หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปรัชญาการศึกษากับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

ปรัชญาการศึกษาเป็นความคิด ความเชื่อ ที่ใช้เป็นหลักในการคิดและการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติการจัดการเรียนเรียนรู้ ครูจำเป็นจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักปรัชญาการศึกษาพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กับปรัชญาการศึกษาปัญหาของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และความเจริญทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ส่งผลต่อการจัดการศึกษาของไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะการจัดการศึกษาสามารถที่จะขจัดปัญหาต่าง ๆ ไปได้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ขึ้น และได้มีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้บรรจุมาตราต่าง ๆ เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลง
5 แนวทาง ได้แก่
1. การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน-การประเมินผล
2. การปฏิรูปการฝึกอบรมครู และระบบการพัฒนาครู การใช้ครู
3. ปฏิรูประบบการบริหารจัดการ
4. ปรับระบบการศึกษา
5. ยุทธศาสตร์ของการระดมสรรพกำลังจากทุก ๆ ส่วนของสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ปรัชญาการศึกษามีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะมีการศึกษาที่ใดย่อมมีการนำ
ปรัชญาการศึกษาไปใช้ที่นั่น เช่นเดียวกัน ที่ใดมีปรัชญาการศึกษาที่นั่นย่อมมีการจัดการศึกษา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นแนวทาง เป็นหลักการและเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ
ปรัชญาการศึกษาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2542 พอจะสรุปเนื้อหาความสำคัญของปรัชญาดังต่อไปนี้
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)
เน้นเนื้อหาสาระและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมที่ได้รับการยอมรับและปฏิบัติกันในสังคม
จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนในสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1.1 เพื่อทะนุบำรุง และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชนรุ่นหลัง มิให้สูญหาย หรือถูกทำลายไป
1.2 เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
1.3 เพื่อให้การศึกษาในเรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
1.4 เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
1.5 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
1.6 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเอง และรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism)
จุดมุ่งหมายของปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยมอยู่ที่ การสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง ปลูกฝังความ
เชื่อและค่านิยมที่ดีแก่ผู้เรียน มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีเหตุผลยิ่งขึ้น รู้จักและเข้าใจตนเอง พร้อมทั้งเห็นว่าตัวเองนั้นมีพลังธรรมชาติอยู่ภายในแล้ว การศึกษาก็คือการส่งเสริมให้พลังธรรมชาตินั้นพัฒนาเต็มที่ พลังธรรมชาติในที่นี้ก็คือ สติปัญญาของมนุษย์ ถ้าสติปัญญาได้รับการขัดเกลาและพัฒนาอย่างดีพอ มนุษย์ก็จะทำอะไรได้อย่างมีเหตุผลเสมอ จุดหมายของการศึกษาของทฤษฎีการศึกษานิรันตรนิยมกล่าวไว้ดังนี้ คือ
2.1 มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องเหตุผลและสติปัญญา
2.2 มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สูงขึ้นเพื่อเป็นคนที่สมบูรณ์
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(progressivism)
แนวคิดหลักการของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุก ๆ ด้านไม่เฉพาะ
สติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับเนื้อหา เรื่องของปัจจุบันมีความสำคัญกว่าอดีตหรืออนาคต จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียง
คุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและเข้าใจ และมองว่าการศึกษาจะต้องให้การศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่สุดส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(reconsteuctionism)
ปรัชญาการศึกษาในแนวนี้เห็นว่า ปัจจุบัน(รวมทั้งอนาคต) สังคมมีปัญหามากทั้งในด้านของเศรษฐกิจ
การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก สังคมจึงต้องการการแก้ปัญหาและหาทางที่จะสร้างค่านิยมและแบบแผนของสังคมขึ้นใหม่ การที่จะแก้ปัญหาและสร้างค่านิยมขึ้นใหม่นี้ การศึกษาจะต้องมีบทบาทอย่างสำคัญซึ่งความเชื่อและหลักการสำคัญของทฤษฎีการศึกษาปฏิรูปนิยมในด้านจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาในแนวทางนี้คือการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อปรับปรุง พัฒนาและสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีและเหมาะสมกว่าขึ้นมาให้ได้ ดังจะกล่าวเป็นรายละเอียดได้คือ
4.1 การศึกษาจะต้องช่วยแก้ปัญหาของสังคมที่เป็นอยู่
4.2 การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสังคมโดยตรง
4.3 การศึกษาจะต้องมุ่งสร้างระเบียบใหม่ของสังคมจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่
4.4 ระเบียบใหม่ที่สร้างขึ้นรวมทั้งวิธีสร้างต้องอยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย
4.5 การศึกษาจะต้องให้เด็กเห็นความสำคัญของสังคมคู่ไปกับตนเอง
5. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism)
เชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพในทางที่จะเป็นตัวของตัวเองตลอดเวลา นักปรัชญากลุ่มนี้สนใจเกี่ยวกับโลกแห่ง
การดำรงชีวิตอยู่ได้(A World of Existing) เชื่อว่า คนคือความไม่แน่นอน ไม่มีแก่นสาร ความจริงหรือความรู้ควรจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้ตนเองดำรงชีวิตอยู่ได้ จริยศาสตร์ควรจะเป็นเรื่องของเสรีภาพและความสมัครใจสุนทรียศาสตร์ควรจะเป็นเรื่องของการปฏิวัติหรือหนีสังคม และไม่จำเป็นต้องตรงกับความพอใจของประชาชนส่วนใหญ่ กลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์มีความเป็นอิสระ มีเสรีภาพในการเลือก ในการกระทำ มนุษย์ตัดสินใจด้วยตนเอง เลือกด้วยตนเอง และรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองลัทธินี้มีความสัมพันธ์กับปรัชญาด้านต่าง ๆ คือ เชื่อว่า ความจริงคือการดำรงอยู่ของชีวิต ไม่เห็นด้วยกับความสมบูรณ์แท้จริงที่สุดของการให้เหตุผลหรือตรรกวิทยาบริสุทธิ์ ลัทธินี้เน้นถึงชีวิตและประสบการณ์ของเอกัตบุคคล เชื่อว่ามนุษย์จะดีก็อยู่ที่การเลือกที่จะทำตนให้เป็นเช่นนั้น นักปรัชญาในกลุ่มนี้บางคนก็เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า แต่บางคนเชื่อว่า มีพระเจ้าเป็นผู้ช่วยมนุษย์ให้มีศีลธรรมจรรยาดี เชื่อว่าความจริงคือ ความรู้จะช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ และถือว่าความรู้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแก่แต่ละบุคคล ความรู้ไม่ใช่ผลบั้นปลายอันต้องประสงค์ และก็ไม่ใช่มรรคอันจำจะต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวไปเผชิญกับชีวิตจริง หากความรู้เป็นมรรควิธีจะให้แต่ละคนเจริญเติบโต และเลือกทำในสิ่งที่ตนประสงค์ยิ่งขึ้นทุกที
6. ปรัชญาการศึกษาพุทธปรัชญา (Buddhism)
เป็นปรัชญาที่เชื่อว่า การศึกษาคือการพัฒนาบุคคลให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดจนรู้จักแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดมุ่งหมายในมาตรา 6 ได้กำหนดว่า
1. มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในด้านต่างๆ ของการศึกษา คือ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้
และคุณธรรม
2. มุ่งให้คนไทยมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แก่
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม(essentialism)
แนวคิด ความเชื่อและหลักการสำคัญของลัทธิสารัตถนิยมในด้านของจุดมุ่งหมายของการศึกษามีลักษณะคือ
1.1 เพื่อทำนุบำรุงและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปสู่ชุมชนรุ่นหลัง มิให้สูญหายหรือถูกทำลายไป
1.2 เพื่อให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
1.3 เพื่อให้ดารศึกษาในเรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
1.4 เพื่อฝึกฝนให้ผุ้เรียนมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน
1.5 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางปัญญา
1.6 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยในตนเองและรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น


2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (perennialism) 


แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ
2.1 มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่อง เหตุผลและสติปัญญา
2.2 มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สูงขึ้น เพื่อความเป็นคนที่สมบูรณ์


3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism) 


แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองอย่างเต็มที่ ให้รู้จักใช่เสรีภาพในการเลือก และมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์เข้าใจตัวเอง เข้าใจโลกและความสำคัญของการมีอยู่ การศึกษาจะต้องช่วยให้มนุษย์สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชาญฉลาด สามารถหาความหมายออกมาจากสิ่งที่ไร้ความหมาย ลัทธินี้ความเชื่อว่า ถ้าต้องการจะให้นักเรียนมีคุณค่า จะต้องส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละคนได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถของแต่ละคนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเท่านั้น จุดมุ่งหมายของการศึกษา คือการสร้างให้คนรู้จักยอมรับและมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเลือกและในสิ่งที่ตนทำนั้น หมายถึง การศึกษาต้องสร้างเด็กให้เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
4. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (progressivism)
แนวคิดหลักของการศึกษาแบบ พิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษาจะต้องพัฒนาการเด็กทุกด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับเนื้อหา การศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและเข้าใจ ในขณะที่นิรัตรนิยมเน้นความสามารถทางเหตุผลสติปัญญา แต่พิพัฒนาการนิยมมองกว้างไปกว่านั้น โดย

