฮนด  ตั้งท่าทาง
4. Walking Meditation  วอคกิ้ง เมดิเตซั่น  เดินภาวนา
 จงกรม  ระยะ 1        Walking  1    Stage  สเทจ
          Right  goes  thus     ไรท  โกส  ธัส                     ขวาย่างหนอ
          Left  goes thus                 เลฟท  โกส  ธัส          ซ้ายย่างหนอ
จงกรม  ระยะ 2   Walking  2         Stage
Lifing                     ลิฟทิ่ง            ยกหนอ
          Treading       เทรดดิ่ง          เหยียบหนอ
จงกรม  ระยะ 3         Walking  3    Stage
          Lifting           ลิฟทิ่ง            ยกหนอ
          Moving                   มูฟวิ่ง            ย่างหนอ
          Treading       เทรดดิ่ง                   เหยียบหนอ
จงกรม  ระยะ  4 Walking  4          Stage
          Heel  up                ฮีล  อัพ          ยกซ่นหนอ
          Lifting           ลิฟทิ่ง            ยกหนอ
          Moving                   มุฟวิ่ง            ย่างหนอ
          Treading       เทรดดิ่ง                   เหยียบหนอ
จงกรม  ระยะ  5 Walking  5          Stage
          Heel  up                ฮีล  อัพ          ยกซ่นหนอ
          Lifting           ลิฟทิ่ง            ยกหนอ
          Moving                   มุฟวิ่ง            ย่างหนอ
          Treading       เทรดดิ่ง                   เหยียบหนอ
          Touching      ทัชชิ่ง            ถูกหนอ         
จงกรม  ระยะ  6 Walking  6          Stage
          Heel  up                ฮีล  อัพ          ยกซ่นหนอ
          Lifting           ลิฟทิ่ง            ยกหนอ
          Moving                   มุฟวิ่ง            ย่างหนอ
          Treading       เทรดดิ่ง                   เหยียบหนอ
          Touching      ทัชชิ่ง            ถูกหนอ
          Pressing                 เพรสซิ่ง                   กดหนอ

วิชาทางโลกเปรียบเหมือน มีด วิชาทางธรรมเปรียบเหมือน ฟักมีด,อิทังโน ปุณญภาคัง สัพพสัตตานัง เทมะ,เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ ,

ศกนี้ปีสี่แปด  เชิญพุทธเราเข้าหาธรรม        ฝากพจน์ให้จดจำ       ควรเลือกทำแต่กรรมดี
คนชั่วอย่ามัวคบ         ใจสงบพบสุขศรี         จิตสะอาดปราศราคี    ปีใหม่นี้มีสุขเอย

อารมณ์ทั้ง      ชั่วดี    มีผ่านพบ        จิตสงบ รู้ทัน    ไม่หวั่นไหว      รู้อารมณ์        เป็นกลาง        ปล่อยวางไป          จิตใจไม่         วุ่นวาย           สบายเอย.

          ชีวิตที่ดีงามตามคำสอน จงสังวรระวังจิตไม่ผิดศีล                  ถือขันติโสรัจนะเป็นอาจิณ      หมดราคินสิ้นราคีมีราคา   ตั้งสัจจะรักษาทวารสาม                  ปฏิบัติตามโอวาทพระศาสนา   เมื่อใครเห็นก็น่าดูน่าบูชา ตามวาจาพระท่านตรัสสวัสดี

 ใครชอบ     ใครชัง  ช่างเถิด    ใครเชิด ใครแช่ง    ช่างเขา ใครเบื่อ       ใครบ่น ทนเอา ใจเรา   ร่มเย็น เป็นพอ

         

 เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ 

1.      หลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุ
2.      หลักฐานทางประวัติศาสตร์
3.      หลักฐานที่เป็นคำสอนอันได้แก่  ธรรมวินัย

หนทาง  สาย

1. ทางไปนรก  ได้แก่  โทสะ 

2. ทางไปเปรต  และอสุรกายได้แก่  โลภะ

3. ทางไปสู่ดิรัจฉาน  ได้แก่  โมหะ

4. ทางไปสู่มนุษย์  ศีล 

5. ทางไปสู่สวรรค์  ทานและมหากุศล 8
6. ทางไปสู่พรหมโลก  ได้แก่  สมถะ
7. ทางไปสู่นิพพาน  ได้แก่  วิปัสสนา

 

อิทังโน  ปุณญภาคัง  สัพพสัตตานัง  เทมะ

          ข้าพเจ้าทั้งหลายขอแผ่บุญกุศล ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้วนี้  ให้แก่บิดามารดา  ปู่ย่าตายาย  ญาติพี่น้องทั้งหลาย  ครูอุปัชฌาอาจารย์  ท่านผู้มีพระคุณ  ท่านผู้มีบุณคุณทั้งหลาย  และเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย  และสัพพสัตย์ทั้งหลาย  ที่เกิดมาแล้ว  ทุกภพ  ทุกชาติ  ทุกศาสนา  และทุกภาษา  ขอจงเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้แผ่ไปแล้วนี้  ถ้ามีทุกข์ขอให้พ้นจากความทุกข์  ถ้ามีสุขแล้ว  ขอให้สุขยิ่ง ๆ  ขึ้นไปในภพนั้น ๆ  เทอญฯ

 

          ออมทรัพย์ช่วยชาติ               พุทธศาสตร์พัฒนาชีวิต
ออมทรัพย์วันละนิด                         จะทำให้ชีวิตดีในวันหน้า

          รู้จักคนง่าย               แต่รู้ใจคนยาก

          หน้าคนบอกความงาม           หน้าในบอกความดี      หน้าที่บอกความสามารถ

ดื่มนมจากเต้า           ดีกว่าดื่มเหล้าจากกลม
ดื่มแล้วอกตรม                    เพราะดื่มนมจากผิดเต้า
ดื่มนมแล้วรื่นรมณ์                เพราะดูดนมจากเต้า
ดื่มแล้วงี่เง่า                        เพราะดื่มเหล้าผิดกลม

          ถึงลูกใครในหล้าเข้ามาอยู่       จะเลี้ยงดูอบรมให้สมหวัง

มิได้เลือก  ที่รักมักที่ชัง           จะสอนสั่งสุดกำลังและตั้งใจ
เด็กเด็กคือผ้าขาว                  ผู้ใหญ่เรานั้นคือสี
แต่งแต้มแก้มปราณี                ได้ผ้าสีที่งดงาม

          สำเนียง           ส่อภาษา       กิริยาส่อสกุล

จงทำตนให้มีค่า                   แต่อย่ามีราคา

ความสำเร็จของลูกคือ  ความสุขของพ่อแม่

          ขับช้าอาจถึงเร็ว                   ขับเร็วอาจถึงป่าช้า

โรงเรียนสวยงาม ยามมองชื่นใจ  ใครมาใครไปหลงไหลชื่นชม

ทำดีให้คนเกรง                    ดีกว่าเป็นนักเลงให้คนกลัว

สวมเสื้อปล่อยลอยชาย ดูสบาย  แต่ไร้ศักดิ์ศรี  กางเกงกระโปรงสวมใส่ให้พอดี  ต้องเข้าที่  พอดีเอว

เด็กดี  ดูที่มารยาท      เด็กฉลาด  ดูที่ปัญญา

ชีวิตสดใส       สายใยผูกพัน   ธรรมชาติสร้างสรรค์ช่วยกันรักษา

          คนทำบุญไปสวรรค์กันเป็นแถว           จากโลกแล้วมีวิมานอันผ่องสี
เพราะกุศลผลบุญคุณความดี             เป็นบารมีสุขสันอันบวร
         
          บุญทานที่ทำไว้ไม่สูญเปล่า      เป็นของเราจริงแท้แน้หนักหนา
สักวันหนึ่งบุญนั้นคงส่งผลมา             เห็นทันตาเป็นสุขสิ้นทุกข์ภัย

          สู่นรกอเวจีที่มืดมิด               สุดที่ใครจะตามติดไปช่วยได้
ต้องทนทุกข์สยดสยองในกองไฟ                   ตามแต่กรรมของผู้ใดที่ได้ทำ

          ไตรลักษณ์  ลักษณะทั่วไปในสังขาร  1.  ไม่ยืนนาน  ไม่เทียงแท้แปรผัน  2.  ทนได้ยากหนักหนาสารพัน  3.  ที่สุดนั้น  ไม่ใช่ตัวตน
         
          สิ่งที่ปิดบดบังไตรลักษณ์  1. ความสืบต่อบดบังอนิจจังไว้  (สันตติ  ความสืบต่อ)  2. เปลี่ยนเรื่อยไปอิริยาบทบังทุกขัง  3. เห็นเป็นเป็นก้อนรวมพลังจึงบดบังอนัตตาว่าตัวตน

