หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น


  การใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลในองค์กร
          เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านสารสนเทศขององค์กร ดังนั้นองค์กรส่วนใหญ่มักจะสร้างระบบฐานข้อมูลให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศขององค์การ ในความเป็นจริงแล้วระบบฐานข้อมูลจะกล่าวได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศขององค์กร
          ระบบฐานข้อมูลจะเป็นที่ที่ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กร และไม่ใช่มีแต่ข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีการจัดระเบียบและกำหนดการจัดการ การควบคุม และสิทธิ์การใช้ข้อมูลในระบบ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน ข้อมูลก็เช่นเดียวกันแม้จะมีระบบฐานข้อมูลอยู่แล้ว แต่ ระบบ การจัดการข้อมูลของฐานข้อมูลจะต้องมีคู่ไปด้วย เนื่องจากจะต้องเป็นส่วนที่คอยจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับข้อมูล ดังเช่น การลบ การเพิ่ม และการแก้ไข ดังได้กล่าวมาแล้วเป็นต้น
          องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
          จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น พอจะเข้าใจเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลพอสมควรว่าต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่ยังมีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากในการทำงานกับระบบฐานข้อมูลอีกหลายประการ พอจะสรุปองค์ประกอบหลักของระบบฐานข้อมูลได้ดังนี้

        1. ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนของข้อมูล ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบฐานข้อมูล เนื่องจากองค์ประกอบอื่นเป็นเพียงตัวสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้ส่วนของข้อมูลเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนของข้อมูลนี้สร้างมาโดยสนับสนุนให้มีการใช้งานพร้อม ๆ กันหลายคน หรือบางข้อมูลสนับสนุนให้มีการใช้เพียงคนเดียว เป็นการเฉพาะบุคคลก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของระบบข้อมูลที่ทำการออกแบบไว้ ซึ่งการออกแบบในส่วนของฐานข้อมูลนี้ จะกล่าวถึงรายละเอียดที่มากขึ้นในบทต่อ ๆ ไป ว่าจะต้องออกแบบอย่างไรให้การเรียกใช้ข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากที่สุด ออกแบบอย่างไรไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
       2. อุปกรณ์ (Hardware) เป็นส่วนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ซึ่งจะสนับสนุนให้การทำงานกับข้อมูลมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย ส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถเพียงใดเพื่อให้เพียงพอต่อการทำงานกับข้อมูลขององค์กร หน่วยความจำที่เป็นหน่วยความจำหลักจะต้องสนับสนุนการทำงานให้เพียงพอ หน่วยประมวลผลจะต้องมีความสามารถหรือความเร็วเพียงใด นอกจากนี้อุปกรณ์ที่เป็นสื่อบันทึกข้อมูลก็มีความสำคัญเช่น ก็ต้องพิจารณาว่าข้อมูลที่จะต้องบันทึกลงบนสื่อบันทึกข้อมูลมีมากเพียงใด จะต้องใช้เนื้อที่มากแค่ใหนจึงจะมีประสิทธิภาพ ท้ายที่สุดสิ่งที่จะต้องกล่าวถึงในระบบขนาดใหญ่ก็คือเรื่องของการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ก็จะต้องอาศัยอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายด้วยเป็นต้น ในองค์ประกอบที่เป็นอุปกรณ์นี้จะเรียกว่า Physical database
      3. โปรแกรม (Software) เป็นส่วนที่คั่นกลางระหว่างผู้ใช้และหน่วยอุปกรณ์ ซึ่งใช้การสื่อความหมายจากผู้ใช้ไปยังอุปกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์ที่เป็นสื่อบันทึกข้อมูลก็ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นตัวกลางในการเรียกข้อมูลมาให้ผู้ใช้ ส่วนที่เป็นโปรแกรมพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้
               •  ระบบจัดการฐานข้อมูล ( Database Management System : DBMS) ระบบจัดการฐานข้อมูลถือว่าเป็นส่วนของโปรแกรมที่มีความสำคัญมากสำหรับฐานข้อมูล เพราะจะต้องคอยดูแลจัดการกับข้อมูล และเป็นส่วนที่ครอบคลุมส่วนที่เป็นข้อมูลไว้ สิ่งแวดล้อมภายนอกถ้าจะเข้าไปยังข้อมูลขององค์กร จะต้องผ่านด่านระบบจัดการฐานข้อมูลก่อน ระบบจัดการฐานข้อมูลจะต้องตรวจสอบสิทธิ์ก่อนว่าสามารถเข้าไปจัดการกับข้อมูลได้หรือไม่ ถ้าได้ก็จะให้ผ่านไปกระทำตามสิทธิ์นั้น ๆ ดังนี้นถือว่าระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นส่วนที่คอยปกป้องฐานข้อมูลเอาไว้ให้เกิดความปลอดภัย
               •  ภาษาโปรแกรมต่าง ๆ (Programming Language System) เป็นส่วนที่ใช้ในการสร้างโปรแกรมประยุกต์ ต่อไปก็นำโปรแกรมประยุกต์นี้ให้ผู้ใช้ได้ใช้งานในการจัดการกับฐานข้อมูล ดังนั้นการสร้างโปรแกรมประยุกต์ สร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้ผู้ใช้ทั่วไปใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากจะใช้โปรแกรมประยุกต์แล้วผู้ใช้สามารถใช้ ภาษา SQL ในการจัดการกับข้อมูลตามตัวอย่างคำสั่งที่กล่าวไปแล้วในภาพที่ 1.6
     4. ผู้ใช้ (Users) คือผู้ที่จะต้องจัดการกับข้อมูล เพิ่มข้อมูล ลบข้อมูล พัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มความสะดวกในการจัดการกับข้อมูล หรืออื่น ๆ ที่จะต้องจัดการหรือเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
               •  ผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application programmers) ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมในการเรียกใช้ฐานข้อมูล โดยในการเขียนโปรแกรมนั้นอาจจะใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งตามต้องการหรือตามความเหมาะสม
               •  ผู้ใช้ทั่วไป (End Users) ผู้ที่ต้องใช้โปรแกรมที่ได้พัฒนาไว้แล้วในการจัดการกับฐานข้อมูล โดยผู้ใช้ทั่วไปจะมีความสามารถที่มีมากกว่าผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป เนื่องจากจะต้องใช้คำสั่งในภาษา SQL ได้ด้วย เนื่องจากการพัฒนาโปรแกรมไม่ได้ครอบคลุมทุก ๆ คำสั่งที่ต้องการ ดังนั้นในกรณีที่เป็นคำสั่งหรือความต้องการแบบ AdHoc จะต้องใช้ภาษา SQL ช่วยให้การทำงานได้อย่างรวดเร็ว
               •  ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) ผู้ที่ต้องออกแบบระบบข้อมูลทั้งหมดขององค์กร ผู้ที่ต้องกำหนดสิทธิ์ต่าง ๆ ของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ว่าส่วนใดที่ใครจะเข้าใช้งานหรือแก้ไขได้บ้าง โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของผู้บริหารฐานข้อมูลในบทต่อ ๆ ไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น