มองว่าการศึกษาจะต้องการศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม อาชีพ และสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่สุด สิ่งที่เรียนที่สอนควรเป็นประโยชน์สัมพันธ์สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและสังคมของผู้เรียนมากที่สุด ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
5. ปรัชญาการศึกษา พุทธปรัชญา (buddhism)
แนวคิดความเชื่อและหลักการสำคัญในด้านจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ
5.1 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความงอกงามในขั้นธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)
5.2 มุ่งให้พัฒนาสังคมได้ คือ มีความรู้ ความเข้าใจและใช้ปัญญาเกี่ยวกับเกณฑ์ของสังคม มีความร่วมมือกัน
ตลอดจนเคารพนับถือและให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยสอนให้เข้าใจในสาราณียธรรม 6 อปริหารนิยธรรม 7
และสัปปุริสธรรม 7
5.3 มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลเพื่อจะได้นำการรู้จักคิดนี้ไปแก้ปัญหาในชีวิต
มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการ ปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้สากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้ตกพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
จุดมุ่งหมายในมาตรา 7 เป็นการกำหนดรายละเอียดของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับคนไทย โดยคำนึงถึง ปรัชญาทางการเมือง และวัฒนธรรมไทย หรือความปรารถนาของสังคมไทยโดยแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้
1. มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุข
2. รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็น
มนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
3. รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ
4. ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้สากล
5. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แก่
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (essentialism)มีแนวความคิดเกี่ยวกับตัวนักเรียนและกระบวนการเรียน
การสอน และตัวครู การจัดการเรียนการสอนโรงเรียนจะต้องยึดหลักการอบรมจิตใจเด็กให้มีระเบียบวินัยอันดีงามตามที่ยึดถือกันมา นอกจากนี้เดควรได้รับการสอนเกี่ยวกับความคิดที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งความคิดนั้นจะได้รับการประยุกต์ให้เหมาะสมกับระดับจิตใจและสติปัญญาของเด็ก ไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา เพราะว่าวิธีการแก้ปัญหานี้ไม่สามารถใช้กับเนื้อหาวิชาทุกอย่าง ความรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันออกไปและก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนามธรรมซึ่งความรู้ เหล่านี้ไม่อาจเอามาแยกแยะเป็นปัญหาให้เด็กพินิจพิเคราะห์แก้ปัญหาได้ และเรื่องวิธีการสอนแบบ Learning by doing ก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรนำมาใช้กับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ทั่วไป เพราะวิธีนี้เหมาะสมกับบางสถานการณ์ บางบุคคลท่านั้น เป็นต้นว่า เด็กจะเรียนรู้หรือเน้นสิ่งที่น่าคิด ถ้าจะให้ทำเพื่อความเข้าใจก็พอจะทำได้ แต่ถ้าจะให้ทำเพื่อให้ได้แก่นสารสาระในเนื้อหาวิชาแล้ว เป็นการสอนที่ไม่ถูก ดังนั้นเนื้อหาที่เป็นสาระ ครูต้องสอนให้เลย และให้เด็กจดจำเป็นดีที่สุด การสอนโดยยึดทฤษฎีนี้ ห้องเรียนมักจะมีลักษณะเหมือนห้องปาฐกถาโต๊ะเก้าอี้เคลื่อนย้ายไม่ได้ นักเรียนต้องตั้งใจฟังครูซึ่งจะเป็นผู้บอกเนื้อหาวิชาให้
บทบาทของครูมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ฉะนั้นกระบวนการเรียนการสอนจะเป็นแบบ ครูเป็นศูนย์กลาง คือครูจะเป็นผู้อธิบาย ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจตามให้ได้ วิธีการสอนจะเป็นการสอนแบบบรรยาย หากจะใช้วิธีอื่นประกอบด้วยก็ได้ แต่ต้องถือหลักให้เด็กรู้และเข้าใจเป็นสำคัญ การถามตอบในห้องเรียนเป็นการถามตอบเพื่อทำความเข้าใจเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือโต้แย้ง แต่แม้จะเป็นการสอนในลักษณะของกระแสธารทางเดียวเช่นนี้ก็ตาม การเรียนการสอนก็ยังต้องเน้นการฝึกฝนและสร้างผู้นำในกลุ่มด้วย ผู้นำกลุ่มนี้จะเป็นผู้ซึ่งเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาดี มีระเบียบ วินัย ควบคุมและรักษาตนเองได้ดี
2. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(reconstructionism) กระบวนการเรียนการสอนในปรัชญาสาขานี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม คือ ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหา และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเองวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ก็ยังอาศัยวิธีการของประวัติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุม ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ของกระบวนการเรียนการสอนตามปรัชญาสาขานี้ คือทฤษฎีและปฏิบัติจะควบคู่กันไปในกรณีที่การปฏิบัติจริงกระทำไม่ได้ก็จะใช้บทบาทสมมุติแทน แต่เป้าหมายปลายทางจะต้องคำนึงถึงการนำความรู้ไปใช้ได้
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (progressivism) กระบวนการเรียนการสอนในปรัชญาสาขานี้ ให้เด็กรู้
ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหาต่าง ๆ และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตัวเอง วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ยังอาศัยวิธีการของประวิติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุมถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด ส่งเสริมความสนใจของแต่ละบุคคลและเป็นประชาธิปไตย กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการของปรัชญาการศึกษานี้พอจะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
3.1.การเรียนการสอนเน้นที่ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
3.2.การเรียนการสอนควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน
3.3.ครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.4.เด็กควรได้รับประสบการณ์ตรงในเรื่องที่ปรึกษา
3.5.เด็กควรได้รับประสบการณ์ที่น่าสนใจ ชักจูงใจ เช่นการใช้ภาพยนตร์ สไลด์ เชิญวิทยากร เป็นต้น
3.6.ผู้เรียนได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักวิเคราะห์ปัญหา หาข้อมูล เพื่อแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ
3.7.ผู้เรียนควรได้รู้จักวางโครงการ ดำเนินโครงการ วิเคราะห์และประเมินโครงการต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.8.ส่งเสริมประชาธิปไตยและความร่วมมือในการเรียนการสอน
3.9.การเรียนการควรเป็นกระบวนการต่อเนื่องเกี่ยวพันกันตลอดเวลา
4. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม(existentialism) การฝึกให้เด็กได้รู้จักตนเอง สนใจตนเอง และเลือก
ทางเลือกของตนเองนั้นย่อมไม่ขัดกับเรื่องความสนใจในบุคคลอื่น เพราะปรัชญานี้ถือเป็นหลักอยู่แล้วว่า สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลอื่น ๆ ด้วย สิ่งที่ตนเองเลือกย่อมหมายถึงว่าได้เลือกสำหรับคนอื่นด้วย สำหรับกระบวนการเรียนการสอนนั้น สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละคนมีพัฒนาการในด้านความเป็นตัวของตัวเอง คือ ให้นักเรียนมีโอกาสเลือกและเลือกโดยอิสระ ซึ่งมีหลักเบื้องต้น 2 ประการ คือ
4.1 ฝึกให้เด็กมีความสามรถในการเลือกและตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
4.2 ฝึกให้เด็กเกิดความโน้มเอียงที่จะเลือกทางใดทางหนึ่งตามที่ตนได้ตัดสินใจ
มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