          ตัณหา  3  (ความทะยานอยากอยากใคร่กามคุณ  อยากมีเป็นอยู่นานใหญ่น้อย  อยากสลัดพันธนาการไปจาก  ตัณหาแจงเป็นร้อย  ละเว้นทุกข์หาย

          คุณค่าของสัตว์อยู่ที่กาย                   คุณค่าของหญิงชายอยู่ที่การประพฤติ

          อบายมุข  4   1. นักเลงหญิงแสวงคู่ชู้ไก่แจ้  2. นักสุราร่อนแร่ดื่มเสมอ  3. นักพนันขันแข่งแทงหวยเบอร์
4. คบหาเกลอเพื่อนชั่วตัวย่อมเลว

          มิเกินใช้         ได้เกินเสีย       อย่างนี้รวย  เสียเกินได้ ใช้เกินมี         อย่างนี้รวย

          เจตนาในการทำบุญ    1. ก่อนจะให้ก็ใจดีปลืมสนิท  2. กำลังให้ก็มีจิตคิดผ่องใส  3. ครั้นให้แล้วก็เบิกบานสำราญใจ  อย่างนี้ไซร์สมบัติครบ  พบบุญจริง

หลงทางร้อยทาง  ดีกว่าหลงนางร้อยใจ

วิชาทางโลกเปรียบเหมือน  มีด          วิชาทางธรรมเปรียบเหมือน  ฟักมีด


          กุศลมูล  3  ความดีมีรากเหง้า  ต้นตอ  ไม่โลภรู้จักพอข่มไว้ไม่โกรธ ขุ่นใครหนอ  จิตมนต์ไม่หลงโง่เขลาไซร์แจ่มแจ้งปัญญา

          ผูกด้วยน้ำใจไมตรี  ผูกด้วยวิจีอ่อนหวาน  ผูกด้วยช่วยเหลือการงาน  ผูกด้วยฆ่ามานะ คือความถือตัว


          รักพ่อแม่อย่าลือบุญคุณ                   รักบุญอย่าลืมศีล       

ผัวดีต้องทำตัวเหมือนลูก (เชื่อฟัง)                          เมียดีต้องทำเหมือนแม่  (ห่วงใย)

          จากกันยามเป็นได้เห็นน้ำใจ              จากกันยามตายได้เห็นน้ำตา

ส่วนความดีมีศีลสัตย์    เป็นสมบัติแท้   ถึงตัวแก่กายจะดับไม่ลับหาย   จะสถิตติดแน่นแทนร่างกาย  ชนทั้งหลายต่างสรรเสริญจำเริญผล

          เป็นเช่นนี้แต่บรมปฐมกับป์      เกิดแล้วดับถ้วนหน้าประชาผอง
อนิจจังสังขารวิญญาณครอง    จงเพ่งมองสัจจธรรมสำนึกตน

          นอนตัวแข็งและสลด    เมื่อหมดชีพเขาตราสังข์หีบสี่คนหาม            
สู่ป่าช้าสิ้นเชื้อเหลือแต่นาม     ใครจะถามหรือเรียกเขาก็เปล่าดาย

          คราเจ็บไข้ไม่สบายวุ่นวายเหลือ          ช่างหน้าเบื่อหน่ายหนังโอ้สังขาร
เป็นทุกข์ยิ่งจริงนะทรมาน       ต่อวายปราณเมื่อไหร่จึงหายไป
         
แม้ท่องเที่ยวไปในโลกหล้า      แอบเฆมฟ้าเขาเขินเนินไศล
มัจจุราชติดตามทุกยามไป      อยู่ที่ใดพ้นตายนั้นไม่มี

          สิ่งที่ยาก 4  1. การได้เกิดเป็นมนุษย์นี้สุดยาก  2. ครองชีวิตก็ลำบากยากนักหนา  3. การฟังธรรมยิ่งยากแท้แต่ละคราว  4. บังเกิดมายากที่สุด  พุทธองค์  กิจโฉ  พุทธานมุปปาโท

          ความไม่รู้อิ่มของสัตว์  3  ความอิ่มในโลกนี้มีสาม  1. การเสพกามความใคร่อยู่ไม่สร้าง  2. ดื่มน้ำเมาเซชนตามหนทาง  3. หลับแผ่กางนอนเรื่อยไม่เมื่อยตัว
         
วิเวก 3 ความสงบ,ความสงัดสงบกายจากขลุกด้วยฝูงชน  สงบจิตจากกุศลนิ่งแท้  สงบกิเลสจากเวียนวนด้วยภพ  สงบสามอย่างและล่วงพ้นสงสาร

ใครชอบนอนคุยคลุงจนฟุ้งซ่าน           ชอบเกียจคร้านเที่ยวไปไม่ขยัน           มีความโกรธประจำเป็นสำคัญ
เหตุข้อนั้นหายนะไม่เจริญ

          ศรัทธาเป็นที่ตั้ง          สตางค์เป็นที่สอง

          ทำบุญคือทานด้วยเมตตา        ทำบุญคือรักษา  ศีลพร้อม                ทำบุญคือภาวนา รู้รอบ  สามประการเชิญน้อมที่ตั้งแห่งบุญ

          มิตรแตกกันเพราะเหตุสามประการ     1. คลุกคลีเหลือเกิน  2. ห่างเหินยิ่งนัก  3. ของรักมักขอ

          วิรัติ  3 (การงดเว้น)  1. เว้นเมื่อประสบซึ่งหน้า (สัมบัตติวิรัต)  2. เว้นด้วยเจตนาไว้ก่อน (สมาทานวิรัต
3.เว้นชงัดตัดตอน (สมุจเฉทวิรัต

          สัทธรรม  ธรรมที่แท้, หลักของศาสนา  1. ต้องเล่าเรียน  (ปริยัติ)  2. ต้องเพียรฝึกฝน (ปฏิบัติ)  3. มรรคผลจึงเกิดมี (ปฏิเวธ

          สังโยชน์  3  1.เห็นว่ากายของตนเสียจนเป๋  2. เกิดลังเลสงสัยข้อปฏิบัติ  3. ลูบคลำเพียงศิลาจารวัตร  ยาสลัดให้ขาดประหลาดจริง

          อกุศลวิตก  3  1. นึกในกามปรารถนาจนว้าวุ่น   2. นึกเคืองขุ่นมองแต่ในแง่ร้าย  3. นึกเบียดเบียนขัดขวางทางทำลาย  นึกทั้งสามอย่างนี้ไซร์  ไม่ดีเลย


          อกุศล  3  ความชั่วมีรากเหง้าต้นตอ  โลภอยากได้ไม่รู้จักพอ  โกรธเคืองแค้นด่าทอ ไปหมด  หลงไม่รู้ต้นเค้ามืดฟ้ามัวดิน

          อัคคิไฟ 3  เปรียบเหมือไฟเผาใจให้เร่าร้อน  1. ไฟราคะกัดกร่อนจิตคิดกระสัน  2. ไฟโทสะประทุษร้ายให้โทษทัณฑ์  3. ไฟโมหันธ์ ไม่รู้จริงสิ่งทั้งปวง

          ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง  สัพพันตังนิโรธธัมมัง 

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีการดับไปเป็นธรรมดาไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น
         
          สิ่งที่บุคคลไม่ควรเข้าใกล้  1. บุคคลไร้ยางอาย  2. หญิงชายที่ไร้สัจจะ  3. พระที่ไร้ศีล 4. กำแพงหินที่ผุพัง

          ปปัญจธรรม (ธรรมเป็นเหตุเนินช้า)  1. ความอยากเป็นอยากมีนี่อยากได้ 2. ความเห็นใครถูกต้องเท่าของฉัน 3. ถือตัวดีด้อยเด่นเป็นสำคัญ ทั้งสามนั้นเป็นเหตุพาเนิ่นช้าเอย

          สัพเพธัมมาสัง  อภินิเวสาย  สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดถือมั่น

          เดินเข้าไปข้างหน้า  ดีกว่ายืนเต๊ะท่าอยู่กับที่
         
          ความจนเกิดจาก  อดีตไม่ให้ทาน  ปัจจุบันไม่ตั้งตัว 

ทานที่มีผลบุญมาก 3 อย่าง 1. ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก  2. ให้แก่ผู้ทุศีลมีผลน้อย  3. ให้แก่ผู้ละกิเลสมีผลมากที่สุด


          ความรักเกิดด้วยเหตุ  2  1. อดีตชาติอยู่ร่วมกัน  2. ปัจจุบันหมั่นเกื้อกูลให้กันและกัน 
         