หลักการสำคัญทั้งสามข้ออาจอธิบายได้ดังนี้
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ในหลักการข้อนี้หมายถึง รับจะต้องจัดและส่งเสริมให้เอกชน
และทุก ๆ ส่วนของสังคมได้จัดการศึกษาตลอดชีวิต
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การกำหนดหลักการในข้อนี้ได้นำเอา มาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญ
มาพิจารณา แล้วกำหนดสิทธิของประชาชนในการจัดการศึกษาและให้องค์กรต่าง ๆ ในสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มากขึ้น
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลักการนี้เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูป
การศึกษา โดยให้บุคคลได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง คือ
1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ ซึ่งกล่าวถึงหลักการไว้ดังนี้
1.1 การศึกษาคือชีวิต ทุกชีวิตจะต้องมีการศึกษาเพื่อดำรงชีวิตในสังคมมิใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต การศึกษา
ไม่ได้ทำๆไปในอนาคต
1.2 การเรียนควรเป็นเรื่องที่เด็กสนใจโดยตรงทีเดียว ครูคอยแนะนำเด็กให้สนใจในทางที่ถูกที่ควรมากขึ้น
เท่านั้น เพราะครูมีประสบการณ์มากกว่าโดยเจริญเติบโตมาเต็มที่กว่า อยู่ในขอบข่ายเรียนโดยอาศัยวิธีแก้ปัญหา สำคัญกว่าเรียนจำเนื้อหาสาระต่าง ๆ ในการบริหารงานตามปรัชญานี้ถือหลักคือ การร่วมมือกัน(participation and shaved authority) โรงเรียนจะมีคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยทุกฝ่ายมาร่วมกันปรึกษาวางนโยบายและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโรงเรียน ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงตามมติของคณะกรรมการบทบาทของผู้บริหารไม่มี
ผู้บงการหรือสั่งการแต่เพียงฝ่ายเดียว โรงเรียนจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุมชน การเลือกสรรกิจกรรมการเรียนการสอนต้องตามความสนใจของผู้เรียน การเรียนเน้นการประทำมากที่สุด โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดทั้งความคิด รับผิดชอบและสมรรถภาพทั้ง
ปวง อันเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหา และปรับปรุงสภาพของสังคมและตัวมนุษย์เอง
3. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม บทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน โรงเรียนตามปรัชญาสาขานี้จากที่กล่าวมา
ตั้งแต่ต้นก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปรัชญาใหม่และเป็นปรัชญาเดียวที่มีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมและส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตย
มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครู คณาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กร
เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
หลักการทั้ง 6 ประการในมาตรา 9 เป็นหลักของการปรับระบบและโครงสร้างของการบริหารงานการจัด
การทางการศึกษาตามแนวปฏิรูป
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1.ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ บทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน นั้นโรงเรียนจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ
ชุมชน การยอมรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม โรงเรียนไม่ควรปลีกตัวออกมาจากสังคมเหมือนปรัชญากลุ่มอนุรักษ์นิยม โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โรงเรียนจะมีโอกาสสร้างนักเรียนในลักษณะใหม่ที่มีสติปัญญา ความพร้อม และเข้าใจสังคมอย่างดี พร้อมออกไปปรับปรุงและพัฒนาสังคมได้
2.ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมบทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน โรงเรียนตามปรัชญาสาขานี้จากที่กล่าวมาตั้งแต่
ต้นก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปรัชญาใหม่และเป็นปรัชญาเดียวที่มีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมและส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตย
มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช่จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและ
การเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพที่เป็นจริงของชีวิต ได้แก่อริยสัจสี่ อันเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์และ
แก้ปัญหา
2. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม แนวคิดหลักการของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยมนี้ ก็คือการศึกษา
จะต้องพัฒนาเด็กทุก ๆ ด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้น เด็กจะต้องพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับเนื้อหา เรื่องของปัจจุบันมีความสำคัญกว่าอดีตหรืออนาคตโดยมีความเชื่อพื้นฐานไว้ 6 ประการ คือ
2.1 การกระทำที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากความคิด เพราะจิตและกายเป็นของคู่กัน
2.2 มนุษย์สามารถสร้างพัฒนาการให้แก่ตัวเองได้ตามสภาพของสิ่งแวดล้อมและกาลเวลาที่เปลี่ยนแปรไป
(ตามทฤษฎีวิวัฒนาการของ Chars Darwin) สิ่งต่าง ๆ ที่อุบัติขึ้นในโลกล้วนแต่อยู่ในวิสัยมนุษย์สามารถกระทำขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยอำนาจลึกลับ
2.3 มนุษย์เป็นผู้กำหนดอนาคตและโชคชะตาของตนเอง เน้นความสำคัญของคุณค่าของแต่ละบุคคลมากขึ้น
2.4 ความเป็นจริงความแน่นอนไม่มีในโลกและไม่มีอะไรที่ตายตัวและสมบูรณ์ในตัวเอง
2.5 การค้นคว้าทดลองตามแนวทางวิทยาศาสตร์เป็นการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องและวิธีดังกล่าวไม่ยอมรับว่า
อะไรถูกต้อง จนกว่าจะได้มีการทดลองเป็นที่แน่ใจแล้ว
2.6 เกี่ยวกับด้านคุณค่าหรือค่านิยมถือว่ามิใช่สิ่งตายตัว อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยกาลสมัย ตามสภาพของ
บุคคลและสังคม และเป็นที่ที่สามารถเปรียบเทียบ ทดสอบ และประเมินได้ด้วย
การศึกษาตามปรัชญาพิพัฒนาการนิยมนี้ เกิดขึ้นเพื่อต้านแนวคิดและวิธีการเก่าของการศึกษาที่เน้นแต่เพียงคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่ง เพราะคิดว่าด้านนั้นสำคัญกว่าดังที่สารัตถนิยมเน้นความสามารถทางการจำและเข้าใจ ในที่นี้นิรันตรนิยมเน้นความสามารถด้านเหตุผลสติปัญญา แต่พิพัฒนาการนิยมมองกว้างกว่านั้นโดยมองว่าการศึกษาจะต้องให้การศึกษาทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ควบคู่กันไป ความสนใจ ความถนัด และลักษณะพิเศษของผู้เรียนควรได้รับความสนใจและได้รับการส่งเสริมให้มากที่สุดส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทั้งในและนอกห้องเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและสังคม เพื่อผู้เรียนจะได้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม ผู้เรียนจะต้องรู้จักแก้ปัญหาได้
3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ในการจัดหลักสูตร ลัทธิภาวาทนิยมจะเน้นทางศิลปะ จรรยา มารยาท
ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา เป็นต้น ทุกวิชามีความสำคัญ ถ้าใครเห็นว่าวิชาใดที่จะช่วยให้รู้จักตัวเองและเข้าใจโลกได้ดีขึ้นถือว่าวิชานั้นย่อมเหมาะสมกับเขา ผู้เรียนมีสิทธิและอำนาจเต็มที่ในการเลือกวิชาเรียน ครูมีหน้าที่เพียงเป็นคนคอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สามารถนำศักยภาพของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (ศุภร ศรีแสน : 154 – 155)
ทางด้านศิลปศึกษา ครูควรให้โอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนศิลปะแบบต่าง ๆ โดยเน้น Self expression ซึ่งเป็นผลดีแก่ผู้เรียน เพราะได้แสดงออกตามความสามารถของตนเอง มีความคิดอิสระในการทำงาน มีความสุขกายและสบายใจในการปฏิบัติงาน มีความอิสระและสามารถที่จะปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆได้ ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาในด้านต่าง ๆ และประสบผลสำเร็จในการสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขในการทำงาน
มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา
การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัด
การศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความ
พร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
(4) สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
(5) ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่า
จะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนได้พัฒนาด้านพฤติกรรม จิตใจ มีความคิดอ่านที่ถูกต้อง รู้จักแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ด้วยตนเอง เมื่อจบแล้วนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้
2. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาสาขานี้ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียนมาก เพราะถือว่าการ
เรียนรู้นั้นจะเกิดได้ดีก็ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีส่วนที่จะเลือกเนื้อหาและกิจกรรมที่ตนเองสนใจได้มากแต่ไม่ได้หมายความว่า นักเรียนจะร่างหลักสูตรหรือกำหนดกิจกรรมเสียเอง แต่เป็นการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การเรียนการสอนตรงตามความต้องการของผู้เรียนเหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของนักเรียนมากขึ้นกระบวนของการศึกษาตามปรัชญานี้ถือหลักว่า ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตนเองมากที่สุด การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทำ มากกว่ารู้ เด็กจะต้องกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าคอยรับ หรืออยู่เฉย ๆ ครูจะเป็นผู้จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและของสังคม กระบวนการบริหาร ปรัชญานี้ ถือหลักเดียวกับการเรียนการสอน คือการร่วมมือกัน โรงเรียนจะมีคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมกัน ปรึกษาวางนโยบายและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโรงเรียน ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงหรือตามมติของคณะกรรมการ
3. ลัทธิปรัชยาอัตถิภาวนิยม ผู้เรียนคือผู้ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการของการศึกษา ครูและวิชาความรู้มี
ความสำคัญเหมือนกัน แต่ไม่สำคัญเท่ากับการมีอยู่ของนักเรียนแต่ละคนต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการศึกษาเสียใหม่ โดยเลิกเน้นว่าผู้เรียนทุกคนต้องประสบความสำเร็จ ต้องฉลาด ต้องมีความสุข ต้องปรับตัวได้ และเป็นที่ยอมรับของสังคม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นค่านิยมที่ทำลายความเป็นตัวเองของนักเรียน ทำไมโรงเรียนไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตัดสินใจเรื่องการมีอยู่ของเขาเอง เพราะถ้าโรงเรียนปลูกฝังค่านิยมของสังคมปัจจุบันแล้ว จะไม่มีโอกาสพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองได้โรงเรียนต้องมีนักเรียนรู้จักตนเอง พัฒนาลักษณะเด่นของตัวเอง โดยการส่งเสริมการตัดสินใจเลือกเสรี จุดมุ่งหมายใหญ่ของการไปโรงเรียน คือเพื่อรู้จักตัวเองและจุดมุ่งหมายของชีวิต โรงเรียนจึงต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกแนวทางจริยธรรมของตนเอง โรงเรียนควรเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม คือสอนให้เด็กมีทั้งความสามารถและความโน้มเอียงในการเลือกแนวทางจริยธรรมของตนเอง (Moral Choice) ก็จะเป็นการพัฒนาความสามารถ(ability)และความโน้มเอียง(inclination)ของเด็ก แต่ไม่ใช่อบรมศีลธรรม ซึ่งเป็นการสร้างและกำหนดเงื่อนไขที่จะให้เด็กฝึกปฏิบัติตามและเด็กจะขาดเสรีภาพในการเลือก ปรัชญาสาขา Existentialism เป็นรากฐานของความเชื่อ และใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ถือว่านักเรียนเป็นคนที่มีความสำคัญและมีเสรีภาพมากที่สุด ครูเป็นเพียงผู้แนะนำกระตุ้นช่วยเหลือนักเรียน การจัดการเรียนการสอนไม่กำหนดระเบียบแบบแผนให้นักเรียนปฏิบัติ แต่ให้มีความรับผิดชอบและยอมรับผลการกระทำของตน เนื้อหาวิชาเน้นวิชาศิลปศาสตร์ เพราะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างกว้างขวาง และรู้จักตัวเองได้มาก โรงเรียนเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งไม่แตกต่างไปจากชีวิตจริงในชีวิตประจำวัน
มาตรา 17 ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดจนมีความรับผิดชอบและสมรรถภาพทั้ง
ปวง อันจะเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาพของสังคมและตัวมนุษย์เอง

2. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาการศึกษาแบบนี้มีความเชื่อว่านักเรียนจะเรียนรู้โดยอาศัย
ประสบการณ์ในชีวิตเป็นสำคัญ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเพราะอาศัยประสบการณ์ตรง ไม่มีหลักสูตรที่สมบูรณ์แบบสำหรับครูและนักเรียน หลักสูตรจะควบคุมเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ส่งเสริมการปฏิบัติทางด้านสังคม ศีลธรรม สติปัญญา อาชีพ และความสวยงาม จะเป็นเครื่องส่งเสริมประสบการณ์ร่วมของนักเรียน วัตถุประสงค์ของหลักสูตรจะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ และการพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาการพฤติกรรมของแต่ละบุคคลไม่เน้นที่จะฝึกให้นักเรียนเป็นเลิศแต่เพียงด้านสมองหรือวิชาการเท่านั้น เพราะมนุษย์ทุกคนควรมีความเจริญงอกงามทุกด้านจึงจะช่วยให้สังคมส่วนรวมดีไปด้วย Progressivism มีความเชื่อในความแตกต่างระหว่างบุคคลเด็กแต่ละคนแผ่ขยายประสบการณ์ หลักสูตรแบบดั้งเดิม ไม่สนใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเน้นเรื่องเนื้อหาวิชาในการเรียนรู้ ดังนั้น Progressivism จึงต้องการหลักสูตรที่ประกอบไปด้วยประสบการณ์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด หลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากแนวปรัชญานี้ เช่น หลักสูตรแบบประสบการณ์หรือกิจกรรม
3. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม เป็นปรัชญาที่เน้นเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลและความรับผิดชอบของแต่ละ
คนที่จะกำหนดทางเลือกและแนวทางของตนเองเป็นสำคัญและในขณะเดียวกันก็หาทางที่จะกำหนดทางเลือกและแนวทางของตนเองเป็นสำคัญและในขณะเดียวกันก็หาทางที่จะให้คนหลุดพ้นจากกฎเกณฑ์ทั้งหลาย ไม่ว่ากฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ กฎเกณฑ์ของสังคม กฎเกณฑ์ของพระเจ้า หรือบนประเพณีดั้งเดิมของสังคมทั้งหลาย
4. ลัทธิปฏิรูปนิยม เด็กจะเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวน้อยลง แต่จะเห็นประโยชน์ของสังคมมากขึ้น เด็ก
จะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในคุณค่าของสังคม เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาของสังคมในอนาคต
5. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ผู้เรียนเป็นผู้รับ ผู้ฟัง และทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ครูกำหนดให้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก ต้องรู้จักนำไปใช้ และต้องอาศัยวินัยด้วย นั่นก็คือผู้สอนต้องให้ผู้เรียนอยู่ในกรอบวินัย ต้องให้ผู้เรียนพยายามศึกษาหาความรู้อย่างหนัก การจัดการศึกษาต้องจัดเพื่อเป็นการเตรียมตัวเด็กในการดำรงชีวิตในอนาคตข้างหน้า เพราะฉะนั้นในขณะที่เด็กกำลังเรียนจำเป็นที่จะต้องพยายามเรียนให้มาก ๆ แม้ว่าจะหนักอย่างไรก็ต้องพยายาม ในเรื่องการเรียนรู้นี้อีกสิ่งหนึ่งที่เน้นก็คือ การสร้างวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก จะต้องให้เด็กรู้จักคอยควบคุมตัวเองให้ได้ เพื่อว่าจะได้ทำอะไรได้สำเร็จในบั้นปลายได้ และการสร้างวินัยในตนเองนี้เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องอบรมเคี่ยวเข็ญให้มีขึ้นให้จงได้ ทฤษฎีนี้เน้นความสนใจของผู้เรียนน้อย เพราะถือว่าความสนใจมีลักษณะที่ไม่คงทน เริ่มต้นอาจมีความสนใจแต่เมื่อทำงานหนักเข้าจะเกิดความเฉื่อยชา หรือท้อถอยในที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะทำให้นักเรียนกระหายที่จะเรียน ความสนใจก็จะเกิดขึ้นเอง
6. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม ผู้เรียนโดยธรรมชาตินั้นเป็นผู้ที่มีเหตุผล มีจิตใจบริสุทธิ์และมีแนวโน้มไป
ในทางที่ดี มีสติปัญญาและมีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่ การที่จะให้เกิดการพัฒนาขึ้นนั้นผู้เรียนจะต้องฝึกคุณสมบัติที่มีอยู่แล้วด้วยตนเอง โดยการสอนและการแนะนำจากครู บทบาทที่สำคัญในการเล่าเรียนจะต้องอยู่ที่นักเรียนเอง ไม่ใช่อยู่ที่ครู นักเรียนจะต้องแสดงเหตุผล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักเรียนเองหรือกับครู และบทบาทของผู้เรียนควรเป็นผู้รับความรู้มากกว่าจะมีหน้าที่ในการแสวงหาด้วยตนเอง เพราะผู้เรียนอาจไม่มีความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการได้รับความรู้ที่ผิดพลาดได้ สรุปคือผู้เรียนควรเป็นผู้รับการฝึกตามแนวทางของผู้สอน ยึดถือผู้สอนเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่า
ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพในมาตรานี้กล่าวถึงนักเรียนเป็นผู้สามรรถเรียนรู้ได้ พัฒนาตนเองได้ และให้ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม เป็นลัทธิที่มีความเชื่อว่านักเรียนเป็นคนที่สำคัญและมีเสรีภาพมากที่สุด
ครูเป็นเพียงผู้แนะนำกระตุ้นช่วยเหลือนักเรียน การจัดการเรียนการสอนไม่กำหนดระเบียบแบบแผนให้นักเรียนปฏิบัติ แต่ให้มีความรับผิดชอบและยอมรับผลการกระทำของตนเอง เนื้อหาวิชาเน้นวิชาศิลปศาสตร์ เพราะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้กว้างขวาง และรู้จักตัวเองได้มาก โรงเรียนเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งไม่แตกต่างไปจากชีวิตจริงในชีวิตประจำวัน
2. ปรัชญาการศึกษา พิพัฒนาการนิยม ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนการสอน ถือหลักว่า ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตัวเองมากที่สุด การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทำมากกว่าความรู้ เด็กจะต้องกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าคอยรับแต่หรืออยู่เฉย ครูจะเป็นผู้จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและของสังคม
3. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม กล่าวว่า การเรียนการสอนตามแนวคิดของทฤษฎีการศึกษานี้ยึดหลักวิชาที่ว่า
ด้วยสมรรถภาพ ที่เชื่อว่าสมองของมนุษย์นั้นประกอบด้วยสามส่วน คือ ส่วนที่เป็นเหตุผล ส่วนที่เป็นความจำ และส่วนที่เป็นเจตจำนง ทั้งสามส่วนเป็นศูนย์รวมแห่งวุฒิปัญญา ดังนั้นการพัฒนาส่วนประกอบของสมองทั้งสามส่วนนั้นจึงเป็นหลักสำคัญ การเรียนการสอนที่จะพัฒนาวุฒิปัญญาวิธีการที่สำคัญคือการถกเถียงอธิบายการใช้เหตุผลสติปัญญาโต้แย้งกัน(ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2522:57)ผู้สอนจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำในการเสนอความคิด เป็นผู้นำในการอภิปราย ถกเถียง เป็นผู้คอยให้ความคิด และสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิดและสติปัญญาของตนเองอย่างเต็มที่ (บรรจง จันทรสา. 2522 : 175) กล่าวถึงหลักการเรียนการสอนที่สำคัญของทฤษฎีการศึกษานี้ไว้สามประการ คือ ประการที่หนึ่งเรียนโดยอาศัยวุฒิปัญญาในการจดจำและหยั่งรู้ ประการที่สองสอนโดยการฝึกฝนท่องจำเพื่อพัฒนาวุฒิปัญญา และประการที่สามฝึกฝนการคิดอย่างมีเหตุผล ฝึกการเรียนหนักและทำงานที่ยาก ๆ เพื่อสร้างเจตจำนงที่แน่วแน่
3. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดจนมีความรับผิดชอบและสมรรถภาพทั้งปวง อันจะเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาพของสังคมและตัวมนุษย์เอง
มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้น
ความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และ
สังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการ
จัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(4) ความรู้และทักษะคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(5) ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ในมาตรา 23 นี้ กล่าวถึงเนื้อหาสาระหรือทิศทางของหลักสูตรโดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม โดยกำหนดเนื้อหาสาระ
ของหลักสูตรตามระดับ ประเภท ของการศึกษา และความถนัดของบุคคล
ปรัชญาการศึกษาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ซึ่งกล่าวถึงหลักสูตรการเรียนการสอนว่า หลักสูตร เป็นหลักสูตรแบบ
เนื้อหาวิชาและหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ด้านเนื้อหาวิชาจะต้องเป็นเนื้อหาวิชาที่ให้เด็กได้รู้จักโลกของเราตามสภาพที่เป็นจริง ดังนั้นเนื้อหาวิชาจะต้องได้รับการกลั่นกรองรวบรวมไว้อย่างดีมีเหตุมีผล ไม่ใช่สิ่งที่เด็กค้นหาหรือคิดฝันเอาเองตามใจชอบ นอกจากนี้ทฤษฎีนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องการถ่ายทอดมรดกทางสังคมด้วย เพราะมรดกทางสังคมนี้จะเป็นการสรุปรวบรวมเอาประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนจำนวนมากมายไว้เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้มากกว่าความรู้จากประสบการณ์ของเด็ก ( กิติมา ปรีดีดิลก 2520 : 75)
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม กล่าวถึงหลักสูตรการเรียนการสอนว่าหลักสูตรควรประกอบด้วยเนื้อหาวิชา
ที่กำหนดไว้ตายตัว ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นหรือการเปลี่ยนแปลง เน้นวิชาด้านศิลปศาสตร์ เพราะวิชาในข่ายของศิลปศาสตร์จะช่วยฝึกฝนผู้เรียนให้รู้จักเหตุผลและฝึกฝนผู้เรียนให้รู้จักใช้เหตุผลและฝึกฝนทางด้านสติปัญญาประกอบกันและโดยทั่วไปวิชาศิลปศาสตร์จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มศิลปะทางภาษา ได้แก่ ไวยากรณ์ วาทศิลป์และตรรกวิทยา ซึ่งฝึกฝนการใช้เหตุผล และกลุ่มศิลปะทางคำนวณ ได้แก่ เรขาคณิต ดาราศาสตร์ และดนตรี กลุ่มนี้มุ่งฝึกฝนสติปัญญาการจัดทำหลักสูตรกำหนดโดยผู้รู้ ส่วนการจัดลำดับเนื้อหาวิชาเน้นวิธีการจัดลำดับเนื้อหาก่อนหลังของความถูกต้องทางวิชาการ ความรู้สาขานั้น ๆ ในปัจจุบันหลักสูตรที่เกิดขึ้นตามแนวคิดของทฤษฎีการศึกษานี้มองเห็นเด่นชัด และจัดกันทั่วไปในสถาบันอุดมศึกษา คือ หลักสูตรวิชาพื้นฐานหรือหลักสูตรการศึกษาทั่วไป และตามแนวคิดของนักการศึกษาแล้วมองเห็นว่า สถาบันอุดมที่ทำหน้าที่ในการผลิตครูจะเน้นหลักสูตรศิลปศาสตร์เป็นส่วนสำคัญของการจัดการศึกษาเช่นกัน
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ซึ่งกล่าวถึงหลักสูตรว่า หลักสูตร เนื่องจากปรัชญาสาขานี้ ไม่เน้นมรดก
ทางวัฒนธรรมและสังคมเหมือนกับสาขาก่อน ๆ แต่เน้นในสภาพปัจจุบันโดยเฉพาะการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและสมบูรณ์ในปัจจุบันและอนาคต หรือมาตรฐานความดีงามของสังคมก็จะต้องได้รับการทดสอบและปรับปรุงเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ การศึกษาจึงต้องส่งเสริมความสนใจของแต่ละบุคคลและเป็นประชาธิปไตย ประสบการณ์และความสนใจของคนจะเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์ที่ได้รับใหม่และวิเคราะห์แล้ว
4. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ซึ่งกล่าวถึงหลักสูตรว่า ในการจัดหลักสูตร ลัทธิอัตถิภววาทนิยมจะเน้น
ทางศิลปะ จรรยา มารยาท ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา เป็นต้น ทุกวิชามีความสำคัญ ถ้าใครเห็นว่าวิชาใดที่จะช่วยให้รู้จักตัวเองและเข้าใจโลกได้ดีขึ้นถือว่าวิชานั้นย่อมเหมาะสมกับเขา ผู้เรียนมีสิทธิและอำนาจเต็มที่ในการเลือกวิชาเรียน ครูมีหน้าที่เพียงเป็นคนคอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สามารถนำศักยภาพของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (ศุภร ศรีแสน : 154 – 155) ทางด้านศิลปศึกษา ครูควรให้โอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนศิลปแบบต่าง ๆ โดยเน้น Self expression ซึ่งเป็นผลดีแก่ผู้เรียน เพราะได้แสดงออกตามความสามารถของตนเอง มีความคิดอิสระในการทำงาน มีความสุขกายและสบายใจในการปฏิบัติงาน มีความอิสระและสามารถที่จะปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆได้ ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาในด้านต่าง ๆ และประสบผลสำเร็จในการสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขในการทำงาน
5. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม ได้กล่าวถึงหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร หลักสูตรตามปรัชญาสาขานี้เป็น
หลักสูตรที่เน้นสังคมเป็นหลักผู้เรียนจะต้องรู้จักและเข้าใจสภาพของสังคมอย่างดีพอ มองเห็นปัญหาต่าง ๆ ในสังคม และแนวทางในการแก้ไข โดยทั่วไปหลักสูตรในสาขานี้จะประกอบไปด้วยกลุ่มต่าง ๆ คือ
5.1 กลุ่มปฐมนิเทศและสร้างแรงจูงใจ ประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ ที่ใกล้ตัวผู้เรียน ตามด้วยปัญหาต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกัน และขยายออกไปถึงปัญหาต่าง ๆ ในสังคมที่กว้างออกไปจนถึงระดับประเทศและระดับนานาชาติ เป็นการขยายทัศนะของผู้เรียนให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านขอบเขตและความเป็นมา
5.2 กลุ่มเศรษฐกิจและการเมือง ศึกษาถึงเรื่องราวของเศรษฐกิจและการเมืองในท้องถิ่นใกล้ตัวของผู้เรียน
ทั้งในแง่ของสภาพปัจจุบันและความเป็นมา แล้วจึงขยายให้กว้างออกไปถึงสังคมโลกในจำนวนปีที่สูงขึ้น
5.3 กลุ่มทางวิทยาศาสตร์ ศึกษาถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ความแตกต่างของ
วิทยาศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ธรรมชาติกับวิทยาศาสตร์สังคม เป็นต้น รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ
5.4 กลุ่มศิลปะ ชีวิตมนุษย์จะหนีจากศิลปะไปไม่ได้ เด็กควรจะได้เรียนศิลปะและเข้าใจกับบทบาทใน
ชีวิตประจำวันและแนวทางในอนาคตควบคู่กันไปด้วย
5.5 กลุ่มการศึกษา เด็กควรได้เข้าใจ รู้จักบทบาทและกระบวนการต่าง ๆ ของการศึกษา รู้จักและวิเคราะห์
สภาพการณ์ต่าง ๆ ในโรงเรียนได้ เป็นต้น
5.6 กลุ่มมนุษยสัมพันธ์ วิชานี้ควรให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม และ
ระหว่างวัฒนธรรมด้วย
5.7 กลุ่มเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงคุณค่าและรูปแบบของวิธีการที่ให้บรรลุ
จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งวิธีการและจุดมุ่งหมายควรสอดคล้องกัน เนื้อหาในแต่ละกลุ่มในสภาพปัจจุบันและความเป็นมาพร้อมกันไป ซึ่งทำให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหา และมองเห็นสาเหตุของปัญหาได้ชัดเจน และศึกษาจากสภาพที่ใกล้ตัวขยายออกไปถึงสังคมวงนอก นอกจากนั้นในแต่ละระดับก็จะจัดเนื้อหาให้มีความซับซ้อนแตกต่างกันออกไป ในระดับมหาวิทยาลัยควรจะเน้นการวิจัยเป็นพิเศษ
6. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรมและศีลธรรมขึ้นในใจ สำหรับช่วยสร้างสัมพันธภาพอันดีในหมู่มนุษย์
ก่อให้เกิดสันติสุขในสังคม เป็นผู้มีความรุและทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้
(1) จัดเนื้อหาของสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของ ผู้เรียน โดยคำนึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคล


(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน
และแก้ไขปัญหา
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน
และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝัง
คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวก
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยากรประเภทต่าง ๆ
(6) การจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง
และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
ลักทธิปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม กล่าวถึงกระบวนการเรียนการสอนว่า กระบวนการเรียนการสอน โรงเรียน
จะต้องยึดหลักการอบรมจิตใจเด็กให้มีระเบียบวินัยอันดีงามตามที่ยึดถือกันมา นอกจากนี้เด็กควรได้รับการสอนเกี่ยวกับความคิดที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งความคิดนั้นจะได้รับการประยุกต์ให้เหมาะสมกับระดับจิตใจและสติปัญญาของเด็ก ไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา เพราะว่าวิธีการแก้ปัญหานี้ไม่สามารถใช้กับเนื้อหาวิชาทุกอย่าง ความรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันออกไปและก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนามธรรมซึ่งความรู้ เหล่านี้ไม่อาจเอามาแยกแยะเป็นปัญหาให้เด็กพินิจพิเคราะห์แก้ปัญหาได้ และเรื่องวิธีการสอนแบบ Learning by doing ก็เช่นเดียวกัน ไม่ควรนำมาใช้กับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ทั่วไป เพราะวิธีนี้เหมาะสมกับบางสถานการณ์ บางบุคคลท่านั้น เป็นต้นว่า เด็กจะเรียนรู้หรือเน้นสิ่งที่น่าคิด ถ้าจะให้ทำเพื่อความเข้าใจก็พอจะทำได้ แต่ถ้าจะให้ทำเพื่อให้ได้แก่นสารสาระในเนื้อหาวิชาแล้ว เป็นการสอนที่ไม่ถูก ดังนั้นเนื้อหาที่เป็นสาระ ครูต้องสอนให้เลย และให้เด็กจดจำเป็นดีที่สุด การสอนโดยยึดทฤษฎีนี้ ห้องเรียนมักจะมีลักษณะเหมือนห้องปาฐกถาโต๊ะเก้าอี้เคลื่อนย้ายไม่ได้นักเรียนต้องตั้งใจฟังครูซึ่งจะเป็นผู้บอกเนื้อหาวิชาให้ บทบาทของครูมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ฉะนั้นกระบวนการเรียนการสอนจะเป็นแบบ ครูเป็นศูนย์กลาง คือครูจะเป็นผู้อธิบาย ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจตามให้ได้ วิธีการสอนจะเป็นการสอนแบบบรรยาย หากจะใช้วิธีอื่นประกอบด้วยก็ได้ แต่ต้องถือหลักให้เด็กรู้และเข้าใจเป็นสำคัญ การถามตอบในห้องเรียนเป็นการถามตอบเพื่อทำความเข้าใจเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือโต้แย้ง แต่แม้จะเป็นการสอนในลักษณะของกระแสธารทางเดียวเช่นนี้ก็ตาม การเรียนการสอนก็ยังต้องเน้นการฝึกฝนและสร้างผู้นำในกลุ่มด้วย ผู้นำกลุ่มนี้จะเป็นผู้ซึ่งเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาดี มีระเบียบ วินัย ควบคุมและรักษาตนเองได้ดี
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม กล่าวถึงวิธีการเรียนของผู้เรียนว่า ผู้เรียนโดยธรรมชาตินั้นเป็นผู้ที่มีเหตุผล
มีจิตใจบริสุทธิ์และมีแนวโน้มไปในทางที่ดี มีสติปัญญาและมีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่ การที่จะให้เกิดการพัฒนาขึ้นนั้นผู้เรียนจะต้องฝึกคุณสมบัติที่มีอยู่แล้วด้วยตนเอง โดยการสอนและการแนะนำจากครู บทบาทที่สำคัญในการเล่าเรียนจะต้องอยู่ที่นักเรียนเอง ไม่ใช่อยู่ที่ครู นักเรียนจะต้องแสดงเหตุผล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักเรียนเองหรือกับครู และบทบาทของผู้เรียนควรเป็นผู้รับความรู้มากกว่าจะมีหน้าที่ในการแสวงหาด้วยตนเอง เพราะผู้เรียนอาจไม่มีความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการได้รับความรู้ที่ผิดพลาดได้ สรุปคือผู้เรียนควรเป็นผู้รับการฝึกตามแนวทางของผู้สอน ยึดถือผู้สอนเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และในด้านผู้สอนได้กล่าวว่า ผู้สอนตามทฤษฎีนี้จะต้องเป็นผู้รู้และเป็นผู้นำทางสติปัญญาแก่ผู้เรียน ต้องถือว่าผู้เรียนเป็นผู้มีเหตุผลและความดีอยู่ในตัวเอง ดังนั้นผู้สอนจึงต้องสร้างบรรยากาศเพื่อให้นักเรียนได้คิดหาเหตุผลและพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยการเสนอความรู้ข้อคิดให้ผู้เรียนถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ผู้สอนยังมีหน้าที่ดูแลรักษาความเป็นระเบียบ วินัย ควบคุมความประพฤติของผู้เรียนไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ให้นักเรียนได้ใช้สติปัญญาไปในทางที่ถูกที่ควร ไม่ใช่ผู้ป้อนความรู้ให้กับนักเรียนโดยตรง แต่ครูเป็นผู้เสนอความรู้ ความคิด เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาความคิด สติปัญญา บทบาทของผู้สอนตามทฤษฎีการศึกษานี้กล่าวได้ว่า ประการที่หนึ่ง ครูเป็นผู้นำทางสติปัญญา ประการที่สองครูเป็นผู้นำทางวิญญาณ เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามและประการสุดท้ายครูเป็นผู้แนะนำควบคุมวินัยทางความคิดและความประพฤติของนักเรียน
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ได้กล่าวถึงตัวครู นักเรียนและโรงเรียนไว้ดังนี้ ครูในปรัชญาสาขานี้ ทำหน้าที่คือการเตรียม การแนะนำ และการให้คำปรึกษาเป็นหลักสำคัญ ครูอาจจะเป็นผู้รู้ แต่ไม่ควรไปกำหนดหรือกะเกณฑ์ให้เด็กทำตามอย่าง หรือควรเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ เข้าใจ และเห็นจริงด้วยตัวเอง ลักษณะครูตามสาขานี้จะต้องมีบุคลิกภาพดี เห็นอกเห็นใจและเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก รู้จักดัดแปลงและปรับปรุงสภาพห้องเรียนให้เหมาะสมกับลักษณะของนักเรียนและกิจกรรมในห้องเรียน ครูจะต้องเป็นผู้วางแผน ประสานงานให้เด็กสนใจและร่วมมือกันทำงานมากกว่าครูทำเสียเอง อย่างไรก็ตามครูก็ยังมีความรับผิดชอบและจะต้องดูแลความเรียบร้อย นักเรียน ปรัชญาสาขานี้ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียนมาก เพราะถือว่าการเรียนรู้นั้นจะเกิดได้ดีก็ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และมีส่วนที่จะเลือกเนื้อหาและกิจกรรมที่ตนเองสนใจได้มากแต่ไม่ได้หมายความว่า นักเรียนจะร่างหลักสูตรหรือกำหนดกิจกรรมเสียเอง แต่เป็นการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การเรียนการสอนตรงตามความต้องการของผู้เรียนเหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของนักเรียนมากขึ้น ในด้านกระบวนการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอนตามปรัชญานี้ถือหลักว่า ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตนเองมากที่สุด การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทำ มากกว่ารู้ เด็กจะต้องกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าคอยรับ หรืออยู่เฉย ๆ ครูจะเป็นผู้จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและของสังคม ด้าน กระบวนการบริหาร การบริหารปรัชญานี้ ถือหลักเดียวกับการเรียนการสอน คือการร่วมมือกัน โรงเรียนจะมีคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมกัน ปรึกษาวางนโยบายและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโรงเรียน ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงหรือตามมติของคณะกรรมการ ด้านบทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน ตามความเชื่อของปรัชญาสาขานี้ การศึกษาเป็นวิธีการหลักในการปฏิรูปหรือปรับปรุงสังคม แต่จะปรับปรุงหรือปฏิรูปไปในลักษณะไหนอย่างไรนั้น ก่อนอื่นโรงเรียนจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชุมชนเสียก่อน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวัฒนธรรม โรงเรียนไม่ควรจะปลีกตัวออกจากสังคมเหมือนปรัชญากลุ่มอนุรักษ์นิยม เมื่อโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแล้ว โรงเรียนก็จะมีโอกาสสร้างนักเรียนในลักษณะใหม่ที่มีสติปัญญา มีความพร้อม มีความรู้และเข้าใจสังคม อย่างดีพร้อมออกไปปรับปรุงและพัฒนาสังคมได้