          บุคคลหาได้ยาก 2   บุคคลหาได้ยากหากท่านชี้  1. บุพพการีผู้ทำคุณแก่คนอื่น 2. กตัญญูกตเวที ตอบแทนคืนใช้มีดื่นทั่วไปในสังคม

          คู่ครอง 4 1. ศพอยู่ร่วมกับศพ  2. ศพอยู่ร่วมกับเทพ 3. เทพอยู่ร่วมกับศพ  4. เทพอยู่ร่วมกับเทพ

          ห่วง 3  1. ปุตโตคีเว  มีลูกผูกคอ  2. ธะนังปาเท มีทรัพย์ผูกเท้า  3. ภริยาหัตเถ มีภรรยาผูกมือ

         
          มีบ่วงหนึ่งเกี้ยวพันคอ  ทรัพย์ผูกบาทา คลอหน่วงไว้ ภรรยาเยี่ยงบวงปอรึงรัดมือนา 3 บ่วงนี้ใครพ้นได้จึงพ้นสงสาร 

          วิมุตติความหลุดพ้น  1. พ้นเพราะจิตสงบ  2. พ้นเพราะปราบ อวิชชา

          ธรรมอันทำให้งาม 2  ธรรมอันทำให้งามตามแบบบท  1. ขันติ  อดทนเถิดจะเกิดผล  2. โสรัสจะความเสงี่ยมรู้เจียมตนจักโสภณคนนิยมชื่นชมนาน

          ธรรมที่ปรารถนาได้อยากยิ่ง 4  1. ขอให้มั่งมีทรัพย์  2. ขอให้มียศ  3. ขอให้มีอายุยืน 4. ตายแล้วขอให้ไปเกิดในสวรรค์

          ธรรมมีอุปการะ 2 ธรรมที่คุณอย่างมากหากมีไว้  1. คือ  สติ  ระลึกได้อย่างถ้วนทั่ว  2. สัมปัชญญะควบคู่คือรู้ตัว รั้งความชั่วเร้าทำดีทุกทาง
         
          ภาราทานัง  ทุกขัง โลเก ภารานิกเขปนัง สุขัง  การถือภาระของหนักไว้เป็นทุกข์ในโลกการวางภาระของหนักเสียได้เป็นสุขในโลก

          หมดอื่น ๆ หมดไป  หาใหม่แก้  แต่หมดแม่  ไม่มี  ที่จะหา  พระคุณแม่  ลำเลิญ  ให้เกิดมา  ร่วมชายคา  เรือนตน  แม่คนเดียว 

เตือนสติพระ

อาการที่ต้องอาบัติ
          ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสิกขา  (ศีล  สมาธิ  ปัญญาและอาชีวะ  (พร้อมทั้งการเลี้ยงชีพของภิกษุทั้งหลาย  คืออธิศีลและอาชีวสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้จึงเป็นภิกษุได้
          ถ้าไม่รู้จักอาการที่จะพึงต้องอาบัติ  ๖ อย่างนี้แล้วยากที่จะรักษาตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์พ้นจากอาบัติโทษได้
          ครั้งเป็นภิกษุแล้ว  ก็จะต้องรู้จักอาการที่จะพึงต้องอาบัติ  ๖  อย่างคือ
          ต้องด้วยไม่ละอายแก่บาป  ๑  แกล้งย่ำยีสิกขาบทน้อยใหญ่  ๑  ต้องด้วยไม่รู้สิกขาบทถี่ถ้วน  ๑  ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง  ๑  ต้องด้วยสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร  ๑ต้องด้วยสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร  ๑  ต้องด้วยหลงลืมสติ ๑
          เหตุดังนั้นเราทั้งหลายพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน  ตั้งใจศึกษาฟังสิกขาบทโดยเคารพให้สำเร็จประโยชน์ของตนเทอญฯ
*****************
พึงศึกษาให้รู้ทั่ว
          ผู้ที่จะถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีวะของภิกษุทั้งหลายคือ  อธิศีลและอาชีวสิกขาบท  ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติตั้งไว้จึงเป็นภิกษุได้
          เพราะเหตุนั้นเราทั้งหลายปฏิญาณว่าเป็นภิกษุแล้ว  ก็จะต้องศึกษาให้รู้ทั่วไปในสิกขาบทน้อยใหญ่ทั้งปวง  ถ้าไม่รู้ให้ไต่ถามซักถามความในสิกขาบทนั้น  ให้รู้ให้เข้าใจ  อันนี้เป็นกิจของภิกษุที่ไม่รู้พึงจะทำ  ถ้าผู้ใดไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วทอดธุระเสีย  ไม่ควรเลยแกผู้นั้นเป็นอาบัติ
          โดยพุทธบัญญัติว่า  ให้ภิกษุที่ศึกษาอยู่พึงรู้ทั่วไปในสิกขาบทน้อยใหญ่ทั้งปวงถ้าไม่รู้พึงถามซักถามความในสิกขาบทนั้นให้รู้ให้เข้าใจ  อันนี้เป็นความดีในเธอนั้น
          เหตุดังนั้นเราทั้งหลายพึงเป็นผู้พร้อมเพรียง ตั้งใจศึกษาฟังสิกขาบทโดยเคารพให้สำเร็จประโยชน์ของตนเทอญฯ
บวช  ๔  แบบ

 

บุคคลในศาสนานี้มี  ๔  จำพวก

          พวกหนึ่งชื่อ  อุปชีวกา  เข้าบวชในศาสนาหาเลี้ยงชีวิตเป็นสุขสบายเท่านั้น

          พวกหนึ่งชื่อ  อุปกีฬิกา เข้าบวชในศาสนาเที่ยวหาของเล่นพอสนุกสบายเท่านั้น

          พวกหนึ่งชื่อ  อุปมุยหิกา เข้าบวชในศาสนาเป็นคนหลงงมงาย

          พวกหนึ่งชื่อ  อุปนิสฺสรณิการ เข้าบวชในศาสนาเพื่อจะออกจากทุก กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
          ผู้บวชในศาสนานี้มี  ๔  จำพวกนี้  สองพวกข้างต้นที่บวชหาเลี้ยงชีพและหาของเล่นนั้น  ไม่ชอบธรรมและวินัย  ถึงจะศึกษาเล่าเรียนฟังไปก็เป็นแต่สักว่าทำ  หาปฏิบัติจริงๆ  ไม่ เพราะความมุ่งหมายของตนจะหาเลี้ยงชีวิตและจะหาอะไรเล่นเท่านั้น
          พวกที่บวชหลงงมงายนั้นต้องการธรรมและวินัยอยู่  แต่ไม่รู้จักธรรมวินัยเข่าว่าอย่างไรก็หลับตาทำไป  ผิดธรรมผิดวินัยก็หารู้ไม่
          พวกที่บวชในศาสนาเพื่อจะออกจากทุกข์  กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้น  ต้องการยิ่งนักในธรรมและวินัย  เพราะว่าธรรมและวินัยนั้นเป็นพระศาสดาแทนพระพุทธเจ้า เป็นอุบายออกจากทุกข์  กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
          ก็เราทั้งหลายได้มาบวชในศาสนาเพื่อจะออกจากทุกข์ กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ควรที่จะต้องการธรรมวินัยให้ยิ่งกว่าสิ่งอื่นจึงจะชอบ

                                                *****************

ปฏิบัติตนให้สมกับภาวะ


          เราทั้งหลายปฏิญาณตนว่า เป็นอุปสัมบัน (ผู้อุปสมบท) ผู้เข้าถึงพร้อมพระทัยพระแล้ว ก็จะต้องปฏิบัติให้สมกับชื่อว่า  เป็นอุปสัมบัน
          ที่จะปฏิบัติให้สมกับชื่อว่า เป็นอุปสัมบัน คือสิ่งใดที่พระห้ามไม่ให้ทำก็ไม่ทำ ที่พระสั่งสอนให้ทำก็ทำตามทุกอย่าง อย่างนี้ แลจึงชื่อว่า  อุปสมฺปนฺโน ผู้เข้าพร้อมพระทัยพระได้
          อนึ่ง ปฏิญาณว่าเป็นภิกษุแล้ว ก็จะต้องทำกิจให้สมกับชื่อว่าภิกษุ
          ที่จะทำกิจให้สมกับชื่อว่าภิกษุนั้น คือเป็นผู้เห็นภัยใน  วัฏสงสาร    ปฏิบัติต่อยกิเลส  ทำลายกิเลสไม่ก่อกิเลสให้กำเริบกล้าขึ้น
          อนึ่ง ปฏิญาณว่าเป็นบรรพชิตว่าเป็นสมณะแล้ว  ก็จะต้องปฏิบัติให้สมกับชื่อว่าบรรพชิตว่าสมณะนั้น  คือละกิจของคฤหัสถ์ ทั้งปวง  มาทำกิจ  คือเว้นบาประงับบาปน้อยใหญ่ ไม่เบียดเบียนผู้ใดผู้หนึ่งให้ได้รับความเดือนร้อน   ด้วย  กาย  วาจา
          อย่างนี้แลจึงจะสมกับชื่อว่า  อุปสัมบัน  ภิกษุ  บรรพชิต  สมณะได้ ถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้  สักแต่เพียงว่านุ่งผ้าเหลืองห่มผ้าเหลือง  โกนผม ปลงหนวดเท่านั้น  จะเป็นอุปสัมบัน เป็นภิกษุ  เป็นบรรพชิต เป็นสมณะ  มาแต่ไหน
          เราทั้งหลายมาปฏิบัติให้เป็นผู้เข้าถึงพร้อมด้วยพระทัยพระ  และเป็นผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร  ปฏิบัติต่อยกิเลส ทำลายกิเลส เป็นผู้เว้นและระงับบาปน้อยใหญ่ ก็ต้องอาศัยธรรมและวินัย  อุตสาหะ  ปฏิบัติไปอย่างนี้จึงจะสมลักษณะชื่อได้

ควรเคารพธรรมวินัย


          เราทั้งหลายได้ปฏิญาณตน  นับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ว่าเป็นที่พึงอันอุดมว่าสิ่งอื่นฉะนี้แล้ว  ควรที่จะเคารพนับถือธรรมและวินัยให้ยิ่งขึ้นไปจึงจะชอบ เพราะว่าธรรมและวินัยนั้น เมื่อผู้ใดปฏิบัติตาม  ย่อมยังผู้นั้นให้ได้ความสุขสบาย  ไม่ลุ่มหลงเดือดร้อนต่อกิเลสบาปกรรมทั้งปวง
          เมื่อเป็นฉะนี้แล้ว  ให้พึงทราบด้วยตนเองเถิดว่า  อันนี้เป็นบุญคือความดีความชอบ      ในพระพุทธศาสนาไปประสบแล้ว
          เราทั้งหลายละเพศฆาราวาสมาพรรพชา  ปรารถนาบุญกุศลซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความสุข  ไม่รุมจิตให้เร่าร้อนด้วยเพลิงกิเลส  เป็นเหตุนำผลคือ ทุกข์มาให้ฉะนี้แล้ว จำจะต้องศึกษาสำเนียกไว้ในข้อบัญญัติให้ถ่องแท้  และไม่แกล้งล่วง แล้วหวงดองอาบัติน้อยใหญ่ไว้ให้เป็นอาณาวิติกกมันตราย (อันตรายอันเกิดจากการก้าวล่วงข้อบัญญัติ)

ศิลปะแห่งการดำรงชีวิต


          ถ้ามองดูด้วยสายตาของนักศีลธรรม  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งศีลธรรม  ในอีกส่วนหนึ่งพระพุทธศาสนาเป็นสัจธรรม  เป็นจิตวิทยา  เป็นปรัชญาและเป็นตรรกวิทยา  อย่างน้อยที่สุด  เราทั้งหลายควรถือเอาพระพุทธศาสนาเป็นศิลปะแห่งการครองชีวิต  กระทำการที่แยบคายสุขุมในการที่จะมีชีวิตอยู่เป็นมนุษย์ให้งดงาม  น่าเลื่อมใสศรัทธาจนคนอื่นทำตามเราด้วยความสมัครใจ
          เราควรมีความงดงามเป็นเบื้องต้นด้วยศีลบริสุทธิ์
a)      เราควรมีความงดงามในท่ามกลางด้วยการมีจิตใจสงบเย็น
          เราควรมีความงดงามในเบื้องปลายด้วยความสมบูรณ์แห่งปัญญา
          เมื่อใครมีชีวิตอยู่ด้วยความงดงาม  ๓  ประการแล้ว  ถือว่าเป็นผู้มีศิลปะแห่งการดำรงชีวิตอย่างสูงสุด.


กิจศาสนา คือ ฆ่ากิเลส


          เราทั้งหลายบวชในศาสนานี้  บริโภคปัจจัย  ๔  คือ จีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะ  เภสัช  ที่ทายกหวังผลแล้ว  และให้ศรัทธาความเชื่อและความเลื่อมใสแล้วไปทำกิจนอกศาสนา ก่อกิเลสให้กำเริบกล้าขึ้น หาทำกิจศาสนาคือ ปฏิบัติดับ ราคะ โทสะ โมหะไม่อย่างนี้ไม่ควรเลยแก่เราทั้งหลาย
          พระพุทธเจ้าที่เป็นที่พึงที่นับถือของเราทั้งหลายนั้น พระองค์สิ้น ราคะ โทสะ โมหะ แล้วจึงนามว่า  อรหํ  สมฺมาสมฺพุทฺโธ
          พระองค์ตรัสเทศนาสั่งสอนสัตว์  เพื่อให้ละ ราคะ  โทสะ  โมหะ อย่างเดียวเท่านั้น พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จึงชื่อว่า  สวากขาโต
          พระสงฆ์สาวกของพระองค์เล่าก็ปฏิบัติดับ  ราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว จึงชื่อว่า  สุปฏิปนฺโน  ปฏิบัติดีแล้ว ชอบแล้ว
          พึงทราบเถิดว่า  จะต้องปฏิบัติรบข้าศึก  คือ ราคะ โทสะ โมหะ เท่านั้น พระอุปัชฌาย์จึงได้ให้  ตจปัญจกกรรมฐาน แต่เมื่อแรกอุ้มผ้ากาสาวพัสตร์ เข้ามาขอบรรพชาให้เป็นอาวุธสำหรับประหารข้าศึก คือ  ราคะ  โทสะ  โมหะ อนึ่ง ศีลจะบริสุทธิ์ไม่เป็นอาบัติเล่า ต้องอาศัยศึกษารู้จักธรรมวินัย จึงจะรักษาตนให้พ้นจากอาบัติโทษได้


                                                ***********************


บวชมาทำไม. ?

บุคคลบวชในศาสนามีสองจำพวก  บางจำพวกบวชด้วยความศรัทธาบางจำพวกบวชด้วยไม่มีศรัทธา เป็นแต่สักว่าเห็นเขาบวชกับบวชบ้าง
          พวกไม่มีศรัทธาบวชทำไม  บวชไปๆ  กลายเป็นเถน  บวชทำไม  บวชไปๆ  กลายเป็นขโมย  บวชทำไม  บวชไปๆ  กลายเป็นเถระเร่อร่าเลอะเทอะ  ไม่รู้จักศาสนาว่าเป็นของดี  บวชทำไม  บวชไปๆ  กลายเป็นพ่อค้า  บวชทำไม  บวชไปๆ  กลายเป็นเจ้าชู้บวชทำไม  บวชไปๆ  กลายเป็นลูกจ้างคฤหัสถ์  ปฏิบัติหาเลี้ยงชีพ  ไม่สุจริต  บวชทำไม  บวชไปๆ  กลายเป็นคนเกะกะกีดศาสนาที่พึ่ง มิได้บวชทำไม  บวชไปๆ  กลายเป็นคนกีดวัดปฏิบัติไม่คุ้มตัว
          ที่พึ่งที่เคารพของตน คือธรรมวินัยสองอย่าง เป็นสัตถุศาสนา มีผู้แสดงให้ฟังก็ไม่อยากฟัง  พากันลุกตุบๆ  ออกไปเสีย นอกโบสถ์ ไม่ชอบฟัง ถ้าเป็นถ้อยคำของคนตลกคะนองร้องรำเอะอะอื้ออึงให้อารมณ์ฟุ้งซ่านก็ไม่รำคาญ สู้นอนนั่งทนฟังอยู่ได้
          บวชทำไม  บวชเอาอะไร กินแล้วก็นอน นอนแล้วก็กิน ขี้รดวัด เยี่ยวรดวัด ปฏิบัติเลอะเทอะ
          บวชทำไม บวชเอาอะไร เล่าเรียนหรือ  ท่องบ่นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่มีแต่เพียงสวดมนต์ไหว้พระก็เต็มที ช่างไม่อายแก่ผีสางเทวดา  พระเณรที่เขามีศรัทธาบ้างเลย
          ก็เราทั้งหลายไม่ได้วุ่นวายเลอะเทอะอย่างว่ามานี้ควรที่เราทั้งหลายจะขวนขวายประกอบการศึกษาเล่าเรียนท่องบ่นสวดมนต์ไหว้พระ  อย่าให้กาลเวลาวันคืนล่วงไปเสียเปล่า ขาดทุนชีวิตที่เป็นมา