4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม ได้กล่าวถึง ครู นักเรียน กระบวนการเรียนการสอน และการบริหารโรงเรียน
ไว้ดังนี้ ครู ในปรัชญาสาขานี้ ครูจะต้องเป็นนักบุกเบิก เป็นนักแก้ปัญหา สนใจและใฝ่รู้ในเรื่องของสังคมและปัญหาสังคม อย่างกว้างขวางและเอาจริงเอาจัง ในขณะเดียวกันก็จะต้องสนใจในวิชาการควบคู่กันไป ครูจะต้องมีทักษะในการรวบรวม สรุป และวิเคราะห์ปัญหา (วิจัย) ให้ผู้เรียนเห็นได้ ในขณะเดียวกันก็แนะนำให้ผู้เรียนรู้จักที่จะศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องของสังคมรอบตัวได้ ลักษณะสำคัญของครูในปรัชญานี้อีกประการหนึ่งก็คือ มีความเป็นประชาธิปไตย ครูไม่ใช่ผู้รู้คนเดียว ไม่ใช่ผู้ชี้ทางแต่เพียงคนเดียว แต่ควรให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันพิจารณาเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ และจะต้องเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ทัศนะและหลักการ ถ้าพบว่าสภาพการณ์ต่าง ๆ นั้นไม่ได้เป็นไปตามที่เราคิดหรือเข้าใจ นักเรียนในปรัชญากลุ่มนี้นักเรียนจะเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวน้อยลง แต่จะเห็นประโยชน์ของสังคมมากขึ้น เด็กจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในคุณค่าของสังคม เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาของสังคมในอนาคต นักเรียนจะได้รับการฝึกฝนให้รู้จักเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำความเข้าใจและ แก้ปัญหาของสังคม แต่จะต้องเป็นการแก้ปัญหาในแนวทางของประชาธิปไตย นักเรียนควรจะได้เรียนรู้และรับทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดและเปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่ใช่การโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ว่าเด็กจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม และควรจะได้หาข้อสรุปอันเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและยุติธรรมในด้านกระบวนการเรียนการสอน มีลักษณะคล้ายคลึงกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม คือ ให้เด็กรู้ด้วยตัวเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหา และเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเองวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการเหล่านี้ปรัชญาปฏิรูปนิยมใช้มากเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันปรัชญากลุ่มนี้ก็ยังอาศัยวิธีการของประวัติศาสตร์ และวิธีการปรัชญา ประกอบ
ด้วยกันไปเพื่อให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางรัดกุม ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ของกระบวนการเรียนการสอนตามปรัชญาสาขานี้ คือทฤษฎีและปฏิบัติจะควบคู่กันไปในกรณีที่การปฏิบัติจริงกระทำไม่ได้ก็จะใช้บทบาทสมมุติแทน แต่เป้าหมายปลายทางจะต้องคำนึงถึงการนำความรู้ไปใช้ได้ด้วยสำหรับกระบวนการบริหาร กระบวนการบริหารก็จะต้องยึดหลักของการบริหารแบบประชาธิปไตยเป็นหลัก การบริหารการศึกษาจะต้องกระจายอำนาจ ไปอย่างแท้จริงให้ ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ เพราะการปฏิรูปสังคมแต่ละกลุ่มนั้นคนที่อยู่ในสังคมนั้นเขาจะรู้เรื่องดีที่สุด การบริหารโรงเรียนก็จะต้องเป็นประชาธิปไตยเช่นกัน โดยครู ผู้ปกครอง และนักเรียนจะต้องมีบทบาทในการวางแผนและดำเนินการโรงเรียนให้มากที่สุด เป้าหมายของโรงเรียนนี้ก็คือ โรงเรียนชุมชนที่แท้ที่ชุมชนมีบาบาทอย่างจริงจังสมบูรณ์ ส่วนบทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน โรงเรียนตามปรัชญาสาขานี้จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นปรัชญาใหม่และเป็นปรัชญาเดียวที่มีบทบาทจริงจังต่อสังคม มีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคมและส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตย
5. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม ได้กล่าวถึง ครู นักเรียน กระบวนการเรียนการสอน และโรงเรียนไว้ว่า ครูมี
หน้าที่เป็นเพียงคอยกระตุ้นหรือเร้าให้นักเรียนรู้จักตนเองให้สามารถหยิบยกความถนัดและความสามารถเฉพาะคนออกมาให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด จะต้องให้เสรีภาพแก่นักเรียน ต้องระลึกเสมอว่าผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในกระบวนการศึกษา จึงต้องให้ความสนใจต่อผู้เรียนอย่างเต็มที่ สอนเพื่อพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน ในด้านผู้เรียน การฝึกให้เด็กรู้จักตนเอง สนใจตนเอง และเลือกทางเลือกของตนเองนั้น ย่อมจะไม่ขัดกับเรื่องความสนใจในบุคคลอื่น เพราะปรัชญานี้ถือเป็นหลักอยู่แล้วว่า สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลอื่นด้วย สิ่งที่ตนเลือกย่อมหมายถึงว่าได้เลือกสำหรับคนอื่นด้วย ในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละคนมีพัฒนาการในด้านความเป็นตัวของตัวเอง คือให้นักเรียนมีโอกาสเลือกโดยอิสระ นักปรัชญากลุ่มนี้เชื่อว่า การเรียนเป็นกลุ่มเป็นสิ่งที่ทำให้คุณภาพทางศีลธรรมจรรยาสูญเสียไป ดังนั้น โรงเรียนที่มีความเชื่อตามลัทธินี้ นักเรียนจะทำงานร่วมกับครูเป็นรายบุคคล วิธีสอนเน้นหนักไปในทางกระตุ้นให้นักเรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด
ส่วนโรงเรียน ผู้เรียนคือผู้ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการของการศึกษา ครูและวิชาความรู้มีความสำคัญเหมือนกัน แต่ไม่สำคัญเท่ากับการมีอยู่ของนักเรียนแต่ละคน ต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการศึกษาเสียใหม่ โดยเลิกเน้นว่าผู้เรียนทุกคนต้องประสบความสำเร็จ ต้องฉลาด ต้องมีความสุข ต้องปรับตัวได้ และเป็นที่ยอมรับของสังคม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นค่านิยมที่ทำลายความเป็นตัวเองของนักเรียน ทำไมโรงเรียนไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตัดสินใจเรื่องการมีอยู่ของเขาเอง เพราะถ้าโรงเรียนปลูกฝังค่านิยมของสังคมปัจจุบันแล้ว จะไม่มีโอกาสพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองได้ โรงเรียนต้องมีนักเรียนรู้จักตนเอง พัฒนาลักษณะเด่นของตัวเอง โดยการส่งเสริมการตัดสินใจเลือกเสรี จุดมุ่งหมายใหญ่ของการไปโรงเรียน คือเพื่อรู้จักตัวเองและจุดมุ่งหมายของชีวิต โรงเรียนจึงต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกแนวทางจริยธรรมของตนเอง โรงเรียนควรเน้นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม คือสอนให้เด็กมีทั้งความสามารถและความโน้มเอียงในการเลือกแนวทางจริยธรรมของตนเอง (Moral Choice) ก็จะเป็นการพัฒนาความสามารถ(ability)และความโน้มเอียง(inclination)ของเด็ก แต่ไม่ใช่อบรมศีลธรรม ซึ่งเป็นการสร้างและกำหนดเงื่อนไขที่จะให้เด็กฝึกปฏิบัติตามและเด็กจะขาดเสรีภาพในการเลือก
6. พุทธปรัชญา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถคิดเป็นตลอดจนมีความรับผิดชอบและสมรรถภาพ
ทั้งปวง อันจะเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์หรือแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาพของสังคมและตัวมนุษย์เอง โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุด
ประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์กีฬานันทนาการ แหล่งข้อมูลแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
ปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) โรงเรียนจะไม่มีบทบาทในเชิงนำสังคม แต่จะเป็นเครื่องมือ
ของสังคมเพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเรื่องราวของสังคมให้แก่เด็ก โรงเรียนเป็นเสมือนสถาบันอนุรักษ์วัฒนธรรมและถ่ายทอดวัฒนธรรมอยู่ในตัว โรงเรียนจึงต้องจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสริมสร้างพัฒนาทางความคิด และยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี จัดสิ่งแวดล้อมที่เสริมสร้างการเรียนรู้ความจริงตามธรรมชาติขณะเดียวกันโรงเรียนจะต้องมีกฎ ระเบียบแบบแผนที่เด็กจะปฏิบัติตามเป็นแนวทางเดียวกัน
2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism) โรงเรียนมีบทบาทต่อสังคมโดยอ้อม เพราะเป็นทฤษฎี
การศึกษาที่เน้นการพัฒนาตัวมนุษย์มากกว่าที่จะพัฒนาสังคม เมือมนุษย์ดีแล้วและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สังคมก็จะดีตามไปด้วยประดุจลูกโซ่ ดังนั้นโรงเรียนตามแนวคิดทฤษฎีนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางที่จะนำเด็กไปสู่สัจจะ ค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงาม การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนควรเป็นไปในแนวทางที่จะช่วยให้เด็กล่วงรู้ถึงการมีอยู่ของสัจจะ บรรยากาศในโรงเรียนจึงควรเป็นในลักษณะที่จะให้เด็กตื่นตัว เป็นผู้รักสัจจะและมีสัจจะในตนเอง ด้วยเหตุนี้โรงเรียนจึงต้องเคร่งครัดในระเบียบวินัยและการประพฤติปฏิบัติ
3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(Progressivism) การศึกษาเป็นวิธีการหลักในการปฏิรูปหรือปรับปรุง
สังคม โรงเรียนจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชุมชนเสียก่อน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวัฒนธรรม โรงเรียนไม่ควรจะปลีกตัวออกจากสังคม เมื่อโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแล้ว โรงเรียนก็จะมีโอกาสสร้างนักเรียนในลักษณะใหม่ที่มีสติปัญญา มีความพร้อม มีความรู้และเข้าใจสังคม อย่างดี
4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม(Reconsteuctionism) การศึกษาควรช่วยพัฒนาหรือปฏิรูปสังคมหรือช่วย
แก้ปัญหาของสังคมที่เป็นอยู่ การศึกษาต้องให้เด็กเห็นความสำคัญของสังคมควบคู่ไปกับตนเอง หลักสูตรจึงเน้นสังคมเป็นหลัก ครูที่ในทฤษฎีนี้ต้องเป็นผู้บุกเบิก นักแก้ปัญหา สนใจ ใฝ่รู้เรื่องปัญหาสังคมอย่างกว้างขวาง มีความเป็นประชาธิปไตย ส่วนนักเรียนจะต้องรู้จักเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว วิธีสอนต้องให้เด็กรู้จักตนเอง ลงมือทำเองนิยมใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการของโครงการ และวิธีการแก้ปัญหามาใช้สอนนักเรียน จะต้องสอนทั้งทฤษฎีควบคู่ปฏิบัติ หลักสูตรต้องสัมพันธ์วิชา
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ
การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษาให้สถานศึกษาใช้วิธีที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผล
การประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
ปรัชญาการศึกษาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
1. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม การศึกษาตามลัทธินี้มีลักษณะกระตุ้น เร้า และมีความสัมพันธ์
สอดคล้องกับการสนใจของผู้เรียน เป็นการสนับสนุนการเจริญเติบโตของผู้เรียน เพื่อจะได้ดำรงชีพอย่างสมบูรณ์และสามารถปรับปรุงความประพฤติให้เข้ากับสภาพรอบตัวได้ และเป็นลัทธิที่กำเนิดขึ้นเพื่อต่อต้านแนวคิดและวิธีการศึกษาเดิมที่เน้นแต่เนื้อหา การสอนแบบท่องจำ แนวคิดหลักของทฤษฎีนี้คือ การศึกษาจะต้องพัฒนาเด็กทุกด้านไม่เฉพาะแต่สติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนมากขึ้น กระบวนการเรียนการสอนสำคัญเท่ากับเนื้อหา ทฤษฎีนี้เชื่อว่ามนุษย์จะพัฒนาไปตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ถือว่าการศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต หลักสูตรจึงเน้นประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูมีหน้าที่จัดประสบการณ์ที่ดีและเหมาะสมให้แก่เด็ก คอยดูแล แนะนำให้เด็กแสวงหาประสบการณ์ด้วยตนเอง มีอิสระที่จะคิด จะทำ การจัดหลักสูตรจะจัดเป็นโครงการต่าง ๆ ในรูปของปัญหา และใช้วิธีสอนแบบแก้ปัญหา โดยนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ การประเมินผลจะต้องนำเอาพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กเข้าร่วมด้วย ไม่เน้นที่จะวัดความเป็นเลิศทางวิชาการ
2. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม ได้กล่าวถึงเนื้อหาสาระของหลักสูตรและบทบาทของครูผู้สอนไว้
ดังนี้ หลักสูตร เป็นหลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาและหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ด้านเนื้อหาวิชาจะต้องเป็นเนื้อหาวิชาที่ให้เด็กได้รู้จักโลกของเราตามสภาพที่เป็นจริง ดังนั้นเนื้อหาวิชาจะต้องได้รับการกลั่นกรองรวบรวมไว้อย่างดีมีเหตุมีผล ไม่ใช่สิ่งที่เด็กค้นหาหรือคิดฝันเอาเองตามใจชอบ นอกจากนี้ทฤษฎีนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องการถ่ายทอดมรดกทางสังคมด้วย เพราะมรดกทางสังคมนี้จะเป็นการสรุปรวบรวมเอาประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนจำนวนมากมายไว้เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้มากกว่าความรู้จากประสบการณ์ของเด็ก ( กิติมา ปรีดีดิลก 2520 : 75)
ในด้านผู้เรียน นั้นเป็นผู้รับ ผู้ฟัง และทำความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ครูกำหนดให้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก ต้องรู้จักนำไปใช้ และต้องอาศัยวินัยด้วย นั่นก็คือผู้สอนต้องให้ผู้เรียนอยู่ในกรอบวินัย ต้องให้ผู้เรียนพยายามศึกษาหาความรู้อย่างหนัก การจัดการศึกษาต้องจัดเพื่อเป็นการเตรียมตัวเด็กในการดำรงชีวิตในอนาคตข้างหน้า เพราะฉะนั้นในขณะที่เด็กกำลังเรียนจำเป็นที่จะต้องพยายามเรียนให้มาก ๆ แม้ว่าจะหนักอย่างไรก็ต้องพยายาม ในเรื่องการเรียนรู้นี้อีกสิ่งหนึ่งที่เน้นก็คือ การสร้างวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก จะต้องให้เด็ก