                                                *********************

ผู้นำที่ดี


ผู้นำเป็นสมองของสังคม  ผู้นำย่อมมีความสำคัญสูงสุด  ในฐานะพลังความคิดที่ขับเคลื่อนสังคม  คุณภาพของผู้นำคือปัจจัยเบื้องต้นที่จะนำพาสังคมไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการ
          ผู้นำที่ดีจึงเป็นรุ่งอรุณของประเทศ เป็นความหวังของคนทั้งหลาย  แต่ผู้นำที่เรามักพบเห็นได้ง่ายกลัยเป็นผู้นำที่ไม่พึงประสงค์  ๓  ประเภท  คือ
๑.       ซื่อสัตย์แต่ไม่สร้างสรรค์
๒.       ขยันแต่เขลาเบาปัญญา
๓.       เก่งกล้าสามารถแต่ฉลาดฉ้อฉล
เยาวชนรุ่นนี้จึงกลายเป็นความหวังอันเรืองรองของสังคม  จำเป็นต้องได้รับการบ่มเพาะความรู้คู่ไปกับคุณธรรม  เพื่อที่เมื่อเติบโตไป  จะได้เป็นผู้นำที่ซื่อสัตย์   สร้างสรรค์  ขยัน  ฉลาด  เก่งกล้าสามารถ รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวมและเป็นกลไกการมั่นคงอย่างยั่งยืน
*********************

สูตรการเป็นผู้นำ

          สมควร   เหล่าลาภะ  เขียนไว้ใน  พุทธศาสตร์การศึกษาระบุว่า การสร้างผู้นำที่ดี  ตามหลักกพระพุทธศาสนา  มีองค์ประกอบสำคัญ  อยู่  ๒  ประการคือ
          ปรโตโฆสะ  การรู้เขา  คือ  การเรียนรู้คนอื่น  เป็นพหูสูตร  พหูสูตรมีคุณสมบัติ  ๕  ประการ  คือ ฟังให้หมด๑  จดให้มาก ๑ ปากต้องไว ๑ ใจต้องคิด ๑ ไม่ปิดกั้นวิสัยทัศน์  ๑
          โยนิโสมนสิการ  การรู้เรา  คือ  การรู้จักตนเอง  การเรียนรู้ตนเอง  การพิจารณาตนเอง  และศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยปัญญาของตัวเอง
                                                *********************

 

 

คนสมบูรณ์แบบ


          คนสมบูรณ์แบบหรือมนุษย์โดยสมบูรณ์ซึ่งถือได้ว่าเป็นสมาชิกที่ดี มีคุณค่าแท้จริงของมนุษย์ชาติ  เป็นคนเต็มคนผู้สามารถนำหมู่ชนและสังคมไปสู่สันติสุขและความสวัสดี  มีธรรมหรือคุณสมบัติ  ๗  ประการ  คือ
         
๑.       รู้หลักและรู้จักเหตุผล
๒.       รู้จักตน
๓.       รู้จักกาล
๔.       รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล
๕.       รู้ชุมชน  รู้จักถิ่น
๖.       รู้บุคคล  รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล
๗.       รู้จักประมาณ

ธรรม  ๗  ข้อนี้  เรียกว่า  สัปปุริสธรรม แปลว่า  ธรรมของสัปปุริสชนคือคนดีหรือคนที่แท้  ซึ่งมีคุณสมบัติของความเป็นผู้ที่สมบูรณ์.



วันสำคัญในประเทศไทย

วันที่
เดือน
สำคัญอย่างไร
25
มกราคมทุกปี
วันกองทัพไทย
24
กุมภาพันธ์
วันศิลปินแห่งชาติ
8
มีนาคม
วันสตรีสากล
2
เมษายน
วันอนุรักษ์มรดกไทย
16
เมษายน
วันนักกีฬายอดเยี่ยม
8
พฤษภาคม
วันกาชาดโลก
31
 พฤษภาคมมิถุนายน
วันงดบุหรีโลก
5
มิถุนายน
วันสิ่งแวดล้อม
26
มิถุนายน
วันสุนทรภู่
18
สิงหาคม
วันวิทยาศาสตร์
8
กันยายน
วันแห่งการเรียนรู้
9
ตุลาคม
วันไปรษณีโลก
16
ตุลาคม
วันอาหารโลก
21
ตุลาคม
วันสังคมเคราะห์แห่งชาติ
24
ตุลาคม
วันสหประชาชาติ
1
ธันวาคม
วันโรคเอดส์แห่งโลก
10
ธันวาคม
วันรัฐธรรมนูญ
16
ธันวาคม
วันกีฬาแห่งชาติ
25
ธันวาคม
วันคริสมาส
28
ธันวาคม
วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

แว่นแก้วเป็นนามปากกาของ
พระเทพรัตนราชสุดา

วิสัยทัศน์  คือ  การมองการไกลไปในอนาคต

กงล้อธรรมจักรทำด้วยหิน แกนเป็นคำสอนธรรม ข้อ สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี
พระพุทธรูปยืนสูงที่สุดของประเทศไทยอยู่  วัดอินทร์วิหาร  บางขุนพรหม 
แป๊ปซี่มีขายครั้งแรกในไทยเมื่อ  พ..  2496
ใครแต่งเพลงชาติ  หลวงสารานุประพันธ์
วัดไทยแห่งใดไม่มีเจดีย์  วัดสุทัศน์
ใครเป็นผู้ริเริ่มคำว่า  สวัสดี  พระอุปกิตสาร
สมัยรัชกาลที่  มีหนังสือพิมพ์ข่าวราชการฉบับแรกของไทยคือ  หนังสือราชกิจจานุเบกษา
วัดเชตุพนเป็นวัดที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกอักษรศาสตร์การแพทย์
เกิดนวนิยายเรื่องแรกของไทยคือ  เรื่อง  ความพยาบาท  นามปากกา  แม่วัน  คือพระยาสุรินทราชา  (นกยูงวิเศษกุล 
พระราชวงศ์ใดที่ได้รับฉายาว่า  พระยาช้างเผือก  พระเจ้าจักรพรรดิ์

สุภาษิต

          กิริยา คือการทำของมนุษย์ได้แก่  ยืน  เดิน  นั่ง  นอน  กิน  ดื่ม  ทำ  พูด  คิด  ถ้าบริหารดีก็มีคุณ  ถ้าบริหารไม่ดีก็มีโทษ  เพื่อให้ได้ประโยชน์พอสมควร  จึงได้พูดเป็นภาษิตไว้ดังนี้

ยืน

                   เมื่อยืนอยู่  จงอย่าเหม่อ  เผลอสติ
          อย่าอุตริ  ยืนล้ำ  ไปค้ำเศียร
                   อย่ายืนบังหน้า  เขาจะพา  กันติเตียน
          คนแก่เรียน  ยืนไม่ขวาง  ทางสัญจร

เดิน

                   เมื่อเดินไป  ตามทาง  ระหว่างวิถี
          อย่ารีบลี้  ลนขวาง  กลางถนน
                   อย่าเดินโน้ม  ก้มหน้า  จะพาชน
          อย่าร้อนรน  เดินให้ดี  ไม่มีภัย

นั่ง

                   เมื่อนั่ง  จงระวัง  อย่านั่งเผลอ
          อย่านั่งเหม่อ  ม่อยหลับ  อยู่กลับที
                   นั่งท่าไหน  จงระวัง  นั่งให้ดี
          สติมี  สังวรณ์ไว้  กายวาจา

นอน

                   เมื่อนอน  ผ่อนกาย  จะให้หลับ
          จงระงับ  ความคิดยุ่ง  และฟุ้งซ่าน
                   อย่ากังวล  ห่วงใย  ในการงาน
          ผ่อนลมปราณ  ค่อยระงับ  จะหลับเร็ว

กิน

          เมื่อกิน  จงอย่ากิน  จนสิ้นซาก          อย่ากินมาก  จนอึดอัด  จะขัดขวาง    
อย่ากินวาง  ค้างไว้  เล่นไปพลาง                 จงกินอย่าง  อิ่มพอดี  จึงมีคุณ

ดื่ม

                   เมื่อดื่มน้ำ  ดับร้อน  ผ่อนกระหาย
          บำรุงกาย  ตรากตรำ  ให้ฉ่ำชื่น
                   อย่าดื่มมาก  พักผ่อน  ให้ร้อนคืน
          ค่อยค่อยกลืน  จะไม่สำลัก  กระอักไอ

ทำ

                   เมื่อทำอะไร  จงตั้งใจ  ให้แน่วแน่
          อย่าสักแต่  ทำไป  จะไร้ผล
                   อย่ามักง่าย  ใจร้อน  ค่อยผ่อนปรน
          จะได้ผล  งามเหมาะ  เพราะทำจริง

พูด

                   เมื่อพูด จงระวัง  อย่าพลั้งปาก
          อย่าพูดมาก  รวนเร  เถลไถล
                   จงพูดให้ ได้เค้า  ฟังเข้าใจ
          รักภิปราย  คิดเห็น  จึงเจรจา

คิด

                   เมื่อคิด  จงพินิจ  ให้ถ่องแท้
          คิดให้แน่  ต้องสังเกตุ  ถึงเหตุผล
                   อย่าคิดยุ่ง  ฟุ้งเฟ้อ  จนเผลอตน
          เกิดเป็นคน  ควรคิดชอบ  ประกอบการ

ว่าด้วยทางเจริญ

          1 พะหู  เทวา  มะนุสสา  จะ  มังคะลานิ  อะจินตะยุง  อากังขะมานา  โสตถานัง  พรูหิ มังคะมุตตะมัง
          มวลมนุษย์  และเทวามาคิดค้น  ว่ามงคลข้อนี้มีไฉน  หวังสวัสดี  มีแต่ตัวกันทั่วไป  ขอจงได้โปรดแสดงแจ้งมงคล
          2 อะเสวะนา  จะ พาลานัง  บัณฑิตานัญจะ  เสวะนา  ปูชา  จะปูชะนียานัง  เอตัมมังคะละมุตตะมัง
          ไม่คบพาลสันดานร้ายไว้เป็นมิตร  คบบัณฑิตชิดเชื้อและเชื่อถือ  บูชาท่านผู้ทรงคุณบุณระบือ  นี่แหละคือ  ดีเด่น  เป็นมงคล
          3 ปะฎิรูปะเทสะวาโส  จะ  ปุพเพ  จะ  กะตะปุญญะตา  อัตตะสัมมาปะณิธิ  จะ  เอตัมมังคะละมุตตะมัง 
          อยู่ในถิ่นที่เหมาะสมัยไม่อับเฉา  มีบุญเก่าชูชุปอุปถัมภ์  ตั้งตนไว้ในระบอบที่ชอบธรรม  นี่แหละกรรมดีเด่นเป็นมงคล
          4 พาหุสัจจัญจะ  สิปปัญจะ  วินะโย  จะ  สุสิกขิโต สุภาสิตา จะ  ยา  วาจา  เอตัมมังคะละมุตตะมัง
          คงแก่เรียนเก่งกิจการชำนาญหมด  เรียนรู้บทแบบวินัยได้ถ้วนถี่  เจรจาไพเราะเหมาะเจาะดี  สิ่งเหล่านี้ดีเด่นเป็นมงคล
          5 มาตา  ปิตุ  อุปัฎฐานัง  ปุตตะตารัสสะ  สังคะโห  อะนากุลา  จะ  กัมมันตา  เอตัมมังคะละมุตตะมัง
          เลี้ยงพ่อแม่ของตนดีอย่างที่สุด  สงเคราะห์  บุตรภรรยาตามหน้าที่  ทำการงานเป็นระเบียบเรียบร้อยดี  สิ่งเหล่านี้ดีเด่นเป็นมงคล
          6 ทานัญจะ  ธัมมะจริยาจะ  ญาตะกานัญจะ  สังคะโห  อะนะวัชชานิ  กัมมานิ  เอตัมมังคะละมุตตะมัง
          บำเพ็ญทานประพฤติธรรมตามสามารถ  สงเคราะห์ญาติพวกพ้องฉันท์น้องพี่  ทำงานไร้โทษประโยชน์ดี  สิ่งเหล่านี้ดีเด่นเป็นมงคล
          7 อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา  จะ  สัญญะโม  อัปปะมาโท  จะ  ธัมเมสุ  เอตัมมังคะละมุตตะมัง
          รู้กำหนดงดเว้นจากความชั่ว  สังวรตัวจากน้ำเมาไม่เข้าใกล้  ไม่ประมาทในธรรมประจำใจ  ดังนี้ได้ดีเด่นเป็นมงคล
          8 คาระโว  จะ  นิวาโต  จะ  สันตุฎฐี  จะ  กตัญญุตา  กาเลนะ  ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
          รู้นอบน้อมถ่อมใจใช้ขอโทษ  รู้สันโดษแหละรู้คุณท่านทำไว้  หมั่นฟังธรรมตามกาลที่ผ่านไป  ดังนี้ได้ดีเด่นเป็นมงคล
          9 ขันตี  จะ  โสวะจัสสะตา  สะมะนานัญจะ  ทัสสะนัง กาเลนะ  ธัมมะสากัจฉา  เอตัมมังคะละมุตตะมัง
          รู้อดทนและว่าง่ายไม่มานะ  ได้พบพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล  สนทนาธรรมตามประสงค์ที่จงจินต์  รวมทั้งสิ้นดีเด่นเป็นมงคล
          10 ตะโป  จะพรหมะจะริยัญจะ  อริยะสัจจานะทัสสะนัง  นิพพานะสัจฉิกิริยา  จะ  เอตัมมังคะละมุตตะมัง
          มีพลังใจและประพฤติพรหมจรรย์  เห็นธรรมอันถูกต้องโดยถ่องแท้  ทำให้แจ้งพระนิพพานไม่ผันแปร  ดังนี้แลดีเด่นเป็นมงคล
          11 ผุฎฐัสสะ  โลกะธัมเมหิ  จิตตัง  ยัสสะ  นะ  กัปปะติ  อะโสกัง  วิระชัง  เขมัง  เอตัมมังคะละมุตตะมัง
          เมื่อโลกธรรม  ประการผ่านมาต้อง  ดวงจิตของเรานั้นไม่หวั่นไหว  ไม่โศรกสลดหมดละอองผ่องโพรงใจ  ดังนี้ได้ดีเด่นเป็นมงคล
          12 เอตาทิสานิ  กัตวานะ  สัพพัตถะมะปะราชิตา  สัพพัตถ  โสตถิง  คัจฉันติ  ตันเตสังมังคะละมุตตะมันติ 
          ใครประพฤติตามธรรมเหล่านี้ได้  ไม่แพ้ภัยในที่ทุกสถาน  สบสวัสดีในที่ทุกประการ  ท่านจึงขะนานนามตรงว่ามงคล

กรรมกิเลส 

          1(ปาณาติบาตการฆ่าาสัตว์  ตัดสิทธิ์  ชีวิตเขา
          2 (อทินนาทาการถือเอา  เขาไม่ให้  ด้วยใจคต
          3 (กาเมสุ  มิจฉาจารการละเมิด  กามมิจฉา  สิกขาบท
          4 (มุสาวาทการพูดปด  มดเท็จ  กิเลสกรรม
          การกระทำที่นำความเศร้าหมองมาสู่กายใจของผู้ประพฤติเรียกว่า  กรรมกิเลส  เหตุว่านักปราชญ์ไม่สรรเสริญ  เป็นกรรมที่นำสู่สุคติ  ผู้หวังความบริสุทธิ์ทั้งทางกายและใจ  ไม่ควรประพฤติทั้งในที่ลับและที่แจ้ง  ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
       2 อบายมุข คือเครื่องฉิบหาย  อย่าง
          1 นักเลงหญิง  สิ่งร้าย    ฉิบหายทรัพย์
          2 นักสุรา  พายับ  ในทางชั่ว
          3 นักพนัน  สร้างเวรภัย  ให้แก่ตัว
          4 คบคนชั่ว  มีผลร้าย  เมื่อปลายมือ
          เหตุอันจะนำความฉิบหายมาสู่ผู้ประพฤติ  โดยไม่มีทางเลี่ยง  เรียกว่า  อบายมุข  คำว่านัก  แปลว่า  มาก  คือทำบ่อยๆ  หรือปฏิบัติเป็นประจำเป็นปกตินิสัยของตน  อนาคตจะต้องประสพหายนะ  เพราะเหตุความเป็นนักเลงนั้นๆ  มิใช่อย่างเดียวแค่เกี่ยวพันไปได้มากมาย  จึงจัดเป็นต้นเหตุแห่งให้หายนะดังกล่าวแล้ว
 

3 ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์  คือประโยชน์ในปัจจุบัน  4 อย่าง