ปรัชญาการศึกษา ( Philosophy of Education )

การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และทัศนคติของคนรุ่นก่อนให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคม ทั้งนี้เพราะ อนุชนรุ่นหลังคงไม่อาจเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ถ้าไม่ได้ดูดซับความเชื่อเกี่ยวกับโลกทัศน์ และทักษะในการดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ ก่อนที่การศึกษาจะกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วย
ความตั้งใจและเป็นทางการ และเป็นระบบ โดยมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง คือ พระหรือนักปราชญ์ หรือนักวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบนั้น คนในสมัยโบราณก็มีการให้การศึกษาแก่เด็กในสังคมของเขาเหมือนกัน แต่การให้การศึกษาของคนสมัยก่อนเป็นไปในลักษณะของการถ่ายทอดให้เกิดการเรียนรู้ใน ชีวิตประจำวันโดยอัตโนมัติ เช่น การสอนการดำรงชีพ โดยการสอนการจับปลาและการเพาะปลูก รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางสังคม เช่น พิธีศพ การศึกษาใน
ลักษณะดังกล่าวไม่ใช่การศึกษาแบบเป็นทางการ ไม่ใช่การศึกษาที่เป็นระบบ และไม่ใช่กระบวนการที่จงใจกระทำขึ้นเพื่อการเรียนรู้ จึงไม่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่ง ทำหน้าที่รับผิดชอบต่อเรื่องการศึกษาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อมนุษย์ได้สะสมอารยธรรมมากขึ้น การถ่ายทอดและการเรียนรู้ให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคมไม่อาจเป็นไปในลักษณะไม่เป็นทางการดังเดิมได้ การศึกษาจึงต้องกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วยความตั้งใจและเป็นทางการ โดยมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งก้าวเข้ามาทำหน้าที่รับผิดชอบแทน กลุ่มบุคคล กลุ่มนี้อาจจะเป็นพระ หรือนักปราชญ์ หรือนักวิชาการ
ผลจากการที่รวมการถ่ายทอดวัฒนธรรมไว้ในมือของคนกลุ่มพิเศษกลุ่มหนึ่ง ก็คือ คนกลุ่มนี้ได้พยายามทำให้วัฒนธรรมและความรู้ที่ต้องถ่ายทอดดีขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น นั่นก็คือ การทำให้เกิดการค้นคว้าวิจัยทางด้านความรู้และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น
ผลประการที่ 2 คือ กลุ่มบุคคลผู้รับผิดชอบกับการสอนเริ่มมองเห็นว่า การสอนหรือการถ่ายทอดวัฒนธรรม
ของเขา หรือการให้การศึกษาของเขาต้องสนองเป้าหมาย บางอย่าง การศึกษาจึงไม่เป็นเพียงการรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมเท่านั้น แต่การศึกษาควรสนองตอบเป้าหมายบางอย่างนี้ด้วยเป้าหมายของการศึกษาควรเป็นอะไร นี่แหละ คือ ปัญหาที่อยู่ในขอบเขตของนักปรัชญาที่จะให้คำตอบ ดังนั้น ปรัชญาการศึกษา คือ ปรัชญาในส่วนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหา เป้าหมายของ การศึกษาของสังคมโดยพยายามตอบคำถามที่ว่า เป้าหมายหรือผลที่พึงประสงค์ที่จะก่อให้เกิดกับผู้เรียนนั้นควรจะเป็นอะไร ? และเป้าหมายดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ ? เมื่อตอบคำถามถึงเป้าหมายของการศึกษาเสียแล้ว ก็สามารถตอบคำถามต่อไปได้ว่า ความรู้ใด ทัศนคติใด ทักษะใด ควรได้รับการถ่ายทอดให้แก่เขาเหล่านั้น รวมทั้งมรรควิธีให้การศึกษาจะนำไปสู่เป้าหมายนั้นด้วย คำตอบของนักปรัชญาการศึกษาต่อปัญหาที่ว่า เป้าหมายของการศึกษาหรือผลที่พึงประสงค์ของการศึกษาหรือสิ่งใดนั้น ย่อมมีผลสืบเนื่องมาจากทัศนะความเชื่อของ
นักปรัชญาทางด้านอภิปรัชญาและญาณวิทยาอยู่มากที่เดียว ตัวอย่างเช่น นักปรัชญาอย่างเพลโตมีความเชื่อทางอภิปรัชญาว่า วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งเลียนแบบแม่แบบในโลกแห่งแบบ แม่แบบเป็นสิ่งที่จริงกว่า หรือแม่แบบคือสัจธรรม ดังนั้น เป้าหมายของการศึกษาควรมุ่งให้เรียนรู้สัจธรรมมิใช่มีความรู้ในโลกแห่งประสบการณ์ซึ่งเป็นเพียงสิ่งเลียนแบบสัจธรรมเท่านั้น วิชาวิทยาศาสตร์จึงมิใช่วิชาที่สำคัญ ส่วนนักปรัชญาอย่างฟรานซิส เบคอน, จอห์น ล็อค มีความเชื่อว่า โลกแห่งปรากฏการณ์อย่างที่มันเป็น เป็นจริงแล้ว การศึกษาจึงมีเพียงเป้าหมายที่จะเข้าใจโลกแห่งปรากฏการณ์นี้เท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องหาความรู้ในเชิงนามธรรมที่ห่างไกลตัวออกไปอย่างทัศนะของเพลโต ดังนั้น วิชาเช่นวิทยาศาสตร์จึงเป็นวิชาที่สำคัญ
ปรัชญาการศึกษาโดยสรุป
ยุคก่อนโซฟิสต์
นักปรัชญามิได้เสนอทัศนะเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาไว้ แต่ได้ทำหน้าที่ของผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้และวัฒนธรรม คือ การค้นคว้าวิจัยเพื่อเพิ่มเติมความรู้และแก้ไขข้อบกพร่องของสิ่งเดิม
ยุคโซฟิสต์
โซฟิสต์ คือ กลุ่มนักปรัชญาที่เริ่มมีความคิดเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษาต้องสามารถทำให้ผู้เรียนได้รับความสำเร็จในการแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง
โสคราตีส
โสคราตีสมีความเห็นว่า เป้าหมายของการศึกษา คือ การค้นพบสัจธรรมหรือความจริงเชิงปรนัย
เพลโต
เพลโตเป็นนักปรัชญาคนแรกที่กล่าวถึงเป้าหมายของการศึกษาที่ชัดเจน เพลโตมีความเห็นว่า เป้าหมายของการศึกษา คือ การทำให้บุคคลตระหนักได้ชัดเจนว่าเขาสมควรเป็นชนชั้นไหนของสังคม และสิ่งที่สามารถทดสอบว่าเขาควรเป็นชนชั้นไหนของสังคม ก็คือ ความรู้ในความจริงขั้นปรมัตถ์ (ขั้นสูงสุด) กล่าวคือ ถ้าใครสามารถบรรลุความรู้ในขั้นนี้ เขาสมควรเป็นผู้ปกครองรัฐ หรือราชาปราชญ์
เซนต์ ออกัสติน
เซนต์ ออกัสติน มีความเห็นว่า เป้าหมายของการศึกษา คือ การมุ่งให้ผู้เรียนกลับใจไปรักพระเจ้า ( conversion ) และสำนึกในบาปของตน ( repentance ) ทั้งนี้ เพราะการกลับใจไปรักพระเจ้าย่อมทำให้มนุษย์พบกับความสุขที่แท้จริง
ล็อค
ล็อคมีความเห็นว่า เป้าหมายของการศึกษาควรมุ่งสู่สังคมและรัฐ ไม่ใช่อาณาจักรของพระเจ้า เป้าหมายดังกล่าว คือ การรักษารัฐที่ให้ความมั่นคงในสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล
รุสโซ
รุสโซมีความเห็นว่า เป้าหมายของการศึกษา คือ การให้ผู้เรียนได้เติบโตตามแนวโน้มแห่งธรรมชาติของตน การศึกษาจึงเป็นอิสระจากสังคมและอิทธิพลใด ๆ ทั้งสิ้น ผลของการให้การศึกษาในลักษณะดังกล่าวนี้คือ ผู้เรียนสามารถเป็นตัวของตัวเอง จากนั้น จึงเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมและการมุ่งสู่ความดีของสังคมทั้งสังคม โดยละเลยผลประโยชน์เฉพาะตนและเฉพาะกลุ่มลงเสีย

ปรัชญาปฏิบัตินิยม
ปรัชญาปฏิบัตินิยมมีความเชื่อว่า เป้าหมายของการศึกษา คือ การสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้พร้อมที่จะแก้ปัญหาของตนด้วยตนเอง ดังนั้น การศึกษาต้องมุ่งให้เกิดผลที่ปฏิบัติได้ มิใช่มุ่งการเรียนรู้แต่ทฤษฎีเท่านั้น
ปรัชญาอัตถิภาวนิยม
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมมีความเชื่อว่า เป้าหมายของการศึกษา คือ การเป็นตัวของตัวเองของผู้เรียน และความเป็นอิสระของผู้เรียน และประสบการณ์ที่แท้จริงของผู้เรียน
รัฐฟาสซิสต์
ปรัชญาการศึกษาของรัฐฟาสซิสต์ คือ ผู้เรียนต้องเสียสละตัวเองและมุ่งสู่เป้าหมายของรัฐ
รัฐประชาธิปไตย
ปรัชญาการศึกษาของรัฐประชาธิปไตย คือ การศึกษามุ่งสู่จุดหมายของปัจเจกบุคคลมิใช่รัฐ ดังนั้น รัฐประชาธิปไตยจึงชื่นชมปรัชญาการศึกษาแบบปรัชญาปฏิบัตินิยม และปรัชญาอัตถิภาวนิยมมากกว่า






ระบบการศึกษา

ระบบการศึกษา หมายถึง โครงสร้างของการศึกษาที่มีองค์ประกอบ เช่น ระดับชั้น และขั้นตอนของการศึกษา ประเภทของการศึกษา และกระบวนการเรียนการสอน
ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันมักจะเรียกย่อๆ ว่า ระบบ 6-3-3 หมายความว่ามีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับ ชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น)และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน
ส่วนการศึกษาตามอัธยาศัย (การเรียนรู้ตามธรรมชาติหรือตามอัธยาศัย) ยังไม่ได้นำมาพิจารณาอย่างจริงจัง
ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of learning" ฉะนั้น แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ
ประการที่สอง ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่าปริญญา และปริญญา
ส่วนประเภทการศึกษานั้นยังคงเปิดกว้างไว้ เช่น อาชีวศึกษา เป็นต้น
สำหรับการศึกษาผู้ใหญ่ และการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Education) ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาตลอดชีวิต
มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ
สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน

ในมาตรานี้ใช้คำว่า การศึกษามี 3 รูปแบบ แต่ในต้นตอของแนวคิดนี้ใช้คำว่า "System"คือ "ระบบ"ได้แก่
"Formal Education System" หรือบางครั้งใช้คำว่า "Formal School System" ซึ่งคำหลังนี้น่าจะถูกต้องมากกว่า และตามมาด้วยคำว่า "Nonformal Schooling System" และคำ "Informal Education System"
อย่างไรก็ตามแนวคิดของ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะถือว่าทั้ง 3 ระบบนี้คือ รูปแบบของการจัดการเรียนการสอน และจะส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ แต่จะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ไม่บังคับและจะให้มีระบบการเทียบโอนซึ่งคงไม่ง่ายอย่างที่คิด คงต้องมีหลักเกณฑ์การพิจารณา เพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่นระหว่างสถานศึกษาต่างๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดมาตรฐานการศึกษาอาจจะต้องคิดหลักเกณฑ์การเทียบโอนนี้ให้สถานศึกษานำไปเป็นแบบของการเทียบโอน
มาตรา 16 การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษาการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไป
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย" ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วเป็นการให้ความสำคัญแก่การศึกษาระดับนี้ที่ถือกันว่าเป็นกำลังคนระดับกลางและพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ
ส่วนในระดับมหาวิทยาลัยนั้น ตามแนวโน้มใหม่จะแบ่งเป็นระดับปริญญาตรี และหลังปริญญาตรี เพื่อยกระดับความสำคัญของการวิจัยค้นคว้า การสร้างองค์ความรู้ในระดับปริญญาโท-เอก จะได้จำแนกภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เพื่อความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ก็ยังคิดตามแนวเดิมว่าระดับปริญญามีเพียงระดับเดียว คือ ปริญญาโทร-เอกรวมกัน
มาตรา 17 ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการนับ
อายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียน แต่เป็นสิทธิ ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ
ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปคือจะกำหนด 9 ปีตั้งแต่เมื่อไหร่ก็คงจะหนีไม่พ้นตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 หรือจะเรียกชื่ออย่างอื่นก็ได้ และคงบังคับเรียนจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้นตามระบบเดิม
มาตรา 18 การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
(1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ หรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น
(2) โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่น
(3) ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคลครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ
โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์และสถาบันสังคมอื่น เป็นผู้จัด
มาตรา 18 ขยายความคำว่า สถานศึกษาให้ครอบคลุมทั่วถึง รวมถึงโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่สังกัดสถาบันพุทธศาสนาด้วย และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
มาตรา 19 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบันวิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้นๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 20 การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาของเอกชน สถานประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 21 กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐอาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น