          1 (อุฎฐานสัมปทาทรัพย์สิน  ต้องหมั่น  ขยันหา
          2 (อารักขสัมปทาอารักขา  ทรัพย์ไว้  ไม่ให้สูญ
          3 (กัลยาณมิตตาคบคนดี  เป็นมิตร  คิดเกื้อกูล
          4 (สมชีวตาจ่ายทรัพย์ทุน  เลี้ยงชีพ  พอสมควร

          ผู้ที่อัธยาศัย  สมบูรณ์ด้วยคุณธรรม  ประการนี้  ย่อมบรรลุประโยชน์ที่จะพึงได้ในปัจจุบัน  อันเป็นที่มุ่งมาตรปรารถนาของคนทั่วไป  ซึ่งได้แก่  ลาภ  ยศ  สุข  สรรเสริญ  และไมตรีเป็นต้น  จึงเรียกว่า  ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ 

 

4 สัมปรายิกัตถะประโยชน์  คือประโยชน์ในภายหน้า  อย่าง

          1 (สัทธาสัมปทามีศรัทธา  เชื่อกรรม  จำแนกสัตว์ 
          2 (สีละสัมปทามีวิรัติ  เจตนา  รักษาศีล
          3 (จาคะสัมปทาบำเพ็ญบุญ  ด้วยศรัทธา  เป็นอาจิณ
          4 (ปัญญาสัมปทารู้ทางสิ้น  ทุกข์ประจักษ์  ตามหลักธรรม
          ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมเหล่านี้  ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า  ถือเอาสาระแห่งชีวิตไว้ได้ ในปัจจุบันนี้ก็มีความสุข  ครั้นสิ้นชีพไปแล้ว  ย่อมบรรลุสุขในโลกหน้า  คือมนุษย์สมบัติ  สวรรค์สมบัติ  และนิพพานสมบัติ  ซึ่งทุกคนมุ่งมาตรปรารถนายิ่งนัก
จากวัดประชาบำรุง  ต.ห้วยโป่ง
          ฉันเช้าเสร็จ  ตาลาย  ส่ายโงนเงน
          ฉันต้องขอ  เอนหลังพัก  สักครู่ก่อน
          หลับสักหน่อย  คงชื่นใจ  หายอาวรณ์
          ไว้ตื่นนอน  แล้วล้างหน้า  มาท่องมนต์           หลับได้หน่อย  หูแว่ว  เสียงกลองเพล
                                                                   กระโดดเผ่น  ไปล้างหน้า  โกลาหล
                                                                   ฉันเพลเสร็จ  เที่ยวเดินถือ  หนังสือมนต์
                                                                   แย่เหลือทน  ท้องมันแน่น  แสนรำคาญ
          ตัดสินใจ  เอาหนังสือ  เก็บไว้ก่อน
          ต้องขอนอน  อีกหน่อย  ย่อยอาหาร
          ตอนนี้ขืน  ท่องไป  ไม่ได้การ
          มันรำคาญ  ท่องเท่าไร  คงไม่จำ                  พอตอนบ่าย  กลุ้มอุรา  อากาศร้อน
                                                                   ต้องขอนอน  อีกหน่อย  คอยตอนค่ำ
                                                                   แม้นแดดร่ม  ลมตก  คงท่องจำ
                                                                   ไว้ตอนค่ำ  ท่องก็ได้  เป็นไรมี
          หกโมงเย็น  เสียงระฆัง  รัวดังจัด
          ได้เวลา  ทำวัตร  แล้วหรือนี่
          ทำวัตรเสร็จ  แหมหูตา  พร่าเต็มที
          ไว้พรุ่งนี้  ท่องดีกว่า  ครับอาจารย์
จรลีขอเขากิน  เรียกว่า  บิณฑบาตโปรดสัตว์
ฉันแล้วนั่งหลับตา  เรียกว่า  ภาวนาปฏิบัติ
บวชแล้วไม่ศึกษา  ประดุจดัง  หมาเฝ้าวัด                พูดมากจนน่ารำคาญ  เพราะท่านเชี่ยวชาญปริยัติ
                                                          เช้าเอน  เพลแล้วนอน  เรียกว่าพวก  สุกรวัด
                                                          เข้าป่าเสียหลายปี  ดูท่านมีราศรีชะมัด
                                                          ออกจากป่าจากดง  ท่านก็ประสงค์จะสร้างวัด
                                                          ที่บอกใบ้ให้หวย  เพราะคิดจะรวยในทางลัด
                                                          แจกเครื่องลางของขลัง  หวังจะดังเหมือนจุดประทัด
                   พอได้ดีมีหลักฐาน  ก็อยากเป็นสมภารเจ้าวัด
                   ชักชวนโยมให้เสียสตางค์  ท่านก็อ้างบุญสารพัด
                   พอเห็นสีกงสีกา  ก็ทำท่าว่าอยากฟัด     แต่พอสิกขาลาเพศ  เป็นได้แค่เปรตข้างวัด  เฮ้อ

เสียงจากศิษย์วัด
สีกาสาว                   สีกาสวย         มาช่วยวัด
ควรงดรัด        งดสั้น            จนเกินแข้ง
เพราะเสื้อผ้า   อาภรณ์                   ไม่ได้แพง
แม้ไม่แกล้ง     แต่มันล้น        พ้นออกมา

พระคุณเจ้า     ท่านไม่มอง     แต่ต้องรับ
ของประเคน    ที่ขยับ            ขึ้นมาให้
แม้นสีกา        มีศรัทธา         จากจิตใจ
ควรใส่ใจ        ผ้านุ่งห่ม        ที่สมควร

แม้สีกา สาวสวย                   มาช่วยวัด
แต่นุ่งรัด         นุ่งสั้น            ระวังหนา
แม้พระเจ้า     ท่านปลงได้     อนิจจา
เดี๋ยวหมูหมา   ในวัด             จะกัดเอง
เสียงจากสีกา

วอนสักนิด      หลวงพี่          ที่อยู่วัด
อย่าตวัด                  สายตา           มาขาหนู
ทั้งตอนก้ม      ตอนประเคน   หน้าอกพรู
ทั้งพระครู       ทั้งพระใหม่     ไหงชอบมอง….ละคะ.

เสียงจากอุบาสก
สีกาสาว                   สายเดี่ยว        มาเทียววัด
ใส่เสื้อรัด        จนอกล้น        ซุกซนเหลือ
เธอมาวัด        มาทำบุญ        ไปจุนเจือ
หรือมาเพื่อ     จะสึกพระ      กันนะเอย
สีกาสาว                   ขาวหมวย       ช่างสวยหนัก
แม้น่ารัก        แต่น้องนาง     ช่างเปิดเผย
ล่างก็เปิด        บนก็เปิด         ไม่มิดเลย
โอทรามเชย    เกรงใจพระ     บ้างนะเอย

เสียงจากพระคุณเจ้า
วอนสักนิด      สีกา    ที่มาวัด
อย่านุ่งรัด       นุ่งเขิน จนเกินท่า
แม้นุ่งรัด         นุ่งเขิน แล้วเดินมา
เดี๋ยวจะพา      พระใหม่        ใจไม่ดี  นะ

อันอาราม       งามดี   ต้องมีพระ       หากโยมละ     ส่งข้าว วัดเศร้าหมอง
เช้าไม่เห็น       เพลลับหาย     ไม่มามอง       พระก็ต้อง       เลิกล้าง          จากอาราม
ออกพรรษา     พระศาลา       สิกขาหมด      วัดก็อด พระอยู่ คู่วิหาร ขืนบำเพ็ญ      ต่อไป   ไม่ได้นาน
โบสถ์วิหาร      คงล้างลา        จากพระเณร

ถ้าอยากเป็นคนงาม     อย่าวู่วามโกรธง่าย      ถ้าอยากเป็นคนสบาย  อย่าเบื่อหน่ายความเพียร
ถ้าอยากเป็นคนมั่งมี    อย่าเป็นคนดีแต่ง่าย     ถ้าอยากเป็นคนนำสมัย อย่าทำลายวัฒนธรรม

BeFore จรดปากกาลง          Peper I Draw  picture  เธอเป็นท้องฟ้า      
And Draw ตัวฉันนั้นเป็น Star ดาวคู่ฟ้าฉันคู่เธอ Ferfect      ดี

กว่าจะลุกก็ต้องผ่านจากการล้ม          กว่าจะคมก็ต้องผ่านจากการทื่อ        
กว่าจะเก่งก็ต้องผ่านการฝึกปรือ     กว่าจะมีชื่อก็ต้องผ่านการอดทน  

ถ้าครูดีเป็นศรีสง่าชาติ  ศิษย์ฉลาดรอบรู้ดูเหมาะสม    
ถ้าศิษย์ดีครบถ้วนชวนนิยม     ครูชื่นชมอมยิ้มเอิบอิ่มใจ
ผู้ใหญ่ดีก็เป็นศรีสง่าเด่น         เด็กได้เห็นแบบอย่างทางสดใส
ถ้าเด็กก็เป็นศรีทวีชัย   จักช่วยให้พัฒนาสถาพร
ถ้าสงฆ์ดีก็เป็นศรีสง่าศาสน์      ช่วยประกาศหลักธรรมนำสุขสันต์
ญาติโยมดีมีศรัทธาทั่วหน้ากัน  โลกก็จะเป็นสวรรค์ไม่ผันแปร

วันไหน ๆ ไม่สำคัญเท่าวันนี้     แม้วันนี้จะสำคัญกว่าวันไหน   
วันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ดีอย่างไร      ก็คงไม่สำคัญเท่าวันนี้ที่รอคอย

เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง   เหมือนนกยูงมีดีที่แววขน       
ถ้าใจต่ำก็เป็นได้แต่เพียงคน     ย่อมเสียที่ตนได้เกิดมา
ใจสะอาด       ใจสว่าง          ใจสงบ ถ้ามีครบควรเรียกมนุษย์สา
เพราะทำถูก    พูดถูกทุกเวลา  เปรมปรีดาคืนวันสุขสันต์เอย

อันเศษหอยด้อยค่านำมาแต่ง   มาดัดแปลงงามล้นคนซื้อหา
ลูกคนจนฝึกให้ดีมีวิชา  ไม่น้อยหน้าใครใครในสังคม
นักเรียนดี  ไม่โยกเก้าอี้ ไม่หนีโรงเรียน ไม่เขียนข้างฝา ไม่ด่าครูสอน
ไม่นอนตื่นสาย ไม่หน่ายการเรียน       ไม่เพียรทำผิด ไม่คิดเสพยา    ไม่บ้าเกมส์

เรียนโดด        สายเดียว        เที่ยวดึก         ส้นตึก  มือเติบ
ใจแตก แหกคอก        นอกครู ลบหลู่พ่อ-แม่ แตหรอ ต่างหากฯ

ถ้าเราละมันก็ว่าง                 ถ้าเราวางมันก็เบา      ถ้าเราเอามันก็หนัก    
ถ้าเรารักมันก็ทุกข์  ถ้าเราสงบสุขมันก็สบาย

ขับดีนั่งสบาย   ขับร้ายตายแน่ ขับแย่รถพัง     ขับระวังปลอดภัย       ขับไวลงคู        ขับไม่ดูลงคลอง ขับไม่มองขึ้นเกาะ          ขับไม่เหมาะหัวขาด     ขับประมาทเป็นผี       ขับไม่ดีชนระเบิด        ขับประเสริฐอยู่เย็น     ขับไม่เป็นอย่าขับ

Insight Meditation  อินไซท เมดิเตชั่น       วิปัสสนาภาวนา
1.  lying  Meditation  ไลอิง  เมดิเตชั่น  นอนภาวนา
          1. Rising        ไรซิ่ง    พองหนอ
          2.Falling       ฟอลลิ่ง ยุบหนอ
          3.Lying                   ไลอิ่ง   นอนหนอ
          4.Touching    ทัชซิ่ง   ถูกหนอ
2. Standing  Meditation  สแตนดิ่ง                   ยืนภาวนา
          1. Standing   สแตนดิ่ง         ยืนหนอ
2. Standing   สแตนดิ่ง         ยืนหนอ
3. Standing   สแตนดิ่ง         ยืนหนอ
3.  Sitting  Medidtation  ซิททิ่ง  เมดิเตชั่น  นั่งภาวนา
1. Rising        ไรซิ่ง    พองหนอ
2. Falling      ฟอลลิ่ง ยุบหนอ

3. Sitting       ซิททิ่ง  นั่งหนอ
4. Touching   ทัชซิ่ง   ถูกหนอ
Position of  the hands พะซิชชั่น  ออฟ เดอะ แฮนด  ตั้งท่าทาง
4. Walking Meditation  วอคกิ้ง เมดิเตซั่น  เดินภาวนา
 จงกรม  ระยะ 1        Walking  1    Stage  สเทจ
          Right  goes  thus     ไรท  โกส  ธัส                     ขวาย่างหนอ
          Left  goes thus                 เลฟท  โกส  ธัส          ซ้ายย่างหนอ
จงกรม  ระยะ 2   Walking  2         Stage
Lifing                     ลิฟทิ่ง            ยกหนอ
          Treading       เทรดดิ่ง          เหยียบหนอ
จงกรม  ระยะ 3         Walking  3    Stage
          Lifting           ลิฟทิ่ง            ยกหนอ
          Moving                   มูฟวิ่ง            ย่างหนอ
          Treading       เทรดดิ่ง                   เหยียบหนอ
จงกรม  ระยะ  4 Walking  4          Stage
          Heel  up                ฮีล  อัพ          ยกซ่นหนอ
          Lifting           ลิฟทิ่ง            ยกหนอ
          Moving                   มุฟวิ่ง            ย่างหนอ
          Treading       เทรดดิ่ง                   เหยียบหนอ
จงกรม  ระยะ  5 Walking  5          Stage
          Heel  up                ฮีล  อัพ          ยกซ่นหนอ
          Lifting           ลิฟทิ่ง            ยกหนอ
          Moving                   มุฟวิ่ง            ย่างหนอ
          Treading       เทรดดิ่ง                   เหยียบหนอ
          Touching      ทัชชิ่ง            ถูกหนอ         
จงกรม  ระยะ  6 Walking  6          Stage
          Heel  up                ฮีล  อัพ          ยกซ่นหนอ
          Lifting           ลิฟทิ่ง            ยกหนอ
          Moving                   มุฟวิ่ง            ย่างหนอ
          Treading       เทรดดิ่ง                   เหยียบหนอ
          Touching      ทัชชิ่ง            ถูกหนอ
          Pressing                 เพรสซิ่ง                   กดหนอ
ภาษิตติดต้นไม้
ความสงบเกิดเมื่อไหร่  ความสุขใจเกิดเมื่อนั้น  จะชนะใครสักที  ควรเอาความดีเข้าชนะ
สมณะที่ดี  ต้องมีความสันโดษ อารมณ์ปัจจุบัน  นั่นคือทางแห่งสมาธิ
ถ้าไม่รู้จักฝึกจิต  ก็มีแต่คิดฟุ้งซ่าน                 เส้นทางของชาวพุทธ  คือหยุดจากคยวามชั่ว
รู้ละ  รู้วาง  คือหนทางของพระ         สร้างบ้านต้องมีเสา  ชาวพุทธเราต้องมีศีล
จิตจะเบาสบาย  ถ้าเราทั้งหลายนั่งสมาธิ        จิตนี้จะมีพลัง  ถ้าหมั่นนั่งสมาธิ
คุมอารมณ์  ข่มใจ  คือวิสัยของชาวพุทธ         อยู่อย่างพระ  ต้องไม่ละกรรมฐาน
ฝึกจิตทุกวัน  ผิวพรรณผ่องใส  หยุดปรุง  หยุดคิด  ชีวิตหมดปัญหา
โรคประสาทไม่กล้ำกราย  ถ้าหมั่นทำใจให้สงบ  ความทุกข์จะเกิดมาก  หากไม่ปล่อยวาง
ชนะสิ่งอื่นไม่น่าภูมิใจ  เท่ากับชนะใจตัวเอง     คนเก่งแท้  คือคนไม่ยอมแพ้กิเลส
หมั่นวาง  หมั่นละ  ย่อมเกิดพระขึ้นในใจ        ฝึกใจให้สงบ  จะได้พบกับสุขแท้
ยึดมั่นมากไป  ใจก็เป็นทุกข์     ชีวิตไม่วุ่นวาย  ถ้าไม่ส่งใจออกนอก
ชีวิตนี้จะสดใส  ถ้าฝึกใจอยู่เสมอ        จิตจะหมองมัว  เพราะตัวยึดมั่น
ปล่อยกิเลสให้แผดเผา  จิตใจเราจะเร่าร้อน              สังคมไม่วุ่นวาย  ถ้าคนทั้งหลายรักษาศีล
มารภายนอกไม่น่ากลัว  มารในตัวน่ากลัวกว่า  ทำใจสงบได้  อยู่ที่ไหน ๆ        ก็มีสุข

รักหึงหวง       ห่วงใย           ใจจึงทุกข์
คิดว่าสุข         ทุกข์เกาะ       เพราะความหวัง
ที่ว่าสุข          ทุกข์น้อย        ค่อยประทัง
สุขจีรัง           ต้องวางละ      จะสุขจริง